Category Archives: science

ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว

 

ด้วยความเคารพและชื่นชมนักกอล์ฟอาชีพชาวไทยทุกท่าน หลังจากดูโฆษณาข้างบนแล้ว Science Geek ที่สิงร่างก็บังคับให้ผมเสริมประโยคที่ว่า “ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว” ดังนี้ครับ:

1. ดวงจันทร์ห่างจากโลกประมาณ 400,000 กิโลเมตร
2. ดาวที่ใกล้โลกที่สุดคือดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างไป 150 ล้านกิโลเมตร (150,000,000 km) ดาวดวงต่อไป (Proxima Centauri) ห่างไปประมาณ 4 ปีแสงหรือประมาณ 40 ล้านล้านกิโลเมตร (40,000,000,000,000 km)
3. ระยะทางไปดวงอาทิตย์ = 375 เท่าระยะทางไปดวงจันทร์ หรือถ้าเทียบระยะไปดวงจันทร์เท่ากับหนึ่งไม้บรรทัด (1 ฟุต) ระยะทางไปดวงอาทิตย์จะเทียบเป็นประมาณ 100 เมตร
4. ระยะทางไปดาวดวงต่อไป = ร้อยล้านเท่าระยะทางไปดวงจันทร์ ถ้าเทียบระยะไปดวงจันทร์เท่ากับ 1 ฟุต ระยะทางไปดาวดวงต่อไปจะเทียบเป็นประมาณ 30,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 3/4 ระยะทางรอบโลก
5. ถ้าจะตีให้ลูกกอล์ฟหลุดลอยไปจากโลก ต้องตีให้ได้ความเร็วเกิน 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที หรือเร็วกว่าลูกปืน (M-16) ประมาณ 11 เท่า และลูกกอล์ฟต้องทนความร้อนมหาศาลด้วย
6. ถึงเราจะตีลูกกอล์ฟได้เร็วกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ถ้าเร็วไม่เกิน 42.1 กิโลเมตรต่อวินาที (เร็วกว่าลูกปืน M-16 40 เท่า) ลูกกอล์ฟก็ไม่สามารถหนีดวงอาทิตย์ไปหาดาวอื่นๆอยู่ดี ต้องมาโคจรเหมือนดาวหางดวงหนึ่ง
ดังนั้นไม่ว่าจะตีหรือไม่ตีลูก หรือตีแล้วถึงหรือไม่ถึงดวงจันทร์ก็ตาม ลูกกอล์ฟก็อยู่ท่ามกลางดวงดาว (ที่อยู่ไกลมากกกกก) อยู่แล้ว ระยะทางระดับไปถึงดวงจันทร์ เป็นระยะน้อยมากๆเมื่อเทียบกับระยะระหว่างดวงดาว และไม่ว่าจะเล็งดวงจันทร์อย่างไร ลูกกอล์ฟก็แปะอยู่บนโลกอยู่ดี (ถ้าเราไม่ใช่ Superman หรือ Dr. Manhattan)
ผมเล็งโลกเสมอ โดน 100%
และนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ผมไม่สามารถเป็นนักกอล์ฟทีมชาติได้
ปล. แผนผังดาวใกล้ๆครับ:

Why Is Today Feb 29?

Over at the Bad Astronomy site, there is a very clear explanation why we have leap years. It has to do with the number of days in a year not being exactly 365 days, but about 365.25. Adding extra days over the years has an effect of syncing the calendar with actual physical years. (Remember that 1 day = one rotation of the Earth and 1 year = one orbit of the Earth around the Sun.)

The algorithm to determine if a year (in A.D., like 2008; for B.E., subtract 543 first) is a leap year is this: If the year is divisible by 400, it’s a leap year. If it’s not divisible by 400 but divisible by 100, it’s not a leap year. If it’s not divisible by 100 but divisible by 4, it’s a leap year. Other years are not a leap year.

Besides the article, the site is an excellent source of information about science and astronomy. A few of my favorite articles are Bad Movies, Apollo Moon Hoax, Coriolis Effect vs. Water Drain Direction (and here too), and Just Another Face in the Crowd.

I first heard of Bad Astronomy during my honeymoon. Aor and I went to Sydney, Australia for honeymoon. I, being a very romantic guy, went to visit Sydney bookstores with Aor in tow. I bought Phil Plait’s Bad Astronomy book and found it to be one of the best science books I read in (not so) recent years.

เว็บตารางธาตุดีที่สุดในโลก (หรือน่าจะดีที่สุดในระบบสุริยะด้วย)

ถ้าคุณอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับธาตุต่างๆ คุณต้องไปดูที่ The Elements คุณจะเห็นรูป ประวัติ วิธีผลิต ตัวอย่างการใช้งาน ข้อมูลเกี่ยวข้อง การแปรธาตุ และอื่นๆ

ผู้สร้างคือ Theodore Gray ซี่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่สร้าง Mathematica เขาบอกคร่าวๆว่าเขาใช้ Mathematica อย่างไรในการผลิตเว็บอันนี้ที่นี่

ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณจะผลิตไฮโดรเจนคุณก็สามารถดูวิธีทำได้ที่นี่ หรือที่หน้านี้คุณจะได้รู้ว่าคุณไม่สามารถถ่ายรูปไอของไอโอดีนบนพื้นหลังสีดำได้เนื่องจากไอจะไม่สะท้อนแสง

This is another resource for my homeschooling project.