Category Archives: General Science Info

ลิงก์เรื่องพลาสติกและขยะพลาสติกในทะเล

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องพลาสติกและขยะพลาสติกในทะเลเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. พลาสติกเป็นชื่อรวมๆของสารเคมีต่างๆที่มีโมเลกุลยาวๆที่เรียกว่าโพลีเมอร์ สามารถหล่อด้วยความร้อนและความดันเป็นรูปทรงต่างๆ มีคุณสมบัติหลากหลายขึ้นกับว่าสิ่งที่มาประกอบเป็นโพลิเมอร์คือสารเคมีอะไร ส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาด้วยสารเคมีจากการขุดเจาะก๊าซและน้ำมัน แต่ก็มีหลายชนิดที่สังเคราะห์จากพืชต่างๆ
  2. พลาสติกแต่ละอย่างถูกออกแบบให้แก้ปัญหาต่างๆกันไป มีทั้งแบบหล่อขึ้นรูปได้หลายๆครั้งโดยให้ความร้อนแล้วปล่อยให้เย็นลง (thermoplastic) และแบบที่หล่อขึ้นรูปได้ครั้งเดียว (thermosetting plastic)
  3. เนื่องจากพลาสติกสามารถใช้ทำเป็นของต่างๆได้มากมาย ทำได้ง่าย ราคาถูก มันจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์สำคัญของมนุษยชาติ ของรอบๆตัวเรา 80-90% มีประกอบที่เป็นพลาสติก โลกผลิตพลาสติกรวมๆกันประมาณกว่า 300 ล้านตันต่อปี
  4. พลาสติกกลายเป็นขยะเยอะมาก เพราะเราใช้มันแบบใช้แล้วทิ้ง ขยะพลาสติกถูกรีไซเคิลหรือเอาไปเผาเป็นเชื้อเพลิงน้อยมาก (ประมาณอย่างละ 10%) ที่เหลือ 80% ต้องเอาไปกลบฝัง
  5. พลาสติกทั่วไปย่อยสลายได้ช้ามาก ถ้าเอาไปกลบฝังก็ใช้เวลาหลายร้อยปีเพราะส่ิงมีชีวิตต่างๆไม่รู้ว่าจะย่อยพลาสติกอย่างไร
  6. มีพลาสติกตกลงไปในน้ำและลงทะเลปีละประมาณ 8 ล้านตัน (เท่ากับสองเท่าน้ำหนักชาวไทยทั้งประเทศ) ทำให้สัตว์ใหญ่เล็กกินเข้าไป ในที่สุดเราก็กินพลาสติกเหล่านั้นด้วย สารเคมีหลายอย่างที่ใส่เข้าไปในพลาสติกอาจมีผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว
  7. มีห้องวิจัยและบริษัทต่างๆพยายามหาทางแก้ปัญหาขยะพลาสติก เช่นวิจัยเรื่องเอ็นไซม์และจุลชีพที่ย่อยพลาสติก ระบบจ่ายเงินซื้อขยะต่างๆ ระบบจัดเก็บขยะในทะเล ระบบคัดแยกขยะที่ดีขึ้น ฯลฯ แต่ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จตอนนี้
  8. ส่วนตัวเราควรพยายามใช้พลาสติกอย่างระมัดระวัง ไม่ใช้ฟุ่มเฟือย พยายามใช้ซ้ำๆ เมื่อจะทิ้งก็ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง พยายามแยกประเภทเพื่อรีไซเคิล

ลิงก์น่าสนใจเพิ่มเติม:

ประวัติย่อของการประดิษฐ์พลาสติก A Brief History of the Invention of Plastics

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลาสติก:

พลาสติกในทะเล 90% มาจากแม่น้ำไม่กี่สาย 90% of plastic polluting our oceans comes from just 10 rivers

ประเทศที่จัดการขยะพลาสติกไม่ดี ประเทศเราติดท็อปเท็นด้วยครับ

รู้จักพลาสติก 7 ชนิดที่ไทยกำลังจะแบน ส่องโมเดลจัดการขยะ 20 ปี ช่วยลดขยะได้แค่ไหน

ประเภทพลาสติกที่แสดงไว้ที่ผลิตภัณฑ์

อนิเมชั่นเรื่องขยะพลาสติก:

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่กำลังถูกพัฒนาเพื่อเก็บขยะพลาสติกในทะเล:

ตัวอย่างระบบซื้อขายขยะพลาสติกเพื่อจูงใจให้จัดการขยะ

แบคทีเรียที่กินพลาสติก

ลิงก์เรื่องประโยชน์ของคลื่นไมโครเวฟ

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องคลื่นไมโครเวฟเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปว่า:

  1. คลื่นไมโครเวฟเป็นประเภทหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) ที่เกิดจากการที่ประจุไฟฟ้าสั่นไปมา
  2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สั่นด้วยความถี่ต่างๆกันถูกมนุษย์เรียกเป็นชื่อต่างๆกัน ถ้าเรียงจากความถี่การสั่นน้อยไปมากจะเรียกว่า คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ อินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น อัลตร้าไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า เราเรียกคลื่นที่สั่นประมาณ 300 MHz – 300 GHz (หรือความยาวคลื่น 1 เมตร-1 มิลลิเมตร) ว่าไมโครเวฟ
  3. เราเรียกไมโครเวฟว่า “ไมโคร” ที่แปลว่าเล็กเพราะว่าตอนมนุษย์เริ่มสร้างคลื่นแม่เหล็กๆไฟฟ้าที่ไม่ใช่แสงที่ตาเห็น จะสร้างคลื่นวิทยุเป็นส่วนใหญ่ ขนาดของคลื่นวิทยุแต่ละลูกมีขนาดใหญ่ เสาอากาศที่เกี่ยวข้องใหญ่ เมื่อเทคโนโลยีดีขึ้นสร้างคลื่นความถี่สูงๆขึ้น ขนาดคลื่นและเสาอากาศเล็กลงเลยเรียกคลื่นที่มีขนาดเล็กว่าคลื่นวิทยุว่า “ไมโครเวฟ” (ทั้งๆที่คลื่นอื่นๆตั้งแต่อินฟราเรดไปถึงรังสีแกมม่ามีขนาดลูกคลื่นเล็กกว่า ไมโครเวฟทั้งสิ้น)
  4. เราใช้คลื่นไมโครเวฟในชีวิตประจำวันมากมาย เช่นการสื่อสาร (GPS, WiFi, Bluetooth) ตรวจจับวัตถุด้วยเรดาร์ สัญญาณดาวเทียม ให้ความร้อนทางการแพทย์ อุปกรณ์วัดต่างๆ ศึกษาดาราศาสตร์ และทำอาหาร
  5. โทษคือถ้าเรารับปริมาณมากๆตัวเราจะร้อนขึ้น แต่ในชีวิตปกติของเรากำลังของคลื่นจะต่ำมากจนไม่มีอันตราย ถ้าจะให้ตัวเราร้อนก็ต้องไปยืนอยู่หน้าเรดาร์ใหญ่ๆหรือเอามือใส่เข้าไปในเตาไมโครเวฟ
  6. ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าก่อให้เกิดมะเร็ง

ลิงก์ที่น่าสนใจ

เรื่องไมโครเวฟโดย NASA

ไมโครเวฟอันตรายจริงหรือ:

ผมเคยคุยเรื่องเตาไมโครเวฟในอดีต

รังสี (radiation) อันตรายหรือไม่

การตั้งชื่อความถี่ช่วงต่างๆของไมโครเวฟ และใช้ทำอะไรบ้าง

ภาพแสดงว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่างๆวิ่งผ่านบรรยากาศโลกได้มากน้อยอย่างไร ไมโครเวฟที่ความถี่ไม่สูงนักจะวิ่งผ่านได้ดี

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation#Atmosphere_and_magnetosphere

Cosmic Microwave Background (CMB, รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล) :

ลิงก์เรื่องกล่องดำในเครื่องบิน

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องกล่องดำ (black box) เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปว่า:

  1. กล่องดำ หน้าตาหลายๆอันก็ไม่เหมือนกล่อง สีก็ไม่ดำ (แต่มีสีส้ม) และมีส่วนประกอบสองชิ้น คือ Flight Data Recorder (FDR, บันทึกข้อมูลการบินต่างๆเช่นความเร็ว ทิศทางบิน ฯลฯ) และ Cockpit Voice Recorder (CVR, บันทึกเสียงพูดคุยนักบิน, หอการบิน, และเสียงอื่นๆบนเครื่องบิน)
  2. มีหลายไอเดียว่าทำไมเรียกว่ากล่องดำ แต่ไม่แน่ใจว่าถูกต้องจริงหรือไม่สักอัน เช่นสมัยแรกเก็บข้อมูลด้วยกระดาษไวแสงกล่องต้องกันแสงเป็นสีดำๆ, หรือต้นแบบรุ่นแรกๆใส่ไว้ในเครื่องบินรบ ทาสีดำ, หรือเวลาเครื่องบินตก ไฟไหม้ กล่องจึงเป็นสีดำ, หรือคนทั่วไปเรียกกลไกที่รับข้อมูลเยอะๆไปประมวลผลว่ากล่องดำ
  3. เก็บไว้แถวๆหางเครื่องบินเพื่อลดโอกาสเสียหาย
  4. อึดมาก รับแรงกระแทกสูง ทนไฟ ทนน้ำ จมน้ำได้หลายกิโลเมตร จมน้ำแล้วก็ปล่อยเสียงอัลตร้าโซนิคมาทุกวินาทีให้คนค้นหาได้อย่างน้อย 1 เดือน
  5. ข้อมูลที่เก็บ เอาไปป้อนโปรแกรมการบินคล้ายๆเกม Flight Simulator เพื่อดูเครื่องบินจำลองบินแบบเหตุการณ์ที่บันทึกไว้
  6. ในอนาคต อาจไม่ใช้วิธีเก็บข้อมูลไว้ในกล่องดำ แต่จะส่งข้อมูลออกมาทันที (streaming) ผ่านดาวเทียมจำนวนมากที่ปล่อยโดยบริษัทต่างๆเช่น SpaceX หรือ Blue Origin ตอนนี้ก็มีเทคโนโลยีส่งข้อมูลออกมาแบบนี้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย

ลิงก์:

แกะดูข้างในว่าเป็นอย่างไร:

หน้าตาเครื่องสมัยเก่าที่เก็บข้อมูลบนฟอยล์โลหะ (สมัยปัจจุบันเก็บในชิปหน่วยความจำแล้ว):

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี stream ข้อมูลออกมาจากเครื่องบินแทนที่จะเก็บไว้ในกล่องดำอย่างเดียว: FlyhtStream

แนวโน้มการพัฒนาในอนาคต