Category Archives: science toy

วิทย์ประถม: ปี่หลอดกาแฟ

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากลผ้าเช็ดหน้าผีสิง เด็กๆได้ประดิษฐ์ปี่ของเล่นที่ทำจากหลอดกาแฟ เด็กโตพยายามปรับความถี่เสียงโดยปรับความยาวหลอด

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นผ้าเช็ดหน้าผีสิง:

กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

กิจกรรมคราวนี้ผมสอนเด็กๆให้ทำปี่ของเล่นจากหลอดกาแฟครับ วิธีทำก็คือเอาหลอดกาแฟมากดๆให้ปลายข้างหนึ่งแบนๆ แล้วตัดปลายข้างนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม  แล้วเอาปากเม้มปลายนั้นเข้าปาก แล้วเป่าเป็นเสียงแตร ถ้าหลอดอ่อนๆหน่อย (เช่นพวกหลอดตรง ราคาถูกๆ) ก็จะเป่าให้ดังได้ง่าย ถ้าหลอดแข็ง (เช่นพวกหลอดงอได้ ราคาแพงกว่า) ก็จะเป่าให้ดังยากกว่า เวลาที่เราเป่าส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมที่อยู่ในปากเราจะสั่นไปมาทำให้เกิดเสียง ถ้าเราตัดหลอดให้มีความยาวต่างๆกัน เสียงที่ได้ก็จะสูงต่ำต่างกันด้วย ดูวิดีโอวิธีทำได้ครับ:

ของเล่นนี้ไว้เล่นกับเด็กๆในกิจกรรมวิทย์ที่เกี่ยวกับเสียง, การสั่นสะเทือน, ความถี่หรือความสูงต่ำของเสียง, ความถี่การสั่นธรรมชาติและขนาดของวัตถุ เด็กอนุบาลหรือเด็กประถมก็เล่นและประดิษฐ์อย่างเดียว เด็กมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัยสามารถเรียนวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ครับ

ผมเคยบันทึกเรื่องนี้ไว้ในช่องเด็กจิ๋ว&ดร.โก้ด้วย:

พอเด็กๆรู้จักวิธีทำก็มารับหลอดและแยกย้ายกันไปทำเองครับ เป่ากันอย่างสนุกสนานและหนวกหูดีมาก

บรรยากาศการเล่นครับ:

วิทย์ประถม: ทำบูมเมอแรงกระดาษแข็งเล่นกัน

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากลเสกหลอดไฟให้หายและเขย่าขาผูกเชือกรองเท้า เด็กๆได้ประดิษฐ์ของเล่นบูมเมอแรงกระดาษแข็งกัน

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลสองอย่างในคลิปเหล่านี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลเสกหลอดไฟให้หายและเขย่าขาผูกเชือกรองเท้าครับ ทั้งสองกลใช้วิธีคล้ายๆกัน:

กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

ต่อจากนั้นผมก็สอนเด็กๆทำบูมเมอแรงจากกระดาษแข็ง วิธีทำมีดังในคลิปเหล่านี้ครับ:

เด็กๆแยกย้ายกันทำและเล่นครับ:

วิทย์ประถม: ของเล่นกระดาษเดินได้ (แรงเสียดทาน+เสียสมดุลย์)

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากลตัดเชือกไม่ขาด แล้วเราเล่นของเล่นที่อาศัยแรงโน้มถ่วง แรงเสียดทาน และการเสียการทรงตัวทำให้ของเล่นเดินไปตามพื้นเอียง เด็กๆเรียกว่าหมาด๊อกแด๊ก

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลตัดเชือกไม่ขาดครับ:

กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

จากนั้นผมก็สอนเด็กๆทำของเล่นเดินได้จากกระดาษแข็ง เริ่มโดยใช้กระดาษแข็งสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 4.5 เซ็นติเมตร x 15 เซ็นติเมตร โดยตัดลบเหลี่ยมมุมทั้งสี่แบบนี้:

ขนาดกระดาษไม่จำเป็นต้องเท่ากับขนาดนี้เป๊ะๆ สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ ขนาดที่เปลี่ยนไปจะทำให้เดินช้าเดินเร็วต่างกัน หรือล้มง่ายล้มยากกว่ากันได้ อยากให้เด็กๆทดลองทำแล้วเปรียบเทียบดูได้

วิธีทำเป็นดังในคลิปนี้ครับ:

หลังจากทำเสร็จเราก็หาพื้นเอียงให้มันเดิน พื้นควรจะมีความฝืดบ้าง ถ้าผิวลื่นเกินไปมันจะไม่เดินแต่จะลื่นลงมาตรงๆ

ของเล่นนี้ดูเหมือนเดินได้เพราะแรงโน้มถ่วงดึงมันลงสู่ที่ต่ำ แรงเสียดทานทำให้ขามันติดกับพื้น การเสียสมดุลย์ทำให้มันเอียงตัวไปมา ทำให้ขาหลุดจากพื้นแล้วขยับไปตำแหน่งใหม่ เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ซ้ำๆกันจึงทำให้ดูเหมือนว่ามันเดินได้ครับ

บรรยากาศกิจกรรมเป็นประมาณนี้ครับ ดูอัลบั้มเต็มได้ที่นี่