Category Archives: science

ทดลองความยืดหยุ่น เล่นของเล่นแบบ Angry Birds และเล่นแป้งข้าวโพด

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กๆเรื่องยาน Curiosity ทดลองเรื่องความยืดหยุ่น และเล่นของเล่นไจโรสโคปกับเด็กอนุบาล” อยู่ที่นี่ครับ)

เมื่อวานนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้ทำการทดลองเกี่ยวกับความยืดหยุ่นโดยสร้างและยิงเครื่องยิงแบบในเกม Angry Birds สำหรับเด็กประถม และไปเล่นแป้งข้าวโพดกับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม ผมเอาของเล่นที่เรียกว่าสลิงกี้ (Slinky) ซึ่งก็คือสปริงขนาดใหญ่เห็นได้ชัดนั่นเอง ผมปล่อยให้มันยืดหดยืดหดให้เด็กๆดู เด็กๆสังเกตเห็นว่าเมื่อผมให้สปริงยาวๆสั่น มันจะสั่นช้ากว่าตอนให้สปริงสั้นๆสั่น เช่นเดียวกันกับไม้บรรทัดยาวๆจะสั่นช้ากว่าไม้บรรทัดสั้นๆ ผมหวังว่าเด็กๆจะจำภาพเหล่านี้ได้เมื่อเขาโตขึ้นและเรียนเรื่องสปริง ค่า k ของสปริง และการสั่น คือความถี่ในการสั่นเพิ่มขึ้นตามความแข็งของสปริง (หรือค่า k ของสปริงนั่นเอง) และถ้าเราตัดสปริงให้สั้นลง ค่า k ของสปริงจะมากขึ้นทำให้สั่นเร็วขึ้นนั่นเอง

สลิงกี้ยืดๆหดๆครับ
ไม้บรรทัดสั่นครับ

 ผมบอกเด็กๆต่อว่าของที่เราเห็นว่าแข็งๆเช่นกระเบื้อง หิน เหรียญโลหะ กระจก ฯลฯ นั้น ต่างก็สามารถสั่นได้ทั้งนั้น แม้ว่าตาเราจะมองเห็นได้ยาก แต่เรารับรู้ถึงการสั่นได้จากเสียงของมันเวลาเราไปเคาะมันนั่นเอง

จากนั้นก็ถึงเวลาสนุก ผมเอาของเล่นที่ใช้หนังยางเป็นตัวดีดไม้หนีบผ้าออกไปคล้ายๆในเกม Angry Birds ที่ปล่อยนกออกไปชนหมู ผมลองใช้หนังยางยาว (สามเส้นต่อกัน) และหนังยางสั้น (สองเส้นต่อกัน) เมื่อยึดออกมาเท่าๆกัน หนังยางสั้นจะยิงได้ไกลกว่า (เหมือนกับสปริงสั้นมีค่า k มากกว่าสปริงยาว) นอกจากนี้ของเล่นอันนี้มีที่วัดมุมเพื่อช่วยในการเล็งด้วยครับ Continue reading ทดลองความยืดหยุ่น เล่นของเล่นแบบ Angry Birds และเล่นแป้งข้าวโพด

คุยกับเด็กๆเรื่องยาน Curiosity ทดลองเรื่องความยืดหยุ่น และเล่นของเล่นไจโรสโคปกับเด็กอนุบาล

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง”เล่นกับเครื่องทุ่นแรง”อยู่ที่นี่ครับ)

เมื่อวานนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ สำหรับเด็กประถม1-2 ผมเล่าเรื่องยาน Curiosity ที่ไปลงดาวอังคารเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำหรับเด็กประถม 3-5 ผมก็เล่าเรื่องยาน Curiosity และเริ่มทำการทดลองเรื่องความยืดหยุ่น ส่วนเด็กๆอนุบาลเราก็ได้เล่นของเล่นไจโรสโคปกัน

สำหรับเรื่องยาน Curiosity ผมเอาวิดีโออนิเมชั่นการลงจอดของมันมาให้เด็กๆดู แล้วค่อยๆอธิบายว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร วิดีโอคืออันนี้ครับ:

ยาน Curiosity ถูกปล่อยจากโลกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้ว เจ้ายานอวกาศมีจรวดที่ขับดันมันด้วยความเร็วสูงให้ออกไปนอกโลกแล้วตัวจรวดก็จะสลัดตัวเองตกลงมาบนโลก ปล่อยให้ส่วนยานอวกาศลอยไปในอวกาศด้วยความเฉื่อยและแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ จนกระทั่งแปดเดือนต่อมายานก็เข้าสู่บรรยากาศของดาวอังคาร Continue reading คุยกับเด็กๆเรื่องยาน Curiosity ทดลองเรื่องความยืดหยุ่น และเล่นของเล่นไจโรสโคปกับเด็กอนุบาล

เล่นกับเครื่องทุ่นแรง

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “กลการทรงตัว ตั้งไข่ ตั้งกระป๋อง คานประยุกต์ และเทรบูเช (Trebuchet)” อยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและกลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรมครับ ส่วนอนุบาลบ้านพลอยภูมิมีนิทรรศการปิดองค์เลยไม่ได้เข้าไปสอนครับ วันนี้เรื่องพิจารณาและเล่นเครื่องทุ่นแรงต่างๆครับ

สัปดาห์ที่แล้วเด็กๆสนุกมากในการตอกและงัดตะปู ผมสังเกตว่าเด็กๆคงไม่ได้เล่นอุปกรณ์พวกนี้เท่าไร เขาจึงเห็นเป็นของแปลก สัปดาห์นี้ผมเลยพยายามให้เด็กๆมีกิจกรรมคล้ายๆอย่างนั้นอีกครั้ง คราวนี้ทุกระดับชั้นทำการเล่นคล้ายๆกันหมดครับ เราเล่นกับล้อ ทางลาด ตะปูเกลียว ไขควง และฟังคำอธิบายเรื่องมีดและลิ่มครับ

ผมเริ่มโดยถามเด็กๆว่าเคยไปซื้อของในซูเปอร์มาเก็ตไหม เวลาของเยอะๆและหนักเราขนของอย่างไร เด็กๆตอบว่าใช้รถเข็น ผมถามว่าทำไมถึงใช้รถเข็น เด็กๆว่ามันเข็นไปได้ไม่หนัก ผมบอกว่าใช้แล้ว ถ้าถือไป หรือลากไปบนพื้นมันหนัก แต่รถเข็นมีล้อและแกนล้อหรือเพลา ทำให้เราใช้แรงน้อยกว่าในการเคลื่อนย้ายของเมื่อเทียบกับถือหรือลากของไปตามพื้น

พวกเราเอารถของเล่นมีล้อมาดูกันครับ

ล้อถูกประดิษฐ์มาสักประมาณ 6,000 ถึง 10,000 ปี เราไม่รู้ชัดว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์ เข้าใจว่าเมื่อสมัยก่อนทางเรียบๆมีน้อย คนจึงไม่ได้ประดิษฐ์ล้อเสียที เพราะแบกหามด้วยคนหรือสัตว์สะดวกกว่า แต่พอคนเริ่มรู้จักใช้ล้อผ่อนแรง ทางเรียบๆก็มีตามมาเรื่อยๆจนมากมาย นอกจากนี้รถลากหรือรถเข็นที่มีล้อก็กลายเป็นเครื่องทุ่นแรงที่เป็นที่นิยมในการขนส่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง Continue reading เล่นกับเครื่องทุ่นแรง