Category Archives: science

Things to Teach My Children (Version 1.1) บันทึกสิ่งที่ต้องบอกลูก เวอร์ชั่น 1.1

Things to Teach My Children (version 1.1: August 1, 2011)
(Version 1.0 is here.  Differences from version 1.0 are shown in red.
เวอร์ชั่น 1.0 อยู่ที่นี่ครับ ข้างล่างผมใช้สีแดงแสดงว่าอะไรต่างไปจากเวอร์ชั่น 1.0 บ้าง)

Foundations:

  1. Don’t believe anything easily. Use evidences & reasoning. อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ
  2. Empathize with other people. Be kind to others. เอาใจเขา มาใส่ใจเรา
  3. Don’t take advantage of people. อย่าเอาเปรียบผู้อื่น
  4. Remember that life is short. Try to make it a good one. ดำรงชีวิตให้มีประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมโลก ชีวิตมีชีวิตเดียว ใช้ชีวิตแบบที่เราสามารถภูมิใจได้เมื่อเราตาย
  5. Learn about mathematics & sciences. เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ มันเป็นภาษาของจักรวาลที่เราอยู่ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อรู้ว่ากฎเกณฑ์ธรรมชาติเป็นอย่างไร
  6. Learn about history. เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ให้ทราบถึงธรรมชาติของมนุษย์
  7. Learn English. รู้จักใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆที่จำเป็นในอนาคต
  8. Pick at least one sport to enjoy. Pick at least one musical instrument to enjoy. หัดเล่นกีฬาและดนตรีที่เราชอบ แม้ว่าเราจะไม่เก่งจนไปแข่งกับใครได้ แต่เราจะมีความสุข และสุขภาพดีพอควร
  9. Be brave when you have to. จงกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าเราจะกลัวก็ตาม ความกล้าหาญไม่ใช่การไม่กลัวอะไร แต่คือการที่เลือกจะทำสิ่งที่ถูกแม้ว่าจะมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อตัวเรา
  10. Practice Learn from Buddhism, not necessarily as a religion, but at least as a user manual for the human mind. ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ยึดถือเป็นศาสนา แต่เพื่อให้เราใช้สมองและจิตอย่างมีสติ
  11. Don’t take yourself too seriously.  We are all fools in the grand scheme of things. อย่าทะนงตัว เรายังเขลานักและเราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เกิดขึ้นมาและจะหายไปในเวลาสั้นๆเท่านั้น

Good books for them to read:

  1. The Feynman’s Lecture on Physics Vol. 1, 2, and 3 by Richard P. Feynman
  2. The Blind Watchmaker by Richard Dawkins
  3. The Evolution of Cooperation by Robert Axelrod
  4. The Red Queen by Matt Ridley
  5. Buddhadasa’s Books หนังสือของท่านพุทธทาส (และ http://www.buddhadasa.org/)
  6. A Short History of Nearly Everything by Bill Bryson (แปลเป็นไทยขื่อ ประวัติย่อของเกือบทุกสิ่ง แปลโดย โตมร ศุขปรีชา/วิลาวัลย์ ฤดีศานต์)
  7. The Demon-Haunted World: Science as a Candle in the Dark by Carl Sagan

Skills to have:

  1. Know how to learn. Be a self-learner. จงเรียนรู้ด้วยตนเองได้
  2. Know how to tell computers to do your tasks. จงสามารถบอกให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆให้เราได้
  3. Know when to discount expert opinions. จงกล้าที่จะไม่เชื่อผู้เชี่ยวชาญเมื่อเรามีข้อมูลและเหตุผลที่บอกว่าเขาผิด
  4. Know how to gauge people. Respect people, not because of their ranks or wealth, but because of their honorable lives. นับถือคนดี เกียรติของคนไม่ได้อยู่ที่ยศตำแหน่งหรือทรัพย์สิน เกียรติอยู่ที่จิตใจที่งดงาม และสิ่งดีๆที่เขาทำให้สังคมและโลก
  5. Know how to avoid harm and to defend yourself. รู้จักเทคนิคการป้องกันตนเอง จากภัยต่างๆ

วิทยาศาสตร์ประยุกต์: เด็กๆทำไอศครีมกันครับ

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องการทดลองออสโมซิสตอน 2 และเรื่องเซลล์อยู่ที่นี่ครับ)

ขอขอบคุณเพื่อนผม คุณเก๊า ที่เสนอกิจกรรมทำไอศครีมเมื่อผมปรึกษาว่าจะหากิจกรรมอะไรสนุกๆให้เด็กๆทำดี

 

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องคุณสมบัติที่น่าสนใจของเกลือ และการทดลองเรื่องความเร็วลม/ความดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาลสามครับ

เกลือเป็นของที่มีอยู่ในบ้านทั่วๆไปและวันนี้เด็กๆมาเรียนรู้คุณสมบัติที่น่าสนใจสองอย่างของเกลือครับ

ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูวิดีโอสองคลิปนี้ก่อน อันแรกคือปลาหมึกที่พึ่งตายราดซอสโชยุ (เพิ่มเติม 3 สิงหาคม 2554: วิดีโอคลิปดันถูก YouTube เอาลงซะแล้วครับ ผมเลยเอาอีกอันมาใส่ให้ข้างล่าง ก่อนขากบนะครับ) Continue reading วิทยาศาสตร์ประยุกต์: เด็กๆทำไอศครีมกันครับ

การทดลองออสโมซิสตอน 2 และเรื่องเซลล์ (+การเล่นสนุกเรื่องความดันกับเด็กๆอนุบาล)

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องฉนวนความร้อนและเรื่องขบวนการออสโมซิสอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องการทดลองออสโมซิสตอนที่สอง เรื่องเซลล์ และเล่นสนุกเรื่องความดันสำหรับเด็กอนุบาลสามครับ

เราเริ่มกันด้วยการทบทวนถึงการทดลองสัปดาห์ที่แล้วที่เราทำถ้วยมันฝรั่งใส่เกลือและถุงน้ำแป้งแช่ในน้ำทิงเจอร์ไอโอดีนกัน ทบทวนว่าเราทำอะไรไปบ้างแล้วผลที่เราเห็นคืออะไร จากนั้นผมและเด็กๆก็จะเริ่มทำการทดลองเพิ่มอีกสองอัน โดยที่ผมอธิบายและทำตัวอย่างว่าทำอย่างไรแล้วให้เด็กๆเขียนความคิดของเด็กๆว่าอะไรจะเกิดขึ้นลงไปในสมุดของเขาก่อน แล้วเราจะตรวจสอบความคิดกับผลของการทดลองกัน

ผมทำการทดลองที่หนึ่งให้เด็กๆดู เริ่มโดยเอามันฝรั่งดิบมาตัดให้เป็นรูปทรงกระบอก(โดยประมาณ) และปอกเปลือกที่รอบๆฐานเพื่อจะได้แช่น้ำตื้นๆ จากนั้นผมก็ปักหลอดกาแฟพลาสติกไปบนมันฝรั่ง แล้วผมก็กรอกเกลือป่นลงไปในหลอดสูงประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วเอามันฝรั่งไปแช่ในน้ำที่ใส่ไว้ในจานรองแก้ว ผมบอกเด็กๆว่าเราจะแช่น้ำไว้นานๆหน่อย เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ให้เขียนลงไปในสมุดตามความคิดของตนเอง Continue reading การทดลองออสโมซิสตอน 2 และเรื่องเซลล์ (+การเล่นสนุกเรื่องความดันกับเด็กๆอนุบาล)