Category Archives: education

เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วย Online Etymology Dictionary, Google, และ Wiktionary

ตอนผมเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมสอบ SAT เข้ามหาวิทยาลัย อาจารย์สงวน วงศ์สุชาติ สอนให้จำคำศัพท์เป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุ่มมีรากศัพท์เดียวกัน แล้วจะจำได้เยอะ และเดาคำที่ไม่เคยรู้มาก่อนได้บ้าง

วันนี้พบเว็บนี้ครับ: Online Etymology Dictionary เป็นเว็บให้เราใส่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเข้าไปแล้วเว็บจะบอกว่ารากศัพท์มีอะไรบ้าง ถ้าใครต้องการรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น หรือจะเอาไปสอนเด็กๆน่าจะมีประโยชน์
คำแรกที่ผมลองใส่เข้าไปคือ vasectomy (= ทำหมันชาย ซึ่งคนรอบข้างผมคงทราบว่าทำไมคำนี้ถึงอยู่ในหัวตลอด 5 5 5) ปรากฏว่าได้คำตอบมาดังนี้: 1897, from Mod.L. vas (deferens) + Eng. -ectomy “a cutting.” ซึ่งแปลว่าคำนี้น่าจะใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1897, มีรากจากสองคำ คือ คำลาตินสมัยใหม่ vas deferens = ท่ออสุจิ และ -ectomy = ตัด รวมเป็น “ตัดท่อ”
คราวนี้ถ้าเราจะจำเป็นกลุ่มๆเราก็ลองหา *ectomy ใน Google หรือ Wiktionary แล้วเราก็จะเห็นคำเหล่านี้ (เป็นต้น):
tonsillectomy = tonsil + -ectomy = ผ่าตัดทอนซิล
mastectomy = mastos + -ectomy = หน้าอกหญิง + ตัด = ตัดเต้านมทั้งเต้าออก (เนื่องจากมะเร็งเต้านม)
lumpectomy = lump + -ectomy = ก้อน + ตัด = ตัดก้อนซิสต์ออกจากเต้านม
nephrectomy = nephros + -ectomy = ไต + ตัด = ผ่าเอาไตออก
hysterectomy = hystera + -ectomy = มดลูก + ตัด = ผ่าเอามดลูกออก
อีกตัวอย่างเรื่อง logy:
biology = bio + logia = ชีวิต + ศึกษา = ชีววิทยา
geology = ge + logia = โลก/พื้นดิน + ศึกษา = ธรณีวิทยา
genealogy = genea + logia = สายพันธ์ + ศึกษา = การลำดับญาติ
theology = theos + logia = พระเจ้า/เทวดา + ศึกษา = เทวศึกษา
cardiology = cardia + logia = หัวใจ + ศีกษา = สาขาทางการแพทย์เรื่องหัวใจ
ichthyology = ichtyos + logia = ปลา + ศึกษา = มีนวิทยา = สัตวศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยปลา
horology = horos + logia = ชั่วโมง + ศึกษา = วิชาสร้างนาฬิกา และเครื่องวัดเวลา
neurology = neuro + logia = เส้นประสาท + ศึกษา = ประสาทวิทยา
ถ้าเรารู้รากศัพท์สักร้อยสองร้อยคำเราจะสามารถเดาความหมายคำที่ไม่เคยเห็นได้ดีพอสมควรครับ ผมเสียดายที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคำในบาลี สันสกฤต เพราะน่าจะทำให้เราเข้าใจภาษาไทยขึ้นอีกมาก
ปล.
1. พจนานุกรมที่มีประโยชน์บนเว็บที่ผมใช้ก็มี ลองดูดิคท์ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน Wiktionary และ Wikipedia
2. เราน่าจะเรียนภาษาไทยจากรากศัพท์ให้ได้ผลกว่านี้นะครับ ความจริงภาษากรีก ลาติน บาลี สันสกฤต ก็มาจากรากเดียวกันและมีคำคล้ายๆกันมากมาย เช่น:
 
penta– = ปัญจ- = 5
mors (เช่น mortal, immortal) = มรณะ = ตาย
mater (latin for mother) = มารดา = แม่ (ดังนั้น เวลาเราเห็นชื่อโรงเรียน มาแตร์เดอี ที่เขียนว่า Mater Dei เราก็สามารถเดาได้ว่าแปลว่า mother of god เพราะ dei = พระเจ้า (deity) แล้วเราก็เดาต่อได้ว่าต้องเป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยคริสเตียนนิกายแคธอลิค เพราะนิกายอื่นไม่ยกย่องแม่ของพระเยซู (พระแม่มารี) เท่ากับนิกายแคธอลิค
3. ถ้าใครจะนำข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับรากศัพท์ และคำแปล มาทำเป็นโปรแกรมหรือเว็บเพจในการเรียนรู้ช่วยบอกด้วยนะครับ ผมจะได้ไม่ต้องทำเองให้ลูกผมและลูกเพื่อน+เพื่อนลูกใช้เรียนรู้

ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว

 

ด้วยความเคารพและชื่นชมนักกอล์ฟอาชีพชาวไทยทุกท่าน หลังจากดูโฆษณาข้างบนแล้ว Science Geek ที่สิงร่างก็บังคับให้ผมเสริมประโยคที่ว่า “ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว” ดังนี้ครับ:

1. ดวงจันทร์ห่างจากโลกประมาณ 400,000 กิโลเมตร
2. ดาวที่ใกล้โลกที่สุดคือดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างไป 150 ล้านกิโลเมตร (150,000,000 km) ดาวดวงต่อไป (Proxima Centauri) ห่างไปประมาณ 4 ปีแสงหรือประมาณ 40 ล้านล้านกิโลเมตร (40,000,000,000,000 km)
3. ระยะทางไปดวงอาทิตย์ = 375 เท่าระยะทางไปดวงจันทร์ หรือถ้าเทียบระยะไปดวงจันทร์เท่ากับหนึ่งไม้บรรทัด (1 ฟุต) ระยะทางไปดวงอาทิตย์จะเทียบเป็นประมาณ 100 เมตร
4. ระยะทางไปดาวดวงต่อไป = ร้อยล้านเท่าระยะทางไปดวงจันทร์ ถ้าเทียบระยะไปดวงจันทร์เท่ากับ 1 ฟุต ระยะทางไปดาวดวงต่อไปจะเทียบเป็นประมาณ 30,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 3/4 ระยะทางรอบโลก
5. ถ้าจะตีให้ลูกกอล์ฟหลุดลอยไปจากโลก ต้องตีให้ได้ความเร็วเกิน 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที หรือเร็วกว่าลูกปืน (M-16) ประมาณ 11 เท่า และลูกกอล์ฟต้องทนความร้อนมหาศาลด้วย
6. ถึงเราจะตีลูกกอล์ฟได้เร็วกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ถ้าเร็วไม่เกิน 42.1 กิโลเมตรต่อวินาที (เร็วกว่าลูกปืน M-16 40 เท่า) ลูกกอล์ฟก็ไม่สามารถหนีดวงอาทิตย์ไปหาดาวอื่นๆอยู่ดี ต้องมาโคจรเหมือนดาวหางดวงหนึ่ง
ดังนั้นไม่ว่าจะตีหรือไม่ตีลูก หรือตีแล้วถึงหรือไม่ถึงดวงจันทร์ก็ตาม ลูกกอล์ฟก็อยู่ท่ามกลางดวงดาว (ที่อยู่ไกลมากกกกก) อยู่แล้ว ระยะทางระดับไปถึงดวงจันทร์ เป็นระยะน้อยมากๆเมื่อเทียบกับระยะระหว่างดวงดาว และไม่ว่าจะเล็งดวงจันทร์อย่างไร ลูกกอล์ฟก็แปะอยู่บนโลกอยู่ดี (ถ้าเราไม่ใช่ Superman หรือ Dr. Manhattan)
ผมเล็งโลกเสมอ โดน 100%
และนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ผมไม่สามารถเป็นนักกอล์ฟทีมชาติได้
ปล. แผนผังดาวใกล้ๆครับ:

Why Is Today Feb 29?

Over at the Bad Astronomy site, there is a very clear explanation why we have leap years. It has to do with the number of days in a year not being exactly 365 days, but about 365.25. Adding extra days over the years has an effect of syncing the calendar with actual physical years. (Remember that 1 day = one rotation of the Earth and 1 year = one orbit of the Earth around the Sun.)

The algorithm to determine if a year (in A.D., like 2008; for B.E., subtract 543 first) is a leap year is this: If the year is divisible by 400, it’s a leap year. If it’s not divisible by 400 but divisible by 100, it’s not a leap year. If it’s not divisible by 100 but divisible by 4, it’s a leap year. Other years are not a leap year.

Besides the article, the site is an excellent source of information about science and astronomy. A few of my favorite articles are Bad Movies, Apollo Moon Hoax, Coriolis Effect vs. Water Drain Direction (and here too), and Just Another Face in the Crowd.

I first heard of Bad Astronomy during my honeymoon. Aor and I went to Sydney, Australia for honeymoon. I, being a very romantic guy, went to visit Sydney bookstores with Aor in tow. I bought Phil Plait’s Bad Astronomy book and found it to be one of the best science books I read in (not so) recent years.