Category Archives: ภาษาไทย

ความฝืดมหาศาล กลเชือกไม่ยอมตกพื้น และของเล่นตัวไต่ราว

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องทำวงล้อภาพยนตร์อยู่ที่นี่ครับ)
 
วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมรวมกับกลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรมครับ  สำหรับอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับไม่ได้ไปสอนเพราะเป็นสัปดาห์สุดท้ายปิดภาคแล้ว วันนี้เรื่องความฝืดมหาศาล กลเชือกไม่ยอมตกพื้น และของเล่นตัวไต่ราวครับ
 
คนทั่วไปไม่ทราบว่าเวลาเราเอาเชือกไปพันหลัก (หรือพันนิ้ว พันดินสอ ฯลฯ) ความฝืดที่เชือกทำกับหลักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากเมื่อเราเพิ่มจำนวนรอบที่เราพันเชือก วันนี้เรามาทำการทดลองและเล่น”กล”ที่อาศัยหลักการนี้กันครับ นอกจากนี้เด็กๆยังได้ประดิษฐ์ของเล่นไต่ราวที่อาศัยการสั่นและความฝืดระหว่างพลาสติกกับหนังยางด้วยครับ
 
ผมถามเด็กว่ารู้จักความฝืดไหม เด็กๆหลายๆคนก็บอกว่ามันคือแรงเสียดทานใช่ไหม ผมก็บอกว่าใช่แล้วเป็นเรื่องเดียวกัน วันนี้เราจะมาเล่นกับความฝืดกัน
 
เริ่มแรกผมก็เอาเชือกยาวประมาณสองฟุต มาถ่วงด้วยดินน้ำมัน (มาชั่งทีหลังว่าน้ำหนัก 32 กรัม) แล้วก็เอาเชือกไปพาดนิ้ว พอปล่อยปลายเชือกข้างที่ไม่มีดินน้ำมัน ดินน้ำมันก็ถ่วงและดึงเชือกตกลงสู่พื้น ตามที่ทุกคนคิดอยู่แล้ว
 
พาดนิ้วแบบนี้ครับ ถ้าปล่อยมือขวา เชือกและดินน้ำมันก็ตกลงพื้นตามคาด

Continue reading ความฝืดมหาศาล กลเชือกไม่ยอมตกพื้น และของเล่นตัวไต่ราว

ทำวงล้อภาพยนตร์

 

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ http://kostuff.blogspot.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องจุดศูนย์ถ่วงและกลเลี้ยงส้อมด้วยไม้จิ้มฟันอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องทำวงล้อภาพยนตร์ครับ

เนื่องจากในสัปดาห์หน้าจะมีวิทยากรที่มาสอนเด็กๆเรื่องการทำภาพยนตร์แบบ Stop-Motion วันนี้ผมเลยมาปูพื้นเด็กๆเรื่องภาพยนตร์และทำไมเราจึงเห็นภาพเคลื่อนไหวได้ครับ ผมไปหาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นหรือกิจกรรมที่จะเอามาเล่นกับเด็กๆได้ แล้วบังเอิญไปพบขุมสมบัติที่ http://www.sciencetoymaker.org/ ครับ ถ้าว่างๆลองเข้าไปดูนะครับ มีของเล่นที่เด็กๆประดิษฐ์เองได้มากมาย น่าสนใจมากๆครับ

ก่อนที่จะเข้าเรื่องวันนี้ ผมเอาวิดีโอจาก Science Toy Maker มาให้เด็กๆดูครับ เป็นเรื่องเครื่องร่อนทำจากโฟมที่เราสามารถบังคับให้ลอยได้ด้วยแผ่นกระดาษแข็งแผ่นใหญ่ๆ หรือถ้าชำนาญแล้วสามารถบังคับได้ด้วยศีรษะหรือฝ่ามือครับ!  ผมบอกเด็กๆว่าเราจะหาทางทำกันในอนาคต:

Continue reading ทำวงล้อภาพยนตร์

จุดศูนย์ถ่วงและกลเลี้ยงส้อมด้วยไม้จิ้มฟัน

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องสนุกกับเบคกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู อยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องจุดศูนย์ถ่วงและเล่นเลี้ยงส้อมให้สมดุลครับ วันนี้เด็กจากทั้งสองกลุ่มบ้านเรียนเข้ามาเรียนรวมกันที่ปฐมธรรมครับ

เด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมอยากทำเครื่องร่อนกันครับ เขาได้เริ่มเอาโฟม เอาฟิวเจอร์บอร์ด เอาไม้บัลซามาตัดกันเป็นรูปร่างเครื่องร่อนกันแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังร่อนไม่ได้ วันนี้ผมเลยเลือกหัวข้อจุดศูนย์ถ่วงมาพูดให้เขาฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบเครื่องร่อนกันได้ดีขึ้น

ผมเริ่มด้วยการถามเด็กๆว่าจำเรื่องความเฉื่อยได้ไหม เราเคยทำการทดลองเกี่ยวกับความเฉื่อยไปบ้างแล้ว วัตถุต่างๆต่างก็มีความเฉื่อย คือความที่มันไม่อยากเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน ถ้ามันหยุดนิ่งอยู่มันก็จะหยุดนิ่งไปตลอดถ้าไม่มีอะไรไปออกแรงใส่มัน ถ้ามันเคลื่อนที่อยู่มันก็ไม่อยากหยุดหรือเลี้ยวถ้าไม่มีแรงอะไรไปเบรกหรือเลี้ยวมัน เราเรียกปริมาณความเฉื่อยของวัตถุว่ามวล (เราเคยทำการชั่งน้ำหนักวัดมวลไปแล้วในอดีต) ยกตัวอย่างเช่นมวลของผมเยอะกว่ามวลของเด็กๆ ถ้าเรานั่งอยู่เฉยๆแล้วจะมีใครมาผลักให้ขยับ จะต้องใช้แรงผลักผมมากกว่าแรงผลักเด็กๆเยอะเลย หรือรถจักรยานมีมวลน้อยกว่ารถสิบล้อ ผมถามว่าถ้ามีรถจักรยานและรถสิบล้อวิ่งมาเร็วเท่าๆกัน แล้วเราจะถูกชน ควรถูกชนด้วยจักรยานหรือสิบล้อ เด็กๆก็เข้าใจว่าถูกจักรยานชนดีกว่าสิบล้อ เพราะความแรงในการชนมันเบากว่าเยอะ

คราวนี้มันมีกฏเกณฑ์ธรรมชาติอีกอันว่าวัตถุที่มีมวลจะดึงดูดซึ่งกันและกันด้วยแรงที่เราเรียกว่าแรงโน้มถ่วง แม้แต่ตัวเด็กๆและตัวผมก็มีแรงโน้มถ่วงดึงดูดกัน แต่มีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับแรงโน้มถ่วงที่โลกดึงดูดเราทุกคนให้ติดผิวโลกอยู่ น้ำหนักของเราแต่ละคนก็คือแรงที่โลกดูดเราอยู่นั่นเอง แรงโน้มถ่วงจะอ่อนลงเมื่อระยะระหว่างวัตถุห่างกันมากขึ้น ถ้าเราออกไปในอวกาศไกลๆโลก น้ำหนักเราก็จะน้อยลง เพราะแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเราได้น้อยลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น

ผมออกนอกเรื่องไปหน่อยเกี่ยวกับอุกกาบาตที่มาชนโลกแล้วทำให้ไดโนเสาร์ล้มหายตายจากไป คือผมบอกว่าในอวกาศก็มีก้อนหินที่ลอยไปลอยมา ก้อนหินเหล่านี้มีมวล ดังนั้นมันจึงดึงดูดกับโลกด้วย ถ้าความเร็วของก้อนหินมันพอดีๆ มันก็อาจตกลงมาโดนโลกได้ ถ้าความเร็วไม่พอดีก้อนหินก็อาจจะเข้ามาเฉียดๆโลก (แบบห่างได้เป็นหมื่นเป็นแสนกิโลเมตร) แล้วก็เลี้ยวไปทางอื่นไม่ได้ตกลงบนโลกพอดี  เจ้าก้อนหินที่ตกลงมาเมื่อ 65 ล้านปีก่อนที่ฆ่าไดโนเสาร์นั้น มีขนาดกว้างยาวสูงสักสิบกิโลเมตรได้ (จริงๆเราควรเรียกมันว่าภูเขามากกว่า) พอตกลงมาจากที่ไกลๆแรงโน้มถ่วงของโลกจึงทำให้มันตกลงมาเร็วมาก ความเร็วตอนเข้าชนโลกคงจะประมาณ 20-30 เท่าความเร็วเสียง หรือประมาณสัก 30,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พอชนโลกจึงเกิดมหันตภัยตายหมู่กันยกใหญ่ Continue reading จุดศูนย์ถ่วงและกลเลี้ยงส้อมด้วยไม้จิ้มฟัน