Category Archives: สอนเด็กๆ

ใครๆก็ชอบอุกกาบาต วัดปริมาตรมือ และเล่นกับเสียง

 

“ธรรมชาติส่งอุกกาบาตมาเพื่อถามเราว่าโครงการอวกาศไปถึงไหนแล้ว” –นีล ดีกราสส์ ไทสัน

(“Asteroids are nature’s way of asking: ‘How’s that space program coming along?’ ” –Neil deGrasse Tyson)

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กๆเรื่องแรงลอยตัว (ต่อ)” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้คุยกันเรื่องอุกกาบาตที่รัสเซีย คุยต่อเรื่องแรงลอยตัว และวัดปริมาตรมือสำหรับเด็กประถม และไปดูการสั่นของอากาศทำให้เกิดเสียงและทำปี่จากหลอดกาแฟสำหรับเด็กอนุบาลครับ

ก่อนที่เราจะเริ่มเรียนอะไรกัน ผมให้เด็กๆดูภาพนี้ครับ:

 
ผมให้เด็กๆทายว่าภาพคืออะไร โดยใบ้ว่าใหญ่กว่าโลกมากกว่า 100 เท่า เด็กๆหลายๆคนทายถูกว่าเป็นภาพดวงอาทิตย์ ภาพนี้ถ่ายโดยคุณ Alan Friedman เป็นภาพของดวงอาทิตย์ โดยกรองเฉพาะแสงที่สั่นด้วยความถี่เฉพาะค่าที่เรียกว่าไฮโดรเจน-อัลฟา (H-alpha ซึ่งเป็นสีแดงมืดๆ) ผมอยากให้เด็กๆได้เห็นความสวยงามของดาวฤกษ์ของพวกเรา เราเห็นผิวที่ไหลเวียนสวยงาม เห็นจุดดับสีดำๆสามอัน (อันเล็กๆสีดำๆนั้นใหญ่กว่าโลกเราอีก) และเห็นแก๊สที่กระเด็นออกมาจากผิว แก๊ซเหล่านั้นร้อนมากมันจึงมีสถานะเป็นพลาสมา มีประจุแยกกันและสามารถวิ่งและเลี้ยวตามสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ได้

จากนั้นผมก็ให้เด็กๆดูวิดีโออุกกาบาตเหนือเมือง Chelyabinsk ในรัสเซียเมื่อวันที่ 15 กุมภา โดยเข้าไปดูในหน้าที่รวบวิดีโอไว้หลายๆอันโดยคุณ Phil Plait ตัวอย่างวิดีโอเช่นอันนี้ ถ่ายโดยกล้องติดหน้ารถ จะเห็นอุกกาบาตเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ :

เมื่ออุกกาบาตวิ่งผ่านอากาศด้วยความเร็วสูงมากๆ (ลูกนี้วิ่งประมาณ 18 กิโลเมตรต่อวินาที หรือกว่า 50 เท่าความเร็วเสียง หรือเร็วกว่ากระสุนปืนสั้น 50 เท่า เร็วกว่ากระสุนปืนไรเฟิลยาว 17 เท่า) อากาศด้านหน้าจะถูกอัดจนความดันสูงมากเกิดความร้อนหลายพันองศาเซลเซียส อากาศร้อนเปล่งแสงจ้าเหมือนดวงอาทิตย์ (ผิวของดวงอาทิตย์ร้อนประมาณ 5,500 องศาเซลเซียส) อากาศข้างๆก็ถูกผลักออกจนเกิดเป็นคลื่นช็อค (shock wave) รูปกรวย เมื่อกรวยของคลื่นช็อคลากผ่านพื้นดิน คนที่อยู่บนพื้นก็จะได้ยินเสียงดังมากเหมือนระเบิด แรงสั่นสะเทือนจากคลื่นทำให้กระจกแตกทำคนบาดเจ็บมากมาย Continue reading ใครๆก็ชอบอุกกาบาต วัดปริมาตรมือ และเล่นกับเสียง

คุยกับเด็กๆเรื่องแรงลอยตัว (ต่อ)

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “เรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวด้วยของเล่นนักดำน้ำ และเล่นกับแรงตึงผิว” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เราคุยกันเรื่องแรงลอยตัวต่อครับ

ก่อนเริ่มผมให้เด็กๆดูคลิปสองคลิปครับ คลิปแรกเป็นลูกบอลทำด้วยโลหะนิคเกิลเผาไฟให้ร้อนแล้วปล่อยลงไปบนก้อนน้ำแข็ง ให้เด็กๆสังเกตและตื่นเต้น:

คลิปที่สองเป็นโฆษณาของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำจากสารเคมีที่ไม่รวมตัวกับน้ำและน้ำมัน ทำให้เมื่อเอามันไปเคลือบสิ่งต่างๆแล้วสิ่งนั้นจะเปื้อนสิ่งสกปรกยาก:

พอเด็กๆดูเสร็จก็ลองถามเด็กๆว่าคิดว่าน่าเอาไปเคลือบอะไรได้บ้างครับ อยากให้เด็กๆเห็นสิ่งประดิษฐ์แปลกๆบ่อยๆโดยหวังว่าในอนาคตเด็กๆจะคิดประดิษฐ์อะไรบ้างครับ Continue reading คุยกับเด็กๆเรื่องแรงลอยตัว (ต่อ)

เรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวด้วยของเล่นนักดำน้ำ และเล่นกับแรงตึงผิว

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “Spectroscope ทำมือ และเล่นไม้สั่น/หมุน” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องแรงลอยตัวสำหรับเด็กประถม และเล่นกับแรงตึงผิวสำหรับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม ก่อนจะเข้าเรื่อง ผมให้ดูวิดีโออันนี้ครับ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1:27 นาที แล้วให้เขาทายกันว่ามันเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร (ถ้าดูตั้งแต่เริ่มต้นจะมีคำอธิบายเลยครับ เลยเริ่มดูตอนกลางๆ):

เด็กๆป.1-2 เดาว่ามีแม่เหล็กแต่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมมันไม่ดูดติดกันเลย เด็กๆป.3-5 มีบางคนบอกว่ามันต้องมีแม่เหล็กสองแบบคือแบบตรงกลางจะดูดกับแม่เหล็กข้างนอก และแบบเล็กๆรอบๆในวงแหวนสีดำจะผลักแม่เหล็กข้างนอก ผมจึงบอกว่าใช่แล้ว แม่เหล็กตรงกลางจะดูดให้แม่เหล็กข้างนอกเข้ามาใกล้ๆ แต่พอใกล้ถึงระยะน้อยๆแรงผลักจากแม่เหล็กเล็กๆในวงแหวนสีดำก็จะมากพอที่จะกันไม่ให้เข้ามาใกล้กว่านั้น

สำหรับเด็กป.3-5 ผมให้ดูรูปเครื่องยิงระเบิดรูปนี้ด้วย โดยให้สังเกตบริเวณศูนย์ที่ใช้เล็ง:

เวลาเล็งก็คือมองผ่านศูนย์หลังในช่องที่ความสูงเหมาะสม ให้ทาบกับศูนย์หน้าและเป้า ช่องที่ศูนย์หลังแต่ละช่องถูกปรับมาสำหรับระยะทางต่างๆ พอทาบกันแล้วตัวลำกล้องก็จะอยู่ในแนวที่ทำมุมกับพื้นราบ ทำให้ลูกระเบิดที่ออกไปวิ่งขึ้นไปสูง แล้วค่อยโค้งตกลงมาสู่พื้นอีกครั้ง คล้ายๆกับในเกม Angry Birds แต่ต่างจากในเกมตรงที่ในโลกมีอากาศ เมื่อลูกระเบิดวิ่งออกไปก็จะถูกแรงต้านอากาศทำให้วิ่งช้าลง ทำให้วิถีตอนตกลงมามีระดับความชันมากกว่าตอนวิ่งขึ้นไป ผมเสริมอีกด้วยว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ว่ายิงที่มุมแบบนี้ ความเร็วแบบนี้ จะไปตกลงที่ไหน โดยรวมผลจากแรงต้านอากาศและอื่นๆเข้าไปด้วย (เด็กๆเข้าใจการเล็งจากการยิงปืนของเล่นพวก Nerf มาบ้างแล้ว) Continue reading เรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวด้วยของเล่นนักดำน้ำ และเล่นกับแรงตึงผิว