Category Archives: science

เหนี่ยวนำไฟฟ้าและเบรกแม่เหล็ก

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องทดลองต้มน้ำเปล่า น้ำเกลือ และเอาลูกโป่งลนไฟอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้าและเบรกแม่เหล็ก

ผมบอกเด็กๆว่าเตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า เบรครถไฮบริดเช่นพริอุส เครื่องปั่นไฟ และเครื่องปรับหนักเบาในจักรยานออกกำลังกาย ใช้หลักการธรรมชาติเดียวกันในการทำงาน และวันนี้เราจะมาลองดูการทดลองง่ายๆของหลักการธรรมชาติอันนี้ หลักการนี้ก็คือการเหนี่ยวนำไฟฟ้าเมื่อแม่เหล็กและตัวนำไฟฟ้ามาขยับใกล้ๆกัน

เวลาเรามีแม่เหล็ก (ซึ่งอาจจะเป็นแม่เหล็กถาวรเป็นแท่งๆ หรือแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้) เอามาอยู่ใกล้ๆกับตัวนำไฟฟ้าเช่นเหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง หรือโลหะต่างๆรวมทั้งสายไฟทั้งหลาย แล้วทำให้มีการขยับใกล้ๆกัน (จะให้แม่เหล็กขยับ ตัวนำขยับ หรือทั้งสองอันขยับผ่านกันก็ได้ หรือจะให้ความแรงของแม่เหล็กเปลี่ยนไปมาก็ได้) จะมีปรากฏการณ์เรียกว่าการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งในตัวนำไฟฟ้านั้นๆ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าวิ่งในตัวนำ ก็จะมีเหตุการต่อเนื่องขึ้นอีกสองอย่างคือ 1) มีสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในตัวนำ และ 2) กระแสไฟฟ้าทำให้ตัวนำร้อนขึ้น ในอดีตผมเคยมีการทดลองและคำอธิบายเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้าไปครั้งหนึ่งแล้ว ลองเปิดไปดูด้วยนะครับ

วันนี้ผมเอาขดลวดทองแดงมาต่อกับโวลท์มิเตอร์ แล้วเอาแม่เหล็กไปขยับเข้าออกผ่านขดลวดให้เด็กๆดูเข็มโวลท์มิเตอร์ขยับไปมา แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดทองแดงนั้น (ใช้แอมป์มิเตอร์ไม่ได้ครับ เพราะเครื่องผมวัดกระแสน้อยๆไม่ค่อยได้):

 
 

Continue reading เหนี่ยวนำไฟฟ้าและเบรกแม่เหล็ก

ทดลองต้มน้ำเปล่า น้ำเกลือ และเอาลูกโป่งลนไฟ

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและใช้หลักการของเบอร์นูลลีเพิ่มปริมาณลมอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและกลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรมครับ วันนี้เรื่องทดลองต้มน้ำเปล่า ต้มน้ำเกลือ และทดลองเอาลูกโป่งลนไฟ

ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูภาพลวงตาสองภาพ เพื่อให้เด็กๆทบทวนว่าสมองและประสาทสัมผัสของเราถูกหลอกได้ง่ายมากครับ ถ้าภาพไม่ขยับให้เมาส์กดที่ภาพหรือเปิดลิงค์นี้และลิงค์นี้นะครับ:

ความจริงตรงกลางต่ำสุด แต่มุมและเส้นต่างๆในมุมมองนี้ทำให้เราคิดว่ามันเป็นจุดสูงสุด มันเลยแปลกที่ลูกบอลวิ่งสู่ที่สูงได้
มองที่ศูนย์กลางสักครึ่งนาทีแล้วมองไปรอบๆตัว จะเห็นสิ่งต่างๆเต้นเป็นคลื่นๆ

หลังจากที่เด็กๆได้เวียนหัวกับภาพลวงตาแล้ว เราก็มาเริ่มทำการทดลองกัน เราเคยเอาน้ำแข็งใส่น้ำแล้ววัดอุณหภูมิมาแล้วในอดีต เมื่อเราเอาเกลือโรยน้ำแข็ง ปรากฎว่าอุณหภูมิต่ำลงไปอีก คราวนี้เราจะมาลองต้มน้ำกันโดยที่เราจะต้มน้ำเปล่าๆ แล้วก็ต้มน้ำใส่เกลือ เพื่อวัดอุณหภูมิว่าเป็นอย่างไรครับ Continue reading ทดลองต้มน้ำเปล่า น้ำเกลือ และเอาลูกโป่งลนไฟ

เรียนรู้เรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและใช้หลักการของเบอร์นูลลีเพิ่มปริมาณลม

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องอะตอมและโมเลกุล (+ของเล่นนักดำน้ำสำหรับเด็กอนุบาล) อยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและการเป่าเพิ่มปริมาณลมด้วยหลักการของเบอร์นูลลีครับ

สำหรับเด็กประถม ผมถามคำถามทบทวนเรื่องโมเลกุลจากสัปดาห์ที่แล้ว โมเลกุลที่เรารู้จักเช่นน้ำ (H2O) ก๊าซออกซิเจน (O2) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) มีเธน (CH4) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ล้วนเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ประกอบด้วยอะตอมไม่กี่อะตอมเท่านั้น วันนี้เรามาดูรู้จักแป้งข้าวโพดที่เป็นของเล่นที่เล่นสนุกเนื่องจากโมเลกุลของมันมีขนาดใหญ่ และต่อกันเป็นเส้นยาวๆในขนาดต่างๆกันครับ

ผมให้เด็กๆดูรูปวาดโมเลกุลของแป้งจากเว็บนี้ครับ จะเห็นได้ว่าโมเลกุลมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับโมเลกุลเล็กที่เรารู้จักจากสัปดาห์ที่แล้ว (ตรงมุมหยักๆเป็นคาร์บอน) โมเลกุลแป้งเกิดจากโมเลกุลน้ำตาลกลูโคสมาต่อกันเป็นเส้นยาวๆที่มีขนาดไม่แน่นอนครับ แต่ลักษณะมันจะเป็นเส้นยาวๆ:

ตัวอย่างโมเลกุลแป้ง

แป้งมีอยู่ในอาหารหลายๆชนิดเช่นข้าว ขนมปัง เกี๊ยว เส้นก๊วยเตี๋ยว เวลาเราเคี้ยวข้าวแล้วอมไว้ น้ำย่อยในน้ำลายของเราจะทำให้แป้งบางส่วนแตกตัวเป็นโมเลกุลน้ำตาล ทำให้เรารู้สึกว่ามันหวานขึ้น Continue reading เรียนรู้เรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและใช้หลักการของเบอร์นูลลีเพิ่มปริมาณลม