Category Archives: science

การเปลี่ยนรูปของพลังงานและของเล่นไจโรสโคป

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องนาฬิกาลูกตุ้มและเครื่องร่อนอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องการเปลี่ยนรูปของพลังงานเบื้องต้นสำหรับเด็กกลุ่มบ้านเรียน และของเล่นไจโรสโคปสำหรับเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิครับ

ผมเริ่มจากการเอาลูกตุ้มนาฬิกาที่ด้วยดินน้ำมันอย่างที่ทำครั้งที่แล้วมาห้อยจากที่สูงๆ แล้วก็ปล่อยให้แกว่งแล้วให้เด็กๆสังเกตดู (เราปล่อยลูกตุ้มเฉยๆ ไม่ผลักให้มันวิ่งตอนปล่อย ให้มันแกว่งไปเอง) และถามเด็กๆว่าลูกตุ้มวิ่งเร็วตอนไหน วิ่งช้าตอนไหน ปรากฏว่าเด็กๆหลายคนบอกว่าเร็วที่สุดตอนปล่อย ส่วนที่เหลือบอกว่าวิ่งเร็วที่สุดตอนลูกตุ้มอยู่ต่ำที่สุด ผมจึงบอกว่าถ้าเราเอามือไปรอตามที่ต่างๆแล้วปล่อยให้ลูกตุ้มแกว่งใส่ ตรงไหนลูกตุ้มชนมือเราแรงสุด ตรงนั้นก็คือที่ที่ลูกตุ้มวิ่งเร็วที่สุด หลังจากให้ลูกตุ้มชนแล้วเด็กส่วนใหญ่ก็บอกว่าตรงจุดต่ำสุดลูกตุ้มจะวิ่งเร็วที่สุด แต่ก็ยังมีเด็กบางคนไม่เปลี่ยนความคิดที่ว่าจุดที่ปล่อยมีความเร็วสูงสุด ผมจึงให้เด็กๆสังเกตว่าตอนเราปล่อย ลูกตุ้มอยู่เฉยๆ แล้วมันก็เพิ่มความเร็วขึ้นเพราะตกสู่โลก แล้วเร็วขึ้นเร็วขึ้นจนเร็วที่สุดที่จุดต่ำสุด จากนั้นเมื่อลูกตุ้มแกว่งขึ้นสูงอีกครั้ง แรงดึงดูด(แรงโน้มถ่วง)จากโลกก็จะทำหน้าที่เป็นเบรก ทำให้ลูกตุ้มวิ่งช้าลงช้าลง จนหยุดที่ระดับความสูงหนึ่ง(ที่สูงไม่เกินระดับที่เราปล่อย) แล้วค่อยตกลงมาอีกครั้ง เป็นรอบๆอย่างนี้ไปเรื่อยๆ Continue reading การเปลี่ยนรูปของพลังงานและของเล่นไจโรสโคป

เรียนรู้เรื่องนาฬิกาลูกตุ้มและของเล่นเครื่องร่อน

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องการหมุนและแรงดันอากาศอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องนาฬิกาและลูกตุ้มสำหรับเด็กกลุ่มบ้านเรียน และทำเครื่องร่อนจากหลอดกาแฟและกระดาษสำหรับเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิครับ

ผมเริ่มด้วยการถามเด็กๆว่าใครรู้บ้างว่าเวลาคืออะไร ทุกคนก็อึ้งกันไปหมด รวมทั้งผมด้วย คือพวกเรารู้ว่าเราใช้นาฬิกาและเครื่องมือต่างๆวัดเวลาได้ แต่ตัวเวลาจริงๆคืออะไรเราไม่รู้แน่ๆ ผมเคยอ่านตอนผมเป็นเด็กว่า “เวลาเป็นสิ่งที่กันไม่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน” (“Time… is what keeps everything from happening at once”) และผมก็ไม่มีคำจำกัดความอื่นๆที่ผมชอบกว่า (แต่อีกอันที่ผมชอบเหมือนกันคือ “Time is the school in which we learn, Time is the fire in which we burn.” มันทำให้เราเห็นถึงความไม่จีรังของเราดีครับ 🙂 )

ผมบอกเด็กๆว่าเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้วมีนักวิทยาศาสตร์พบว่าเวลากับระยะทางเป็นของที่เกี่ยวข้องกันสามารถผสมกันได้ สิ่งที่คนหนึ่งเรียกว่าเวลาอีกคนอาจเรียกว่าเป็นระยะทางก็ได้ ทำให้เรางงเมื่อเราพยายามตอบคำถามว่าเวลาคืออะไร ผมถามว่าเด็กๆรู้ไหมว่านักวิทยาศาสตร์คนนั้นชื่ออะไร เด็กๆก็ตอบว่า นิวตัน ผมบอกว่า นิวตันอยู่เมื่อสามร้อยกว่าปีมาแล้ว เด็กๆบอกว่า กาลิเลโอ ผมก็บอกว่ากาลิเลโออยู่เมื่อสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว เด็กๆเลยบอกว่าถ้างั้นเป็นไอน์สไตน์ก็แล้วกัน ผมก็บอกว่าถูกต้อง ไอน์สไตน์ค้นพบว่าธรรมชาติทำงานอย่างไรและส่วนหนึ่งที่เขาพบก็คือเวลาและระยะทางมีความเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขา

เนื่องจากเราทุกๆคนไม่รู้ว่าจะบอกว่าเวลาคืออะไร เราจึงข้ามไปก่อนและคุยกันว่าเราวัดเวลาอย่างไร เด็กๆก็ตอบกันใหญ่ว่าใช้นาฬิกา ผมก็ถามเด็กๆว่าใครรู้บ้างว่านาฬิกาทำงานอย่างไร ทุกคนก็บอกว่าไม่รู้ ผมจึงบอกเด็กๆว่ามนุษย์เรามีวิธีวัดเวลาหลายอย่าง เด็กๆรู้จักวิธีไหนบ้าง เด็กๆก็ตอบได้ว่าดูว่าดวงอาทิตย์อยู่ตรงไหน ผมบอกว่าใช่แล้ว เรารู้เวลาได้จากการดูตำแหน่งของดวงอาทิตย์ แล้วผมก็ถามเด็กๆว่าทำไมเราถึงเห็นดวงอาทิตย์เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆล่ะ เด็กๆก็ตอบได้อีกว่าเพราะโลกหมุน ผมถามว่าโลกหมุนเร็วแค่ไหน หนึ่งรอบนานเท่าไร เด็กๆก็บอกว่าหนึ่งวัน 24 ชั่วโมง ผมเสริมว่าหนึ่งวันเคยสั้นกว่านี้เพราะเมื่อก่อนโลกหมุนเร็วกว่านี้ จากการเรียนสัปดาห์ที่แล้วเรารู้ว่าถ้าอะไรหมุนอยู่ มันจะหมุนไปเรื่อยๆเหมือนเดิมนอกจากจะมีอะไรมาบิดให้การหมุนเปลี่ยนไป ดังนั้นต้องมีอะไรมาบิดให้โลกหมุนช้าลงแน่ๆ สิ่งนั้นก็คือแรงเสียดทานจากน้ำขึ้นน้ำลงนั่นเองที่ทำให้โลกหมุนช้าลง Continue reading เรียนรู้เรื่องนาฬิกาลูกตุ้มและของเล่นเครื่องร่อน

เรียนรู้เรื่องการหมุนจากของเล่น และการทดลองแรงดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาล

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องคุณสมบัติของเกลือและทำไอศครีมอยู่ที่นี่ครับ)

 

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องคุณสมบัติของการหมุนสำหรับเด็กกลุ่มบ้านเรียน และเรื่องความเร็วและความดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิ

ผมเริ่มด้วยการเอาลูกอเมริกันฟุตบอลเล็กๆมาตั้งโดยให้ปลายแหลมสัมผัสพื้น ลูกบอลก็จะล้มลง ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ ผมถามเด็กๆว่ามันมีวิธิให้ตั้งอยู่ได้นานๆทำอย่างไรรู้ไหม เด็กๆก็ยังงงๆอยู่ ผมเลยจับลูกบอลหมุนซะเลย และมันก็ควงเป็นลูกข่างตั้งอยู่ได้ เด็กๆก็อ๋อว่าเคยเห็นแล้ว

ลูกฟุตบอลรีๆตั้งได้ถ้าหมุนเป็นลูกข่าง

จากนั้นผมก็เอาลูกข่างที่ทำจากดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟันมาหมุนให้เด็กๆดู ถ้าไม่หมุนมันจะล้มทันที แต่พอหมุนก็จะตั้งอยู่ได้นาน Continue reading เรียนรู้เรื่องการหมุนจากของเล่น และการทดลองแรงดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาล