วิดีโอเร็วและช้า (Time-lapse & Slow Motion)

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ (คราวที่แล้วเรื่อง “วิธีมองเห็นอากาศด้วย Schlieren Optics การทดลองแรงโน้มถ่วงเทียม” ครับ) วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ (อนุบาลสามบ้านพลอยภูมิติดธุระวันพ่อเลยไม่มีกิจกรรมครับ) วันนี้เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอเลี้ยงค้างคาวทารกเพื่อดูนิ้วมือค้างคาวที่ยาวเป็นโครงปีก และได้ดู “รถไฟ” ที่ทำจากถ่านไฟฉายแม่เหล็กและขดลวดทองแดง เด็กทั้งประถมต้นและปลายได้ดูวิดีโอเร็ว (time-lapse) และวิดีโอช้า (slow motion) เด็กๆได้เข้าใจว่า time-lapse เกิดจากการที่เราถ่ายภาพด้วยช่วงเวลาห่างๆแล้วมาฉายด้วยความเร็วปกติ 24-30 ภาพต่อวินาที ขณะที่ slow motion เกิดจากการที่เราถ่ายภาพเยอะๆ (เยอะกว่า 24-30) ในหนึ่งวินาทีแล้วมาฉายด้วยความเร็ว 24-30 ภาพต่อวินาทีครับ เราได้ทดลองถ่ายภาพสโลโมของคลื่นในขดสปริง ดูการสะท้อนของคลื่นในสปริง การตกของสปริง และเปรียบเทียบการกระเด้งของลูกบอลแบบต่างๆครับ ผมให้เด็กๆประถมต้นดูวิดีโอน่ารักของลูกค้างคาว เพื่อสังเกตนิ้วมือและแขนของมันที่วิวัฒนาการเป็นปีกครับ:

แรงลอยตัว เทคนิคทำของเล่น มอเตอร์ง่ายสุดขีด

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ (คราวที่แล้วเรื่อง “ดูวิดีโอหุ่นยนต์ การทดเฟือง เบรกแม่เหล็ก” ครับ) วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมต้นได้ทำเรื่องแรงลอยตัว เด็กประถมปลายได้ดูวิดีโอการพิมพ์ 3 มิติด้วยคอนกรีตสร้างเป็นปราสาทเล็กๆและได้ดูผมสาธิตวิธีทำของเล่นจากเพลา เฟือง มอเตอร์ ฯลฯ เด็กอนุบาลสามได้เล่นมอเตอร์แบบประกอบง่ายสุดขีดที่เรียกว่าโฮโมโพล่าร์มอเตอร์ครับ สำหรับเด็กๆประถมต้นผมให้ดูวิดีโอแม่ชีลอยน้ำก่อนครับ:

กระแสไฟฟ้า แม่เหล็ก มอเตอร์ และแบตเตอรี่

  อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ (คราวที่แล้วเรื่อง “ดูฟ้าผ่าในก้อนพลาสติก เล่นไฟฟ้าในถ่านไฟฉาย มอเตอร์ และหลอดไฟ” ครับ) วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้เด็กๆได้เห็นภาพรอยแผลเป็นของคนที่โดนฟ้าผ่าแต่ไม่ตาย พบว่ารอยเป็นกิ่งก้านสาขาดังรูป Lichtenberg Figure ที่ได้ดูไปสัปดาห์ที่แล้ว เด็กประถมต้นได้เรียนรู้เรื่องกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดแม่เหล็ก และได้ประยุกต์โดยการประกอบมอเตอร์แบบโฮโมโพลาร์เล่นกันครับ เด็กประถมปลายได้ทดลองทำแบตเตอรี่จากโลหะต่างกันสอดใส้ด้วยกระดาษชุบกรดจากน้ำส้มสายชู ได้ทดลองกับทองแดง สังกะสี อลูมิเนียม เราพบว่าเหรียญของประเทศไทยมีส่วนประกอบของทองแดงเยอะดีครับ