Category Archives: ภาษาไทย

ปืนใหญ่ลม เล่นปิ้งงู

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้หัดทำปืนใหญ่ลม (Vortex Cannon) ที่อาศัยการผลักอากาศผ่านรูกลมๆ ให้อากาศไปโดนอากาศที่อยู่ด้านหน้าของรูทำให้เกิดการหมุนเป็นรูปโดนัทวิ่งออกไปได้ตรงและไกล เด็กประถมปลายได้เล่นปิ้งงูคือการตัดกระดาษเป็นรูปงูขด แล้ววางไว้บนปลายเข็มหรือดินสอแหลมๆ ให้กระดาษห้อยลงมาเป็นเกลียว เมื่อเอาไปอยู่เหนือที่ร้อนๆ อากาศร้อนที่ลอยตัวจะทำให้งูหมุนๆครับ เด็กอนุบาลสามได้เล่นปืนใหญ่ลมและเล่นเกมแข่งกันยิงเทียนให้ดับครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “แยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis of Water) ทำของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น ก่อนอื่นผมสอนวิธีทำปืนใหญ่ลมจากขวดน้ำพลาสติก ถุงมือยางหรือลูกโป่ง และหนังยางครับ เราต้องตัดก้นขวดน้ำออกด้วยคัตเตอร์หรือกรรไกร ขูดๆรอยตัดให้มันไม่แหลมหรือคมเกินไป แล้วเอาถุงมือยางหรือลูกโป่งมาปิดก้นโดยรัดด้วยหนังยางให้อยู่กับที่ครับ วิธีทำเหมือนที่ผมเคยถ่ายคลิปวิดีโอไว้กับเด็กจิ๋วครับ:

พอแสดงวิธีทำให้เด็กๆแล้ว ก็ให้เด็กๆหัดประดิษฐ์เองครับ พอเสร็จเด็กๆก็เอาไปเล่นยิงเป้ากระดาษกันใหญ่: Continue reading ปืนใหญ่ลม เล่นปิ้งงู

แยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis of Water) ทำของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้ดูการแยกน้ำเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนด้วยไฟฟ้า ได้เห็นว่าการสร้างไฮโดรเจนแบบนี้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก (ดังนั้นเอาไฟฟ้าไปใส่แบตเตอรี่แทนเลยดีกว่าที่จะสร้างไฮโดรเจนก่อน แล้วค่อยนำไปใช้อีกที) เด็กอนุบาลสามได้หัดประดิษฐ์และเล่นลูกดอกที่ทำจากหลอดกาแฟ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “พยายามทำให้คอปเตอร์กระดาษลอยนานๆ ด่างทับทิมกระจายตัว” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมให้ดูวิดีโออันนี้ว่าเราสามารถใช้ไฟฟ้าแยกให้น้ำ (H2O) กลายเป็นก๊าซไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) และปริมาตรก๊าซไฮโดรเจนก็มากกว่าออกซิเจนเป็นสองเท่าด้วยครับ โดยที่ไฮโดรเจนจะเกิดที่ขั้วลบ ออกซิเจนจะเกิดที่ขั้วบวก:

จากนั้นก็ดูคนที่เขาแยกน้ำแล้วเอาไฮโดรเจนใส่ถุงเป็นลูกโป่งสวรรค์ครับ: Continue reading แยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis of Water) ทำของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ

พยายามทำให้คอปเตอร์กระดาษลอยนานๆ ด่างทับทิมกระจายตัว

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้พยายามปรับแต่งของเล่นคอปเตอร์กระดาษให้ลอยอยู่ได้นานๆ เด็กประถมปลายได้ดูการแพร่กระจายของด่างทับทิมในน้ำเย็นและน้ำร้อน ได้คุยกันเรื่องความเร็วโมเลกุลและอุณหภูมิ และได้ดูการทดลองกับด่างทับทิมอีกสองอย่าง เด็กอนุบาลสามทับสองได้หัดประดิษฐ์ของเล่นคอปเตอร์กระดาษครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ลูกตุ้มเลื้อย สนุกกับสารเคมี คอปเตอร์กระดาษ” ครับ)

สัปดาห์นี้เด็กๆประถมต้นทดลองตัดและพับคอปเตอร์กระดาษด้วยขนาด สัดส่วน และชนิดกระดาษต่างๆกันครับ จุดมุ่งหมายคือพยายามทำให้คอปเตอร์หมุนและตกลงพื้นช้าที่สุด วิธีทำเบื้องต้นก็เริ่มด้วยกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าครับ ตัวอย่างขนาดแบบหมุนช้าๆก็เช่นเอากระดาษ A4 มาตัดตามขวาง 8 ชิ้นเท่าๆกันแล้วเอามาใช้ชิ้นหนึ่ง (ขนาดประมาณ 21 ซ.ม. x 3.7 ซ.ม.) ถ้าจะให้หมุนเร็วๆก็ขนาดเล็กลง เช่น 2 ซ.ม. x 5 ซ.ม. แล้วตัดดังในรูปต่อไปนี้ครับ

Continue reading พยายามทำให้คอปเตอร์กระดาษลอยนานๆ ด่างทับทิมกระจายตัว