Category Archives: science

ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก ภาค 2: แม่เหล็กไฟฟ้า

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก” ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับเด็กประถม และมอเตอร์โฮโมโพลาร์สำหรับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม เราเล่นและเรียนเกี่ยวกับแม่เหล็กต่อจากสัปดาห์ที่แล้วครับ ผมเริ่มโดยเอาหินที่เป็นแม่เหล็ก (เรียกว่าโหลดสโตน, Lodestone) ออกมาให้เด็กๆดู มันเป็นหินที่เป็นแม่เหล็กโดยธรรมชาติ คนสมัยโบราณเป็นพันปีมาแล้วสังเกตว่าถ้าแขวนหินพวกนี้ไว้ มันจะค่อยๆหมุนจนชี้ไปในทิศทางเดิมตลอด มันจึงเป็นเข็มทิศธรรมชาติอันแรกที่คนรู้จักใช้ ผมถามเด็กๆว่ารู้จักเข็มทิศใช่ไหม รู้ไหมทำไมเข็มทิศถึงชี้ไปทางเดิมตลอด เด็กๆบางคนตอบได้ว่าเพราะโลกมีขั้วแม่เหล็ก แม่เหล็กในเข็มทิศจึงชึ้ไปในแนวขั้วแม่เหล็กโลก ผมตอบว่าใช่แล้ว ในโลกมีความร้อนสูงมาก มีโลหะหลอมละลายอยู่ โลหะเหล่านี้ก็หมุนๆไปตามโลกด้วย การหมุนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่สร้างสนามแม่เหล็กโลก นอกจากนี้ขั้วแม่เหล็กโลกก็เคลื่อนที่ช้าๆมีการกลับทิศทางหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมาเพราะการเคลื่อนที่ของโลหะเหลวคงจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ใช้เวลาเป็นแสนปี และก็คงไม่มีอันตรายอะไรเพราะเวลาเราดูฟอสซิลสิ่งมีชีวิตในอดีต เราไม่เห็นว่าการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กโลกทำให้มีการสูญพันธุ์อะไรมากเป็นพิเศษ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลองดูที่นี่นะครับ ถ้าสนใจ)

จากนั้นเราก็มาดูคลิปกัน ในสัปดาห์ที่แล้วผมเล่าเรื่องเกี่ยวกับเครื่อง MRI ที่มีแม่เหล็กที่มีกำลังแรงมากอยู่ข้างในให้เด็กๆฟัง สัปดาห์นี้ผมจึงเริ่มโดยเอาวิดีโอคลิปที่คนทดลองเอาของต่างๆเข้าไปใกล้เครื่อง MRI ที่ปลดระวางแล้ว:

จะเห็นได้ว่าแม่เหล็กในเครื่อง MRI ดูดเก้าอี้เข้าไปด้วยแรงร่วมๆหนึ่งตันเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่อง MRI จึงต้องเอาโลหะต่างๆออกจากร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายถ้าแม่เหล็กดูดโลหะได้ Continue reading ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก ภาค 2: แม่เหล็กไฟฟ้า

ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทำการทดลองเรื่องแรงตึงผิวกัน” ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องแม่เหล็กครับ

ผมเริ่มโดยให้เด็กๆดูวิดีโอกบและตั๊กแตนลอยอยู่ในอากาศดังในคลิปต่อไปนี้

ผมถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่ามันลอยได้อย่างไร เด็กๆบอกว่ามันอยู่ในอวกาศ แต่ผมบอกว่าจริงๆแล้วมันอยู่บนพื้นโลกนี่แหละ แต่มันอยู่ในสนามแม่เหล็กที่แรงมาก แรงกว่าสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 500,000 เท่า (ความแรงประมาณ 16 T หรือ 16 เทสล่า โดยที่สนามแม่เหล็กโลกมีขนาดประมาณ 25-65 ไมโครเทสล่า) Continue reading ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก

ทำการทดลองเรื่องแรงตึงผิวกัน

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทดลองความยืดหยุ่น เล่นของเล่นแบบ Angry Birds และเล่นแป้งข้าวโพด” ครับ)

เมื่อวานนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิ วันนี้เรื่องแรงตึงผิวครับ เราทำการทดลองกันสองสามอย่าง

ผมเริ่มด้วยกลจุกคอร์กลอยน้ำครับ เอาแก้วน้ำมาสองใบ เติมน้ำให้เต็ม แล้วเอาจุกคอร์กเล็กๆไปลอยในแก้วทั้งสอง ปรากฏว่าจุกคอร์กจะลอยกลางๆแก้วใบหนึ่งแต่จะลอยริมๆแก้วอีกใบ แม้ว่าเราจะไปเขี่ยๆให้จุกคอร์กลอยไปที่อื่น แต่ในแก้วใบหนึ่งจุกคอร์กจะลอยไปตรงกลางเสมอ ขณะที่อีกใบหนึ่งจุกคอร์กจะลอยไปริมๆแก้วเสมอ

ลอยแบบนี้ครับ แก้วหนึ่งจะลอยริมๆ อีกแก้วจะลอยกลางๆ    

ผมเคยถ่ายวิดีโอเรื่องนี้แล้วไว้ไปใน YouTube ฝรั่งเข้ามาด่ากันมากมายเพราะฟังไม่รู้เรื่องครับ (ทั้งๆที่ผมก็ใส่คำอธิบายภาษาอังกฤษไว้ใต้วิดีโอแล้วครับ 🙂 )

Continue reading ทำการทดลองเรื่องแรงตึงผิวกัน