Category Archives: education

สร้าง Bifurcation Diagram แบบง่ายๆ


พอดีมีนักเรียนตั้งกระทู้ถามเรื่องการวาดรูปเรื่อง Bifurcation Diagram เมื่อคืน ผมเลยทดลองวาดบน Mathematica เห็นว่าวิธีวาดง่ายดี เลยมาบันทึกไว้เผื่อมีใครค้นหาอีกในอนาคต ถ้าจะลองก็คัดลอกเอาไปลองได้เลย แล้วเปลี่ยนนู่นเปลี่ยนนี่เล่นดูเอง


(* กำหนด mapping ที่เราสนใจ อันนี้เรียกว่า logistic map *)
f[r_, x_] := r x (1 – x)

(* ทำการ iterate ด้วย ‘r’ ไป ‘iterations’ ครั้ง เริ่มด้วย ‘x0’ แล้วตัดมาดู ‘count’ ตัว *)
longtermValues[r_, count_, iterations_, x0_] :=
Map[{r, #} &, Take[NestList[f[r, #] &, x0, iterations], -count]]

(* เราเปลี่ยน r ตั้งแต่ 2.6 ไปจนถึง 4 โดยขยับทีละ 0.001 สำหรับแต่ละ r เรา iterate 500 ครั้งแล้วเอา 200 ตัวสุดท้่ายมาใช้ เราต้องใช้ Flatten[…,1] เพื่อให้คู่ลำดับทั้งหมดอยู่ในลิสท์ระดับเดียวกัน *)
allValues = Flatten[Table[longtermValues[r, 200, 500, 0.2], {r, 2.6, 4, 0.001}], 1];

(* วาดรูป *)
ListPlot[allValues, PlotStyle -> PointSize[0.001]]

สมดุลของร่างกายและกลหลอกลวงชาวบ้าน

ถ้าท่านได้รับข้อความเหล่านี้ทางอีเมล์แต่ไม่เห็นวิดีโอคลิป เข้ามาดูที่ https://witpoko.com/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่องลูกแก้วและเข็มลอยน้ำอยู่ที่นี่ครับ)
 

วันนี้ผมเข้าไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆประถมกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและเด็กๆอนุบาลบ้านพลอยภูมิอีกแล้วครับ คราวนี้เด็กได้ทำการทดลองเกี่ยวกับสมดุลของร่างกาย และการที่มิจฉาชีพใช้กลเกี่ยวกับหลักการนี้มาหลอกลวงขายของวิเศษครับ

ก่อนอื่นผมให้เด็กๆขึ้นมายืนกางแขนทั้งสองข้างออก แล้วยกขาข้างหนึ่ง แล้วผมก็กดแขนข้างหนึ่งลงโดยให้เด็กออกแรงต้านไว้ ซึ่งในครั้งแรกเด็กก็จะล้มลงหรือแขนหุบลงมาอย่างง่ายดาย จากนั้นผมก็เอา “ของวิเศษ” (ทำจากฟอยล์อลูมิเนียมขยำเป็นก้อนกลมๆ) ให้เด็กกำไว้ในมือ แล้วยืนกางแขนเหมือนเดิมอีก แต่คราวนี้พอผมกดแขน เด็กก็สามารถกางแขนต้านทานแรงกดได้มากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด พอผมเอา “ของวิเศษ” คืนแล้วเริ่มกดแขนใหม่ เด็กก็จะล้มหรือแขนหุบลงอีก

Continue reading สมดุลของร่างกายและกลหลอกลวงชาวบ้าน

ทำอย่างไรให้ลูกแก้วลอย และเข็มลอยน้ำ



ถ้าท่านได้รับข้อความเหล่านี้ทางอีเมล์แต่ไม่เห็นวิดีโอคลิป เข้ามาดูที่ https://witpoko.com/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่องแม่เหล็กและขดลวด และเข็มลอยน้ำอยู่ที่นี่ครับ)
 
วันนี้ผมเข้าไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆประถมกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและเด็กๆอนุบาลบ้านพลอยภูมิอีกแล้วครับ คราวนี้ให้เด็กประถมและเด็กอนุบาลสามเรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวในน้ำ ส่วนเด็กอนุบาลสองได้ดูเข็มลอยน้ำอย่างที่เด็กอนุบาลสามได้ดูสัปดาห์ที่แล้ว
 
สำหรับเด็กประถม ผมเริ่มด้วยการให้เด็กๆดูวิดีโอคลิปแม่ชีลอยน้ำ ซึ่งเด็กๆก็ออกความเห็นกันใหญ่ว่า “ผมก็ลอยได้”, “ใส่โฟมไว้ข้างในหรือเปล่า”, “ผมทำท่าปลาดาวลอยได้”, ฯลฯ ผมดีใจมากที่เด็กๆเห็นว่าน่าจะมีคำอธิบายที่ไม่ต้องมีเวทย์มนต์หรือปาฏิหาริย์อะไร ตอนโตขึ้นผมหวังว่าเด็กๆจะถูกหลอกยากจากการได้ศึกษาและทดลองวิทยาศาสตร์แต่เด็ก

Continue reading ทำอย่างไรให้ลูกแก้วลอย และเข็มลอยน้ำ