Category Archives: science class

ปืนของคุณเก๊าส์! (Gaussian Gun)

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

 (คราวที่แล้วเรื่องพลังงานและคลื่นอยู่ที่นี่ครับ)
 
วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรามาเล่นของเล่นที่ใช้แม่เหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่าปืนของคุณเก๊าส์ (Gaussian Gun) กันครับ
 
แต่ก่อนอื่นที่เราจะไปเล่นของเล่น ผมได้ให้การบ้านเด็กๆไปทำโดยให้เด็กๆสังเกตว่าเครื่องสูบน้ำที่ใช้มือบีบทำงานอย่างไร ให้เวลาสัปดาห์หนึ่งไปลองดูกัน เครื่องสูบน้ำหน้าตาแบบนี้ครับ:
 
การบ้านเด็กๆ ดูว่าการทำงานของเครื่องสูบน้ำแบบนี้เป็นอย่างไร
 
จากนั้นผมก็ให้เด็กๆดูคลิปวิดีโอเกี่ยวกับงานศิลปะที่ใช้ลูกตุ้มทำ:

ผมถามเด็กๆว่ามันทำงานอย่างไร มีเด็กๆหลายคนเช่นธีธัช น้องกันและน้องแสงจ้าเข้าใจทันทีว่าเกิดจากความยาวของลูกตุ้มที่ต่างกัน อันสั้นจะแกว่งถี่กว่าอันยาว (ความจริงมีเด็กมากกว่านี้ที่เข้าใจแต่สามคนที่ยกตัวอย่างออกเสียงดังที่สุด) ผมดีใจมากที่เด็กๆเข้าใจและจำได้เรื่องลูกตุ้มที่เราเรียนกันไปในอดีต สำหรับสิ่งประดิษฐ์นี้คนสร้างเขาบอกว่าลูกตุ้มอันที่ยาวที่สุดจะแกว่ง 51 ครั้งต่อนาทีและอันที่สั้นแต่ละอันจะแกว่งมากขึ้นเรื่อยๆทีละหนึ่งครั้งต่อนาที(เป็น 52ครั้ง/นาที 53รั้ง/นาที 54ครั้ง/นาที ไปเรื่อยๆจนถึง 65ครั้ง/นาที) ดังนั้นลูกตุ้มแต่ละอันจะแกว่งที่ความถี่ต่างๆกันไป เมื่อเรามองทุกอันพร้อมๆกันก็จะเกิดรูปแบบสวยงามน่าสนใจ Continue reading ปืนของคุณเก๊าส์! (Gaussian Gun)

เรื่องพลังงาน(ต่อ)และการส่งพลังงานเป็นคลื่น

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องการเปลี่ยนรูปของพลังงานและของเล่นไจโรสโคปอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้สอนต่อเรื่องพลังงานและการส่งผ่านพลังงานด้วยคลื่นครับ

คราวที่แล้วเด็กกลุ่มบ้านเรียนได้รู้ว่าพลังงานมีหลายรูปแบบเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างกันได้ เด็กๆได้รู้จักพลังงานที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ (พลังงานจลน์) และพลังงานที่เกี่ยวกับความสูง (พลังงานศักย์โน้มถ่วง) วันนี้ผมเลยมาแนะนำให้เด็กๆรู้จักกับพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ หรือพลังงานศักย์ยืดหยุ่น

ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าวัสดุหลายๆอย่าง ถ้าเราไปกดหรืองอมันแล้วปล่อย มันจะกระเด้งกลับสู่รูปเดิม(ตราบใดที่เราไม่ไปกดหรืองอมันมากเกินไปจนรูปร่างมันเปลี่ยนไปถาวร) วัสดุเช่นไม้ เหล็ก พลาสติกแข็งๆ หนังยาง ต่างเป็นเช่นนี้ทั้งนั้น เราต้องออกแรงทำให้วัสดุเหล่านี้เปลี่ยนรูปร่าง แต่เมื่อเราปล่อยวัสดุก็จะขยับตัวกลับหารูปร่างเดิมของมัน ตอนเราทำให้มันเปลี่ยนรูปร่างเราใส่พลังงานเข้าไปในวัสดุ พลังงานที่ถูกเก็บไว้เป็นพลังงานที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ เมื่อวัตถุคืนรูปร่างเดิมก็จะปล่อยพลังงานนั้นออกมา พลังงานที่วัสดุเก็บไว้เมื่อเปลี่ยนรูปร่างนี้เรียกได้ว่าเป็นพลังงานศักย์ที่เกี่ยวกับการยืดหยุ่นของวัตถุ  แล้วผมก็ยกตัวอย่างเอาไม้บรรทัดมากดติดกับโต๊ะแล้วกดให้งอเล็กน้อยโดยวางยางลบไว้บนไม้บรรทัด เมื่อปล่อยไม้บรรทัดก็จะดีดยางลบให้ลอยขึ้น ตัวอย่างอื่นๆที่เด็กคิดว่าเป็นปรากฏการณ์คล้ายๆกันก็คือ กระดานกระโดดน้ำ แทรมโปลีน ไม้ง่ามยิงหนังสติ๊ก

ไม้บรรทัดดีดยางลบ

Continue reading เรื่องพลังงาน(ต่อ)และการส่งพลังงานเป็นคลื่น

การเปลี่ยนรูปของพลังงานและของเล่นไจโรสโคป

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องนาฬิกาลูกตุ้มและเครื่องร่อนอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องการเปลี่ยนรูปของพลังงานเบื้องต้นสำหรับเด็กกลุ่มบ้านเรียน และของเล่นไจโรสโคปสำหรับเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิครับ

ผมเริ่มจากการเอาลูกตุ้มนาฬิกาที่ด้วยดินน้ำมันอย่างที่ทำครั้งที่แล้วมาห้อยจากที่สูงๆ แล้วก็ปล่อยให้แกว่งแล้วให้เด็กๆสังเกตดู (เราปล่อยลูกตุ้มเฉยๆ ไม่ผลักให้มันวิ่งตอนปล่อย ให้มันแกว่งไปเอง) และถามเด็กๆว่าลูกตุ้มวิ่งเร็วตอนไหน วิ่งช้าตอนไหน ปรากฏว่าเด็กๆหลายคนบอกว่าเร็วที่สุดตอนปล่อย ส่วนที่เหลือบอกว่าวิ่งเร็วที่สุดตอนลูกตุ้มอยู่ต่ำที่สุด ผมจึงบอกว่าถ้าเราเอามือไปรอตามที่ต่างๆแล้วปล่อยให้ลูกตุ้มแกว่งใส่ ตรงไหนลูกตุ้มชนมือเราแรงสุด ตรงนั้นก็คือที่ที่ลูกตุ้มวิ่งเร็วที่สุด หลังจากให้ลูกตุ้มชนแล้วเด็กส่วนใหญ่ก็บอกว่าตรงจุดต่ำสุดลูกตุ้มจะวิ่งเร็วที่สุด แต่ก็ยังมีเด็กบางคนไม่เปลี่ยนความคิดที่ว่าจุดที่ปล่อยมีความเร็วสูงสุด ผมจึงให้เด็กๆสังเกตว่าตอนเราปล่อย ลูกตุ้มอยู่เฉยๆ แล้วมันก็เพิ่มความเร็วขึ้นเพราะตกสู่โลก แล้วเร็วขึ้นเร็วขึ้นจนเร็วที่สุดที่จุดต่ำสุด จากนั้นเมื่อลูกตุ้มแกว่งขึ้นสูงอีกครั้ง แรงดึงดูด(แรงโน้มถ่วง)จากโลกก็จะทำหน้าที่เป็นเบรก ทำให้ลูกตุ้มวิ่งช้าลงช้าลง จนหยุดที่ระดับความสูงหนึ่ง(ที่สูงไม่เกินระดับที่เราปล่อย) แล้วค่อยตกลงมาอีกครั้ง เป็นรอบๆอย่างนี้ไปเรื่อยๆ Continue reading การเปลี่ยนรูปของพลังงานและของเล่นไจโรสโคป