Category Archives: มัธยม

วิทย์ม.ต้น: มนุษย์ครองโลกได้อย่างไร, อาชีพและ AI, จับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ

วันนี้เราคุยกันเรื่องในคลิปที่ Yuval Noah Harari พูดเกี่ยวกับ “อะไรอธิบายถึงความรุ่งเรืองของหมู่มนุษย์” (“What explains the rise of humans?”) ครับ เด็กๆได้เข้าใจเรื่องจินตนาการร่วมกันของคนหมู่มากทำให้จินตนาการนั้นกลายเป็น “เรื่องจริง” ขึ้นมาสำหรับคนหมู่นั้น สามารถผลักดันให้คนจำนวนมากๆเป็นพันเป็นล้านคนสามารถทำงานร่วมกันอย่างยืดหยุ่น ต่างจากสัตว์อื่นๆที่ไม่สามารถทำได้ (จินตนาการร่วมกันเช่นเงิน ศาสนา ชาติ ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน บริษัท ฯลฯ)

ต่อจากนั้นเราคุยกันเรื่อง AI และอาชีพที่เด็กๆควรมองสำหรับอนาคต โดย Kai Fu Lee เรื่องปัญญาประดิษฐ์ช่วยมนุษยชาติได้อย่างไร (“How AI can save our humanity”) ให้ดูว่าอาชีพอะไรอาจถูกทดแทนด้วย AI บ้าง อาชีพใหม่ๆที่ยังไม่มีคืออะไรบ้าง เราจะทำงานร่วมกับ AI เป็นอาชีพได้ไหม

ผมเล่าเรื่องหนทางในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก โดยที่เนื้อหาเป็นประมาณดังในนี้ครับ: https://www.thaipbspodcast.com/podcast/dj/sciandtech/ways-to-reduce-carbon-dioxide-in-the-atmosphere

จากนั้นก็แนะนำให้เด็กๆรู้จักการแข่งขันหาวิธีจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ชิงเงินรางวัล 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐครับ: https://www.xprize.org/prizes/elonmusk

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 13 วิทยาศาสตร์คือเทียนไขในความมืดแห่งอวิชชา

วันนี้เราคุยกันถึงคลิปวิดีโอ Cosmos Ep. 13: Unafraid of the Dark ที่เด็กๆไปดูกันที่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว เป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์ เกี่ยวกับความรู้อันจำกัดของมนุษยชาติและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้มนุษยชาติสะสมเพิ่มเติมความรู้ไปเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป

บทสรุปสำคัญในการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดย Neil deGrasse Tyson ที่ทำให้มนุษยชาติค้นพบความจริงต่างๆตามที่ธรรมชาติเป็นมีดังนี้ครับ:

1. Question authority. No idea is true just because someone says so, including me. (ไม่เชื่อใครง่ายๆ ใครๆก็อาจผิดได้ )

2. Think for yourself. Question yourself. Don’t believe anything just because you want to. Believing something doesn’t make it so. (คิดด้วยตัวเอง อย่าเชื่ออะไรเพียงเพราะเราอยากให้เป็นอย่างนั้น การเชื่ออะไรบางอย่างไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราเชื่อจะเป็นจริง)

3. Test ideas by the evidence gained from observation and experiment. If a favorite idea fails a well-designed test, it’s wrong. Get over it. (ทดสอบความคิดความเชื่อด้วยหลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง ถ้าผลของการทดลองที่ออกแบบอย่างระมัดระวังบอกว่าความคิดความเชื่อของเราผิด เราต้องเปลี่ยนความเชื่อ)

4. Follow the evidence wherever it leads. If you have no evidence, reserve judgment. (สรุปและตัดสินใจด้วยหลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง ถ้ายังไม่มีหลักฐาน ก็ยังไม่ต้องฟันธง)

And perhaps the most important rule of all… (และข้อที่น่าจะสำคัญที่สุด…) 

5. Remember: you could be wrong. Even the best scientists have been wrong about some things. Newton, Einstein, and every other great scientist in history — they all made mistakes. Of course they did. They were human.  (ตัวเราเองก็อาจผิดได้ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกต่างก็เคยผิดพลาดทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติของมนุษย์)

Science is a way to keep from fooling ourselves, and each other.  (การคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือป้องกันไม่ให้เราหลอกทั้งตนเอง และผู้อื่น)

ใน Ep. 13 กล่าวถีงเรื่องน่าสนใจหลายเรื่อง เชิญดูคลิปเหล่านี้ครับ:

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย:

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Victor Hess และ Cosmic Rays:

ความรู้เรื่อง Supernova:

ความรู้เรื่อง Dark Matter และ Dark Energy:

รู้จักยาน Voyager 1 และ 2 กันครับ:

เกี่ยวกับข้อความที่เราส่งไปเผื่อมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวอ่านได้ครับ:

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 12 ภาวะโลกร้อน/โลกรวน Climate Change

วันนี้เราคุยกันถึงคลิปวิดีโอ Cosmos Ep. 12: The World Set Free ที่เด็กๆไปดูกันที่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน/โลกรวน (Climate Change) ที่โลกเรามีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากอย่างรวดเร็วใน 100-200 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก คือก๊าซเรือนกระจกเช่นไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์และมีเธนในบรรยากาศทำการกักรังสีอินฟราเรดที่จะพาความร้อนออกไปจากโลก (ไปปล่อยในอวกาศเย็นๆ) ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกค่อยๆสูงขึ้น

ผมให้เด็กๆเข้าไปช่วยกันทำแบบสอบถาม “คุณรู้จักโลกร้อนดีแค่ไหน?” โดยให้ช่วยกันหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมาตอบทีละข้อ เด็กๆพบว่าคำตอบหลายๆข้อน่าประหลาดใจหรือคาดไม่ถึงเหมือนกัน แต่ในที่สุดเด็กๆก็ช่วยกันทำจนได้ถูกทุกข้อ มีเฉลยอยู่ที่เพจของผู้แต่งหนังสือด้วยนะครับ

ลิงก์ที่เด็กๆช่วยกันหามาตอบคำถามครับ:

แนะนำให้เด็กๆดูคลิปเหล่านี้ด้วยนะครับ

เด็กๆเข้าไปอ่านเรื่องราวของ Augustin Mouchot (มูโชท์) ที่สร้างเครื่องแปลงความร้อนจากแสงอาทิตย์ให้ทำงานกลให้เมื่อปี 1878 ได้ทื่นี่นะครับ

Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=7952045
เครื่องจักรของมูโชท์ เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานกล
Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=7952045

เด็กๆเข้าไปอ่านเรื่องราวของ Frank Shuman ที่ใช้แสงอาทิตย์ทำชลประทานในอียิปต์ได้ที่นี่ครับ

หน้าตาเครื่องจักรของ Frank Shuman
หน้าตาเครื่องจักรของ Frank Shuman
สิทธิบัตรเครื่องจักรของ Frank Shuman
สิทธิบัตรเครื่องจักรของ Frank Shuman

เด็กๆอย่าลืมว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงมาบนโลกมากกว่าพลังงานที่มนุษยชาติใช้ทั้งหมด 7,000+ เท่านะครับ ตอนนี้เรากำลังพัฒนาวิธีเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนการเผาน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศครับ 

เด็กๆสำรวจวิธีจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่น่าจะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ในอนาคตนะครับ: