Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

วิทย์ม.ต้น: ดูคลิประเบิดนิวเคลียร์, เขียนโปรแกรม Scratch

วันนี้เด็กๆม.ต้นได้ดูคลิปการทดลองระเบิดนิวเคลียร์จากเมื่อหลายสิบปีก่อน และพึ่งเปิดเผยให้คนทั่วไปดูได้ครับ  มีบางคลิปที่ทดลองในที่อากาศชื้น ระเบิดทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเต็มไปด้วยเมฆฝนก็มี บางอันจะเห็นอะไรแหลมๆออกมากจากลูกระเบิดซึ่งก็คือลวดสลิงและเสาเหล็กที่ค้ำยันลูกระเบิดแล้วโดนความร้อนกลายเป็นไอแปลกดีครับ

ถ้าสนใจเข้าไปดูที่นี่ได้ครับ เป็นลิสต์ใน YouTube จะมีต่อกันไปเรื่อยๆนะครับ:

จากนั้นผมให้เด็กๆเขียนและปรับปรุงโปรแกรมของเขาต่อ มีเด็กหลายคนถามเรื่องการขึ้น Level ต่อไปในเกมของเขา ผมจึงอธิบายในแต่ละเคส และแนะนำให้ลองเข้าไปดูที่หน้า How to Make a Title Screen and Levels เป็นไอเดียครับ

เด็กๆทำเอง อ่านเอง ปรึกษากันเองเป็นส่วนใหญ่ครับ

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 8, จำลองของตกลงสู่หลุมดำ

วันนี้เด็กๆม.ต้นที่กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมได้ดูรายการ Cosmos: A Spacetime Odyssey ตอนที่ 8 กันครับ วันนี้เรื่องดาวฤกษ์ประเภทต่างๆ พอดูเสร็จเราก็ปล่อยลูกเปตองในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวยเพื่อจินตนาการถึงของที่ตกลงสู่หลุมดำจะวิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆชนกันไปมาจนร้อนมากๆเปล่งแสงเอ็กซ์เรย์กันครับ

เด็กๆควรอ่านเรื่องดาวฤกษ์เป็นความรู้รอบตัวจากเว็บของ NASA ที่นี่ครับ 

รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษที่นี่ เป็นภาษาไทยที่นี่ หรือถ้าไม่อยากอ่านแต่อยากดูคลิปลองดูที่นี่ครับ:

การเกิดและตายของดาวฤกษ์ครับ:

ประวัตินิดหน่อยว่าทำไมถึงแจกแจงดาวฤกษ์เป็น OBAFGKM  (จำง่ายๆว่า Oh, Be A Fine Guy(Girl), Kiss Me.):

O จะเป็นพวกร้อนสุด พวก M จะเป็นพวกเย็นสุด ถ้าอยากรู้ประวัติ H-R Diagram (Hertzsprung-Russell Diagram) ที่อยู่ในวิดีโอกดดูที่นี่นะครับ

 มีดาวขนาดใหญ่มากๆด้วยครับ:

อันนี้ความรู้รอบตัวว่าทำไมเราถึงเห็นดาวเป็นแฉกๆทั้งๆที่ดวงดาวจริงๆเป็นทรงกลมครับ:

เนื่องจากใน Cosmos มีการพูดถึงของตกลงไปในหลุมดำด้วย เราเลยหาเรื่องเล่น เอาลูกเปตองมากลิ้งในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวย ให้เห็นว่าเวลาของที่โคจรหลุมดำวิ่งเข้าไปใกล้ๆ มันจะมีความเร็วสูงขึ้น และเมื่อของเหล่านั้นชนกันจะเกิดความร้อนเปล่งแสงเป็นเอ็กซ์เรย์ได้ เราเอากล้องถ่ายการเคลื่อนที่ของลูกเปตองใส่ไปในโปรแกรม Tracker เพื่อวัดตำแหน่งของมันด้วยครับ เด็กๆเล่นกันโดยหาทางทำให้ลูกเปตองโคจรอยู่นานที่สุดด้วยวิธีต่างๆกันครับ

ถ้าไม่เคยใช้โปรแกรม Tracker ลองไปดูคลิปและลิงก์ที่วิดีโอนี้นะครับ:

 

 

วิทย์ม.ต้น: ดูคลิปหุ่นยนต์ดิสนีย์, เขียนโปรแกรม Scratch กันต่อ + Scratch Offline Editor

วันนี้เด็กๆม.ต้นได้ดูคลิปหุ่นยนต์ที่บริษัทดิสนีย์ประดิษฐ์เพื่อไปใช้ในสวนสนุกของเขาครับ มีแบบขยับหน้าได้แนบเนียนเหมือนมีชีวิตสำหรับเรื่อง Avatar:

 และมีหุ่นยนต์สตันต์แมนชื่อ Stuntronics ที่แสดงบทผาดโผนแทนคน:

รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Disney Imagineering has created autonomous robot stunt doubles นะครับ

หลังจากนั้นเด็กๆก็นั่งเขียนโปรแกรม Scratch กันต่อ ก็ติดบั๊กเล็กๆน้อยๆมีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ผมสอนวิธีดีบักแบบให้เปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของโปรแกรมเกิดจากส่วนไหนของโปรแกรม และส่วนนั้นๆทำงานอย่างที่เราคิดว่ามันควรจะทำหรือไม่ และบอกเคล็ดลับเด็กๆว่าคนที่เขียนโปรแกรมเก่งๆนั้นเขาจะสามารถนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆและนั่งคิดต่อเนื่องเกี่ยวกับโปรแกรมได้นานๆทั้งนั้น

ผมแนะนำให้เด็กๆได้รู้จัก Scratch Offline Editor ที่ทำให้สามารถนั่งเขียนโปรแกรม Scratch ได้โดยไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ต และไม่ติดปัญหาเวลาเขียนโปรแกรมใหญ่ๆแล้ว save ได้มั่งไม่ได้มั่งครับ

ลองเข้าไปดูงานที่เด็กๆกำลังทำกันได้ครับ สามารถกด  See Inside เพื่อดูว่าข้างในมีโปรแกรมหน้าตาอย่างไรถึงทำงานได้อย่างที่เห็น แต่งานบางคนก็ยังไม่ได้เปิดให้ดูเป็นสาธารณะนะครับ:

Titus: https://scratch.mit.edu/users/StzzSmarauder/
Boongie: https://scratch.mit.edu/users/Blue_BG/
Poon: https://scratch.mit.edu/users/poonpoon23/
Pun: https://scratch.mit.edu/users/naragin/
Jung: https://scratch.mit.edu/users/jungie/
Chunly: https://scratch.mit.edu/users/chanyachun/
Tatia: https://scratch.mit.edu/users/wonderTS/
Pitchee: https://scratch.mit.edu/users/Pitchee/
Tangmo: https://scratch.mit.edu/users/pigbompp/