Category Archives: สอนเด็กๆ

วิทย์ม.ต้น: โลกแย่เท่าที่เราคิดไหม, เรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโลก

วันนี้เราคุยกันเรื่องในคลิปที่ Steven Pinker พูดเรื่อง Is the world getting better or worse? A look at the numbers (โลกของเรากำลังจะดีขึ้นหรือแย่ลง ลองมาดูตัวเลขกัน) ให้สังเกตว่าความเชื่อต่างๆในหัวเรามักจะเกิดจากการกระตุ้นจากอารมณ์โดยข่าวสารรอบๆตัว ไม่เกิดจากการนับ/วัด/สถิติ และเรามองแต่สิ่งตรงหน้า ไม่ค่อยดูประวัติศาสตร์หรือภาพรวม

เด็กๆได้ดูว่าโดยเฉลี่ยแล้ว โลกดีขึ้นเรื่อยๆครับ สาเหตุก็เพราะมนุษย์รู้จักใช้เหตุผล ขบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ และความรู้ที่ได้มาปรับปรุงเรื่องต่างๆ

สิ่งที่อยากให้ติดหัวพวกเราทุกคนก็คือ โลกจะมีปัญหาเสมอ แต่ปัญหามีไว้แก้ด้วยความรู้และความเข้าใจ เราสามารถปรับปรุงโลกขึ้นไปได้เรื่อยๆไม่สิ้นสุด

ตัวอย่างกราฟการพัฒนาครับ:

วัดการพัฒนาในด้านต่างๆ: อายุขัย สุขภาพ อาหาร ความร่ำรวย สันติภาพ เสรีภาพ ความปลอดภัย ความรู้ เวลาว่าง ความสุข
วัดการพัฒนาในด้านต่างๆ: อายุขัย สุขภาพ อาหาร ความร่ำรวย สันติภาพ เสรีภาพ ความปลอดภัย ความรู้ เวลาว่าง ความสุข
อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนเพิ่มขึ้น
อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนเพิ่มขึ้น
อัตราการตายของเด็กๆลดลง
อัตราการตายของเด็กๆลดลง
อัตราการตายจากขาดอาหารลดลง
อัตราการตายจากขาดอาหารลดลง
อัตราคนยากจนข้นแค้นลดลง
อัตราคนยากจนข้นแค้นลดลง
อัตราการตายจากสงครามลดลง
อัตราการตายจากสงครามลดลง
อัตราการตายจากฆาตกรรมลดลง
อัตราการตายจากฆาตกรรมลดลง

ผมติดตามอ่าน  (ฟัง) หนังสือของ Steven Pinker มานานแล้วครับ สองเล่มที่ผมชอบมากคือ The Better Angels of our Nature และ Enlightenment Now: The Case for Reason, Science, Humanism, and Progress ตอนนี้เตรียมฟังเล่มใหม่ของเขาชื่อ Rationality: What It Is, Why It Seems Scarce, Why It Matters

จากนั้นเด็กๆได้รู้จักเว็บ Gapminder ที่พยายามโปรโมทความเข้าใจสิ่งต่างๆด้วยข้อมูล

เราเช็คความเข้าใจคร่าวๆของเราด้วยแบบทดสอบ Upgrade Your Worldview

ถ้าสนใจ สามารถทำแบบทดสอบข้างล่างได้เลยครับ:

การบ้านให้เด็กๆไปทำแบบทดสอบชุดต่อไป

เวลาที่เหลือ เด็กๆดูคลิป Hans and Ola Rosling: How not to be ignorant about the world (ฮานส์ และ อูล่า โรสลิงค์: ทำอย่างไรให้รู้ทันโลก) โดยการบ้านให้เด็กๆไปเขียนสรุปมาด้วยครับ

วิทย์ม.ต้น: มนุษย์ครองโลกได้อย่างไร, อาชีพและ AI, จับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ

วันนี้เราคุยกันเรื่องในคลิปที่ Yuval Noah Harari พูดเกี่ยวกับ “อะไรอธิบายถึงความรุ่งเรืองของหมู่มนุษย์” (“What explains the rise of humans?”) ครับ เด็กๆได้เข้าใจเรื่องจินตนาการร่วมกันของคนหมู่มากทำให้จินตนาการนั้นกลายเป็น “เรื่องจริง” ขึ้นมาสำหรับคนหมู่นั้น สามารถผลักดันให้คนจำนวนมากๆเป็นพันเป็นล้านคนสามารถทำงานร่วมกันอย่างยืดหยุ่น ต่างจากสัตว์อื่นๆที่ไม่สามารถทำได้ (จินตนาการร่วมกันเช่นเงิน ศาสนา ชาติ ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน บริษัท ฯลฯ)

ต่อจากนั้นเราคุยกันเรื่อง AI และอาชีพที่เด็กๆควรมองสำหรับอนาคต โดย Kai Fu Lee เรื่องปัญญาประดิษฐ์ช่วยมนุษยชาติได้อย่างไร (“How AI can save our humanity”) ให้ดูว่าอาชีพอะไรอาจถูกทดแทนด้วย AI บ้าง อาชีพใหม่ๆที่ยังไม่มีคืออะไรบ้าง เราจะทำงานร่วมกับ AI เป็นอาชีพได้ไหม

ผมเล่าเรื่องหนทางในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก โดยที่เนื้อหาเป็นประมาณดังในนี้ครับ: https://www.thaipbspodcast.com/podcast/dj/sciandtech/ways-to-reduce-carbon-dioxide-in-the-atmosphere

จากนั้นก็แนะนำให้เด็กๆรู้จักการแข่งขันหาวิธีจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ชิงเงินรางวัล 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐครับ: https://www.xprize.org/prizes/elonmusk

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 13 วิทยาศาสตร์คือเทียนไขในความมืดแห่งอวิชชา

วันนี้เราคุยกันถึงคลิปวิดีโอ Cosmos Ep. 13: Unafraid of the Dark ที่เด็กๆไปดูกันที่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว เป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์ เกี่ยวกับความรู้อันจำกัดของมนุษยชาติและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้มนุษยชาติสะสมเพิ่มเติมความรู้ไปเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป

บทสรุปสำคัญในการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดย Neil deGrasse Tyson ที่ทำให้มนุษยชาติค้นพบความจริงต่างๆตามที่ธรรมชาติเป็นมีดังนี้ครับ:

1. Question authority. No idea is true just because someone says so, including me. (ไม่เชื่อใครง่ายๆ ใครๆก็อาจผิดได้ )

2. Think for yourself. Question yourself. Don’t believe anything just because you want to. Believing something doesn’t make it so. (คิดด้วยตัวเอง อย่าเชื่ออะไรเพียงเพราะเราอยากให้เป็นอย่างนั้น การเชื่ออะไรบางอย่างไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราเชื่อจะเป็นจริง)

3. Test ideas by the evidence gained from observation and experiment. If a favorite idea fails a well-designed test, it’s wrong. Get over it. (ทดสอบความคิดความเชื่อด้วยหลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง ถ้าผลของการทดลองที่ออกแบบอย่างระมัดระวังบอกว่าความคิดความเชื่อของเราผิด เราต้องเปลี่ยนความเชื่อ)

4. Follow the evidence wherever it leads. If you have no evidence, reserve judgment. (สรุปและตัดสินใจด้วยหลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง ถ้ายังไม่มีหลักฐาน ก็ยังไม่ต้องฟันธง)

And perhaps the most important rule of all… (และข้อที่น่าจะสำคัญที่สุด…) 

5. Remember: you could be wrong. Even the best scientists have been wrong about some things. Newton, Einstein, and every other great scientist in history — they all made mistakes. Of course they did. They were human.  (ตัวเราเองก็อาจผิดได้ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกต่างก็เคยผิดพลาดทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติของมนุษย์)

Science is a way to keep from fooling ourselves, and each other.  (การคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือป้องกันไม่ให้เราหลอกทั้งตนเอง และผู้อื่น)

ใน Ep. 13 กล่าวถีงเรื่องน่าสนใจหลายเรื่อง เชิญดูคลิปเหล่านี้ครับ:

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย:

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Victor Hess และ Cosmic Rays:

ความรู้เรื่อง Supernova:

ความรู้เรื่อง Dark Matter และ Dark Energy:

รู้จักยาน Voyager 1 และ 2 กันครับ:

เกี่ยวกับข้อความที่เราส่งไปเผื่อมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวอ่านได้ครับ: