Category Archives: science

ชั่งน้ำหนักวัดมวลและการทดลองเกี่ยวกับน้ำ

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ปืนของคุณเก๊าส์! (Gaussian Gun)” อยู่ที่นี่ครับ)

หายไปร่วมสามเดือนเพราะปิดภาคเรียนและน้ำท่วมนะครับ แต่ในที่สุดวันนี้ผมก็ได้ไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิอีกครับ (กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรมยังไม่เปิดเรียนเพราะน้ำท่วม) วันนี้เรื่องชั่งน้ำหนักวัดมวลสำหรับเด็กประถมและการทดลองเกี่ยวกับน้ำสำหรับเด็กอนุบาลครับ

ผมเริ่มด้วยการถามว่ามีใครจำได้ว่าความเฉื่อยคืออะไรได้บ้าง เมื่อปีที่แล้วเด็กโตได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความเฉื่อยไปแล้วครั้งหนึ่ง เด็กๆส่วนใหญ่จำได้ว่าเคยทดลองดีดกระดาษรองเหรียญเพื่อดูความเฉื่อยไม่อยากเคลื่อนที่ของเหรียญ เมื่อตอนนั้นผมเคยบันทึกถึงความเฉื่อยไว้ว่า:

“ความเฉื่อย” หรือ Inertia (อ่านว่า อิ-เนอร์-เชียะ) เป็นคุณสมบัติของวัตถุทุกๆอย่างครับ เป็นคุณสมบัติของวัตถุต่างๆที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน ถ้าอยู่เฉยๆก็จะอยู่เฉยๆไปเรื่อยๆจนมีอะไรมาทำอะไรกับมัน ถ้าเคลื่อนที่อยู่แล้วก็ไม่อยากหยุด ไม่อยากวิ่งเร็วขึ้น ไม่อยากเลี้ยว ถ้าจะทำให้หยุด หรือเร็วขึ้น หรือเลี้ยว ต้องใช้แรงมากระทำกับมัน  

เราเรียกปริมาณความเฉื่อยของวัตถุแต่ละชิ้นว่า “มวล” ของวัตถุ บนโลกถ้าวัตถุไหนมีมวลมาก นำ้หนักของมันก็มากตาม แต่ในอวกาศไกลๆจากโลก แม้ว่าวัตถุนั้นจะมีน้ำหนักน้อยมากๆ (เพราะน้ำหนักคือแรงดึงดูดจากโลกมีค่าน้อยลงเมื่อห่างจากโลก) มวลหรือความเฉื่อยของมันก็ยังมี และทำให้วัตถุไม่ค่อยอยากเปลี่ยนแปลงการหยุดนิ่งหรือการเคลื่อนที่ของมัน ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีแรงอะไรไปผลักดันดูดดึงมัน

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของวัตถุที่มีความเฉื่อยก็คือปริมาณความเฉื่อยที่เราเรียกว่ามวลนั้น จะดึงดูดมวลอื่นๆทุกมวลในจักรวาลได้ เราเรียกแรงนี้ว่าแรงโน้มถ่วง บนพื้นโลกแรงที่มวลของโลกดึงดูดมวลของวัตถุต่างๆเรียกว่าน้ำหนักของวัตถุนั้นๆ โดยที่น้ำหนักของวัตถุเท่ากับมวลของวัตถุคูณกับค่าคงที่ค่าหนึ่ง (ค่า g) ดังนั้นบนพื้นโลกถ้าเราจะวัดมวลของวัตถุใดๆเราก็ชั่งน้ำหนักของมันแล้วเราก็สามารถรู้ค่ามวลของมันได้ทันที (มวล = น้ำหนัก/g) ความจริงหน่วยที่เรียกว่ากิโลกรัมนั้นเป็นหน่วยของมวล ส่วนหน่วยของน้ำหนักนั้นนับเป็นนิวตัน แต่ในชีวิตประจำวันเราเรียกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมก็ไม่มีปัญหาเพราะทุกคนเข้าใจตรงกัน มีแต่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ต้องระวังเรื่องหน่วยบ้าง Continue reading ชั่งน้ำหนักวัดมวลและการทดลองเกี่ยวกับน้ำ

ปืนของคุณเก๊าส์! (Gaussian Gun)

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

 (คราวที่แล้วเรื่องพลังงานและคลื่นอยู่ที่นี่ครับ)
 
วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรามาเล่นของเล่นที่ใช้แม่เหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่าปืนของคุณเก๊าส์ (Gaussian Gun) กันครับ
 
แต่ก่อนอื่นที่เราจะไปเล่นของเล่น ผมได้ให้การบ้านเด็กๆไปทำโดยให้เด็กๆสังเกตว่าเครื่องสูบน้ำที่ใช้มือบีบทำงานอย่างไร ให้เวลาสัปดาห์หนึ่งไปลองดูกัน เครื่องสูบน้ำหน้าตาแบบนี้ครับ:
 
การบ้านเด็กๆ ดูว่าการทำงานของเครื่องสูบน้ำแบบนี้เป็นอย่างไร
 
จากนั้นผมก็ให้เด็กๆดูคลิปวิดีโอเกี่ยวกับงานศิลปะที่ใช้ลูกตุ้มทำ:

ผมถามเด็กๆว่ามันทำงานอย่างไร มีเด็กๆหลายคนเช่นธีธัช น้องกันและน้องแสงจ้าเข้าใจทันทีว่าเกิดจากความยาวของลูกตุ้มที่ต่างกัน อันสั้นจะแกว่งถี่กว่าอันยาว (ความจริงมีเด็กมากกว่านี้ที่เข้าใจแต่สามคนที่ยกตัวอย่างออกเสียงดังที่สุด) ผมดีใจมากที่เด็กๆเข้าใจและจำได้เรื่องลูกตุ้มที่เราเรียนกันไปในอดีต สำหรับสิ่งประดิษฐ์นี้คนสร้างเขาบอกว่าลูกตุ้มอันที่ยาวที่สุดจะแกว่ง 51 ครั้งต่อนาทีและอันที่สั้นแต่ละอันจะแกว่งมากขึ้นเรื่อยๆทีละหนึ่งครั้งต่อนาที(เป็น 52ครั้ง/นาที 53รั้ง/นาที 54ครั้ง/นาที ไปเรื่อยๆจนถึง 65ครั้ง/นาที) ดังนั้นลูกตุ้มแต่ละอันจะแกว่งที่ความถี่ต่างๆกันไป เมื่อเรามองทุกอันพร้อมๆกันก็จะเกิดรูปแบบสวยงามน่าสนใจ Continue reading ปืนของคุณเก๊าส์! (Gaussian Gun)

เรื่องพลังงาน(ต่อ)และการส่งพลังงานเป็นคลื่น

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องการเปลี่ยนรูปของพลังงานและของเล่นไจโรสโคปอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้สอนต่อเรื่องพลังงานและการส่งผ่านพลังงานด้วยคลื่นครับ

คราวที่แล้วเด็กกลุ่มบ้านเรียนได้รู้ว่าพลังงานมีหลายรูปแบบเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างกันได้ เด็กๆได้รู้จักพลังงานที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ (พลังงานจลน์) และพลังงานที่เกี่ยวกับความสูง (พลังงานศักย์โน้มถ่วง) วันนี้ผมเลยมาแนะนำให้เด็กๆรู้จักกับพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ หรือพลังงานศักย์ยืดหยุ่น

ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าวัสดุหลายๆอย่าง ถ้าเราไปกดหรืองอมันแล้วปล่อย มันจะกระเด้งกลับสู่รูปเดิม(ตราบใดที่เราไม่ไปกดหรืองอมันมากเกินไปจนรูปร่างมันเปลี่ยนไปถาวร) วัสดุเช่นไม้ เหล็ก พลาสติกแข็งๆ หนังยาง ต่างเป็นเช่นนี้ทั้งนั้น เราต้องออกแรงทำให้วัสดุเหล่านี้เปลี่ยนรูปร่าง แต่เมื่อเราปล่อยวัสดุก็จะขยับตัวกลับหารูปร่างเดิมของมัน ตอนเราทำให้มันเปลี่ยนรูปร่างเราใส่พลังงานเข้าไปในวัสดุ พลังงานที่ถูกเก็บไว้เป็นพลังงานที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ เมื่อวัตถุคืนรูปร่างเดิมก็จะปล่อยพลังงานนั้นออกมา พลังงานที่วัสดุเก็บไว้เมื่อเปลี่ยนรูปร่างนี้เรียกได้ว่าเป็นพลังงานศักย์ที่เกี่ยวกับการยืดหยุ่นของวัตถุ  แล้วผมก็ยกตัวอย่างเอาไม้บรรทัดมากดติดกับโต๊ะแล้วกดให้งอเล็กน้อยโดยวางยางลบไว้บนไม้บรรทัด เมื่อปล่อยไม้บรรทัดก็จะดีดยางลบให้ลอยขึ้น ตัวอย่างอื่นๆที่เด็กคิดว่าเป็นปรากฏการณ์คล้ายๆกันก็คือ กระดานกระโดดน้ำ แทรมโปลีน ไม้ง่ามยิงหนังสติ๊ก

ไม้บรรทัดดีดยางลบ

Continue reading เรื่องพลังงาน(ต่อ)และการส่งพลังงานเป็นคลื่น