Category Archives: computer

วิทย์ม.ต้น: ดูผลงานโปรแกรม Scratch หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา

วันนี้เด็กๆมัธยมต้นนำเสนอโปรแกรมภาษา Scratch ที่ไปหัดทำในสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ เด็กๆทำอะไรได้เยอะกว่าที่ผมคาดไว้เยอะเหมือนกัน เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยทำ tutorial และดูตัวอย่างโปรแกรมในโปรเจ็กต่างๆบนเว็บ Scratch ครับ

เด็กๆทุกคนที่นำเสนอวันนี้ทำเกมกันหมดครับ พวกเราทุกคนช่วยกันเล่นช่วยกันดู และให้คำแนะนำเผื่อว่าจะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกในสัปดาห์ต่อๆไป

ตัวอย่างเกมที่เด็กๆทำกันครับ:

เราจะมาดูความก้าวหน้าต่อไปของโปรแกรมเหล่านี้วันศุกร์หน้าครับ

วิทย์ม.ต้น: หัดโปรแกรมด้วย Scratch

วันนี้เด็กม.ต้นได้หัดเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กันครับ ผมให้เด็กๆสร้างบัญชีผู้ใช้สำหรับตนเอง โปรแกรมต่างๆที่สร้างจะได้ไม่หายไปไหน 

เด็กๆหลายๆคนได้ลองเล่นมาบ้างแล้วหลังจากที่ผมแนะนำให้รู้จักเมื่อวันพุธ วันนี้ผมให้เด็กๆทำ Tutorial ต่างๆที่อยู่บนหน้า Getting Started เพื่อให้เด็กๆรู้จักว่าคำสั่งต่างๆมีอะไรบ้าง สามารถทำอะไรได้บ้าง

แม้ว่า Scratch จะมีคำสั่งต่างๆเป็นภาษาไทยด้วย แต่ผมก็บอกเด็กๆให้ใช้แบบภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะเด็กๆโตแล้ว และควรเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษให้ได้ ถ้าใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้จะไม่สามารถค้นคว้าเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างที่ควรจะเป็น จึงควรหัดครับ

ขณะที่เด็กๆทดลองทำสิ่งต่างๆใน Scratch เมื่อติดขัดหรือมีปัญหา ผมก็จะให้เด็กๆปรึกษากันพยายามแก้ปัญหา นอกจากบางกรณีที่ผมต้องลงไปช่วย แต่อยากให้เด็กๆเรียนรู้ด้วยตัวเองและจากเพื่อนๆมากที่สุด เพราะเป็นทักษะสำคัญให้กล้าที่จะเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆไม่ต้องรอให้ใครมาสอนครับ

การบ้านสำหรับศุกร์หน้าคือให้สร้างอะไรที่เด็กแต่ละคนคิดว่าเจ๋งด้วย Scratch แล้วเอามาดูกันในอีกหนึ่งสัปดาห์ครับ

 

วาดภาพขาวดำให้เป็นจำนวนเฉพาะ

ผมไปเห็นโพสต์ตลกๆใน Reddit มา การ์ตูนบอกว่าสามารถเอาตัวเลข 0 และ 1 มาเรียงกันบนจอโทรศัพท์ให้เป็นรูปยีราฟและเลข 0 และ 1 ที่เรียงกันนั้นถ้าตีความเป็นเเลขฐานสองแล้ว มันจะเป็นเลขจำนวนเฉพาะอีกด้วย (เลขจำนวนเฉพาะคือจำนวนเต็มบวกที่มีตัวหารที่เป็นบวกแค่ 1 และตัวมันเอง)

ภาพการ์ตูนจาก https://www.reddit.com/r/math/comments/7qpfls/does_there_exist_a_prime_number_whose/ ครับ
ภาพการ์ตูนจาก https://www.reddit.com/r/math/comments/7qpfls/does_there_exist_a_prime_number_whose/ ครับ

 

ใต้การ์ตูนมีคนทำรูปยีราฟที่วาดด้วย 0  และ  1 เรียงกัน 4096 ตัว ซึ่งถ้ามองเป็นเลขฐานสองจะเป็นจำนวนเฉพาะด้วยครับ:

ภาพยีราฟวาดด้วย 0 และ 1
ภาพยีราฟวาดด้วย 0 และ 1

ถ้าเราสังเกตที่ด้านล่างของภาพยีราฟจะเห็นว่ามันไม่เป็น 0 ทั้งหมด ทำให้น่าสงสัยว่าคนสร้างภาพเปลี่ยนค่า 0 บางตัวเป็น 1 จนกระทั่งทั้งภาพกลายเป็นจำนวนเฉพาะ ผมก็เลยคิดสงสัยว่าเราสามารถสร้างรูปขาวดำอะไรก็ได้ให้เป็นจำนวนเฉพาะแบบนี้ได้ไหม 

ก่อนอื่นเราต้องหาตรวจสอบว่าเลขฐานสองยาวๆเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ก่อน ถ้าเราใช้ภาษาไพธอน แล้วเรามีสตริงชื่อ x ที่มีเลข 0/1 เรียงกันเป็นเลขฐานสองเราใช้คำสั่ง int(x,2) เปลี่ยนเป็นค่าตัวเลขได้ แล้วใช้คำสั่ง gmpy2.is_prime(num) มาตรวจว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือเปล่า 


x = "0100011"
num = int(x,2) #num = 35
gmpy2.is_prime(num) #False เพราะ 35 = 1x5x7

y = '0100101'
num = int(x,2) #num = 37
gmpy2.is_prime(num) #True เพราะ 37 = 1x37

เวลาตัวเลขของเรามีขนาดไม่ใหญ่นัก มีไม่กี่หลัก เราสามารถทดลองหาตัวหารไปเรื่อยๆได้ แต่ถ้าตัวเลขใหญ่มีเป็นร้อยเป็นพันหลัก เราจะลองอย่างนั้นไม่ได้เพราะจะใช้เวลามากเกินไป ความวิเศษของ gmpy2.is_prime( ) ก็คือมันใช้เทคนิค Miller-Rabin ที่สามารถตรวจสอบเลขที่มีหลายๆพันหลักได้ด้วยวิธีสุ่ม โดยที่เราเลือกลดความน่าจะเป็นที่มันจะตอบผิดว่าตัวเลขเป็นจำนวนเฉพาะทั้งๆที่ไม่ใช่ให้มีค่าน้อยๆใกล้ศูนย์ได้ตามใจ 

พอเรารู้วิธีตรวจสอบจำนวนเฉพาะขนาดใหญ่ๆได้แล้ว เราก็แค่เขียนโปรแกรมให้อ่านภาพเข้ามาแล้วแปลงเป็นภาพขาวดำ เปลี่ยนสีดำเป็น 0 เปลี่ยนสีขาวเป็น 1 

โค้ดส่วนนี้อ่านภาพเข้ามาแล้วทำให้ขนาดไม่ใหญ่เกินไป:


def scale_image(file, size = 64):
    """
    Read an image file, change it to grayscale (0-255),
    and scale it so that its dimension is at most size x size,
    keeping the image's aspect ratio.
    """

    im = PIL.Image.open(file)
    im = im.convert('L') #change image to grayscale (0 to 255)
   
    width, height = im.size
    if width > height:
        max_size = width
    else:
        max_size = height
       
    scale_factor = size/max_size
    new_width = int(scale_factor*width)
    new_height = int(scale_factor*height)
    im = im.resize((new_width, new_height))
   
    return im

ส่วนนี้เปลี่ยนภาพให้เป็นสตริง 0/1


def image_to_binary(image):
    """
    Convert a grayscale (0-255) image to its binary string representation.
    Change the last pixel to 1 to make it a prime number more easily.
    """

    width, height = image.size
   
    pixels = np.asarray(image) #store pixel value in numpy array
    binary_pixels = (pixels > 128).astype(np.int) #low values go to 0, high values go to 1
    binary_pixels[(-1,-1)] = 1 #make sure last pixel is 1 to make it a prime more easily
    binary_string = "".join(binary_pixels.flatten().astype(np.str).tolist())
   
    return width, height, binary_string #return width and height along with 1-dimension binary representation

แล้วเราก็ตรวจสอบว่าสตริง 0/1 เป็นจำนวนเฉพาะด้วยฟังก์ชั่นนี้:


def is_binary_string_prime(x, n_tests = 50):
    """
    Check if the binary string x is prime using gmpy2's Miller-Rabin
    algorithm with n_tests steps.
    """

    num = int(x,2) #convert binary string to decimal number
    return gmpy2.is_prime(num, n_tests)

ถ้าภาพยังไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เราก็สุ่มจุดมาหนึ่งจุด แล้วเปลี่ยนเลขตรงนั้น ถ้าเคยเป็น 0 ก็เปลี่ยนเป็น 1 ถ้าเคยเป็น 1 ก็เปลี่ยนเป็น 0 แล้วค่อยเอาไปตรวจใหม่ว่าเป็นจำนวนเฉพาะไหม ถ้ากลายเป็นจำนวนเฉพาะภาพที่ได้ก็ต่างจากภาพเริ่มต้นเพียง 1 จุดเท่านั้น ฟังก์ชั่นที่ใช้เปลี่ยนเลขก็มีหน้าตาแบบนี้:


def mutate(x):
    """
    Given a binary string x, flip one random bit and return the result.
    """

    i = random.randint(0, len(x)-1) #location to flip a bit

    if x[i] == '0':
        flip = '1'
    else:
        flip = '0'
       
    result = x[:i] + flip + x[i+1:] #copy x to result, except one flipped bit
   
    return result

ปัญหาต่อไปก็คือถ้าภาพยังไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เราจะทำการเปลี่ยนจุด 1 จุดกี่ครั้งดี เราอาศัยความจริงที่ว่าจำนวนเฉพาะที่น้อยกว่า N จะมีประมาณ N/Log(N) ตัว ดังนั้นความน่าจะเป็นที่เราสุ่มเลือกเลขที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง N มาแล้วมันเป็นจำนวนเฉพาะก็จะประมาณ 1/Log(N)

เปรียบเทียบจำนวนของจำนวนเฉพาะที่ไม่เกิน N และ N/Log(N)
เปรียบเทียบจำนวนของจำนวนเฉพาะที่ไม่เกิน N และ N/Log(N)

ถ้าภาพของเรามีจุด 0/1 ทั้งหมด K จุด ความน่าจะเป็นที่มันเป็นจำนวนเฉพาะก็จะประมาณ 1/Log(2K) = 1/(K Log(2)) = 1.44/K  เช่นถ้าภาพมีขนาด 64×64 แสดงว่า K = 64×64 = 4096 และความน่าจะเป็นที่ภาพจะเป็นจำนวนเฉพาะก็ประมาณ 1.44/4096 เท่ากับประมาณ 1/2800 แปลว่าถ้าเราเลือกเลขสุ่มๆมาสักสองสามเท่าของ 2800 ครั้ง เราน่าจะได้เลขจำนวนเฉพาะมาสองสามตัวถ้าเราไม่โชคร้ายเกินไป

จากนั้นเราก็แค่ลองเปลี่ยนเพียง 1 จุดในภาพไปเรื่อยๆจนภาพกลายเป็นจำนวนเฉพาะด้วยฟังก์ชั่นหน้าตาแบบนี้ครับ:


def mutate_to_prime(x, max_tries = 12000):
    """
    Given a binary string x, flip just one bit to make it a prime number.
    max_tries is the maximum number of tries before giving up.
    If x is N bits long, probability that x is a prime is about 1/(N log(2)),
    so max_tries about a few times N log(2) should be OK.
   
    The first prime found will be returned.
    If no prime is found, None will be returned.
    """


    if is_binary_string_prime(x):
        return x  #if x is already prime, just return it.
   
    found_prime = False
    for k in range(max_tries):
        m = mutate(x) #try flipping one bit
        if is_binary_string_prime(m): #if it's a prime, return it
            return m
   
    return None

ผมประกอบฟังก์ชั่นต่างๆเป็นโปรแกรมแบบนี้ครับ โหลดได้ที่นี่:


import PIL.Image
import gmpy2
import random
import numpy as np
import math

def scale_image(file, size = 64):
    """
    Read an image file, change it to grayscale (0-255),
    and scale it so that its dimension is at most size x size,
    keeping the image's aspect ratio.
    """

    im = PIL.Image.open(file)
    im = im.convert('L') #change image to grayscale (0 to 255)
   
    width, height = im.size
    if width > height:
        max_size = width
    else:
        max_size = height
       
    scale_factor = size/max_size
    new_width = int(scale_factor*width)
    new_height = int(scale_factor*height)
    im = im.resize((new_width, new_height))
   
    return im

def image_to_binary(image):
    """
    Convert a grayscale (0-255) image to its binary string representation.
    Change the last pixel to 1 to make it a prime number more easily.
    """

    width, height = image.size
   
    pixels = np.asarray(image) #store pixel value in numpy array
    binary_pixels = (pixels > 128).astype(np.int) #low values go to 0, high values go to 1
    binary_pixels[(-1,-1)] = 1 #make sure last pixel is 1 to make it a prime more easily
    binary_string = "".join(binary_pixels.flatten().astype(np.str).tolist())
   
    return width, height, binary_string #return width and height along with 1-dimension binary representation

def mutate(x):
    """
    Given a binary string x, flip one random bit and return the result.
    """

    i = random.randint(0, len(x)-1) #location to flip a bit

    if x[i] == '0':
        flip = '1'
    else:
        flip = '0'
       
    result = x[:i] + flip + x[i+1:] #copy x to result, except one flipped bit
   
    return result

def is_binary_string_prime(x, n_tests = 50):
    """
    Check if the binary string x is prime using gmpy2's Miller-Rabin
    algorithm with n_tests steps.
    """

    num = int(x,2) #convert binary string to decimal number
    return gmpy2.is_prime(num, n_tests)

def mutate_to_prime(x, max_tries = 12000):
    """
    Given a binary string x, flip just one bit to make it a prime number.
    max_tries is the maximum number of tries before giving up.
    If x is N bits long, probability that x is a prime is about 1/(N log(2)),
    so max_tries about a few times N log(2) should be OK.
   
    The first prime found will be returned.
    If no prime is found, None will be returned.
    """


    if is_binary_string_prime(x):
        return x  #if x is already prime, just return it.
   
    found_prime = False
    for k in range(max_tries):
        m = mutate(x) #try flipping one bit
        if is_binary_string_prime(m): #if it's a prime, return it
            return m
   
    return None

def print_pic(x, width):
    """
    Given a binary string x, print it
    so that each line contains width characters.
    """

    height = int(len(x)/width)
    for row in range(height):
        print(x[row*width : row*width+width])

def pic_to_prime(file, size = 64, max_tries = 12000):
    """
    Open an image file and attempt to
    print it as a binary string picture
    that is a prime number.
    """

    im = scale_image(file, size)
   
    width, height, binary = image_to_binary(im)
   
    x = mutate_to_prime(binary, max_tries)
    if x:
        print_pic(x,width)
        num = int(x,2)
        print("\nThe number is {} in base 10.".format(num))
        print("It has {} digits".format(len(str(num))))
        print("It's likely a prime with probability = {}".format(1-math.pow(0.5,50)))

def main():
    import sys
    usage = """
    python pic_to_prime.py image_file [size] [max_tries]
    Will attempt to convert image_file into a black and white picture whose ASCII representation is
    (black = 0, white = 1) and the string of 0's and 1's forms a binary number which is likely prime with
    an extremely high probablity.

    size is an optional parameter.  The converted image's dimension will be at most size x size
    Default value for size is 64

    max_tries is an optional parameter. It's the maximum number of tries to flip one bit in the converted image
    until it's a prime number.  If max_tries is reached without find a prime, the program does not return any Ascii image.
    Typically, setting max_tries to be a few times size x size should be sufficient.
    Default value for max_tries is 12,000
    """


    if len(sys.argv) < 2:
        print(usage)
        exit(1)

    try:
        file_name = sys.argv[1]
        print("Converting {}...".format(file_name))
        if len(sys.argv) == 2:
            pic_to_prime(file_name)
        if len(sys.argv) == 3:
            size = int(sys.argv[2])
            pic_to_prime(file_name, size)
        if len(sys.argv) &gt;= 4:
            size = int(sys.argv[2])
            max_tries = int(sys.argv[3])
            pic_to_prime(file_name, size, max_tries)      
       
       
    except:
        print("An error has occured:", sys.exc_info())
   
if __name__ == '__main__':
    main()

วิธีใช้ก็เรียก python pic_to_prime.py filename โดยที่ filename คือชื่อไฟล์รูปภาพที่เราต้องการเปลี่ยนเป็นจำนวนเฉพาะครับ 

ตัวอย่างภาพที่ได้จากการเปลี่ยนภาพ Darth Vader:

ภาพ Darth Vader ข้างบนคือเลขฐานสิบที่มี 1195 หลัก หน้าตาแบบนี้ครับ: 

3069183072727172278860337378214364811175034036025244450162785708918361127976622462244955616465542073310944718954147895761643252918537495912453992270956943332625163100410236971285347282168904965253931503727481796300351734500671920231110149740644603732320920567437139574018949692454814303373410337477406380375065946238083359795848929370044692287614885238710013203784493630576976222535714074987122348018208566276582108014408460395720661886870781674435952140263967388925330430468219482326166783846446434209037095617083753020217147213702448717413427206823791407299246422960343709648378621123745736208899112612922595944987425466506332619408247083609772049609869403316890387132071258208841211446813145804008085966690045193746244730410209439050722697005342344505437504795775660537102148374631191587907498516228228789209160814532098859180914649594125752152645342655118749520955226752989697313945409163186662411266021539069921213862430095726119501306030813846080124361789827996639620644316501126994186024697789684863191124018231390812596919287605853413555802043957703338340785628246023479885637324716903027104728159535177737667950181169447546144659362616465956401475098937299932469625956492313055325061119