Category Archives: science class

สร้างของเล่น Catapult (พลังงานศักย์ยืดหยุ่น)

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้สร้างของเล่น Catapult (อ่านว่าแค็ทตะพัลท์) ที่ใช้หลักการการเปลี่ยนรูปพลังงานศักย์ยืดหยุ่นในแท่งพลาสติกที่บิดงอเป็นพลังงานจลน์ของกระสุนลอยออกไปที่เป้า ได้เปรียบเทียบว่าแท่งพลาสติกสั้นและยาวอย่างไหนดีดได้แรงกว่ากัน และจำนวนแท่งพลาสติกมีผลต่อความแรงอย่างไร และได้เล่นยิงกระสุนให้ลอยตกลงบนกลองครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คลิปหุ่นยนต์ปลาหมึก เดาวิธีเล่นมายากล พลังงานศักย์ยืดหยุ่น รถไฟเหาะจำลอง” ครับ)

ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูคลิปการเล่นกลครับ ให้เห็นว่าส่ิงที่เราเห็นกับสิ่งที่เป็นจริงอาจจะไม่เหมือนกันเลยก็ได้ครับ เป็นการปลูกวัคซีนให้เด็กๆ โตไปจะได้ไม่ถูกผู้วิเศษทั้งหลายหลอก (ผู้วิเศษทั้งหลายเป็นนักเล่นกลทั้งนั้นครับ ส่วนใหญ่เล่นไม่เก่งด้วย เลยต้องมาหลอกชาวบ้านว่ามีเวทย์มนต์เป็นผู้วิเศษ) เวลาให้เด็กๆดู ให้หยุดแล้วถามเด็กๆว่าเห็นอะไรก่อนนะครับ แล้วค่อยเปิดส่วนที่เฉลยครึ่งหลัง:

หลังจากนั้นเราก็ประดิษฐ์และเล่นของเล่นที่เปลี่ยนพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเป็นพลังงานจลน์กัน (สืบเนื่องจากคราวที่แล้วที่เราคุยกันเรื่องพลังงานศักย์ยืดหยุ่นครับ) คลิปวิธีประดิษฐ์และเล่นคือนี่ครับ: Continue reading สร้างของเล่น Catapult (พลังงานศักย์ยืดหยุ่น)

สอนวิทย์มัธยม 1: สารละลาย เรียนวิทย์จากคลิปการสร้าง iPhone 7

สัปดาห์นี้เราเริ่มคุยกันเรื่องสารละลายครับ แต่ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูคลิปนี้ก่อนเลย:

เป็นคลิปที่คนเขาเอาฮีทซิงค์ (Heatsink) ที่ทำจากอลูมิเนียม (Al) มาทาแกลเลียม (Ga) แล้วหยดปรอท (Hg) ลงไปครับ

โลหะอลูมิเนียมปกติจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนกลายเป็นอลูมิเนียมออกไซด์ ( Al2O3) เป็นผิวบางๆเคลือบชิ้นอลูมิเนียมอยู่ ชั้นอลูมิเนียมออกไซด์จะป้องกันการกัดกร่อนได้ดี ถ้าเราหยดปรอทลงไปตอนนี้จะไม่เกิดอะไรขึ้น

ปรากฎว่าแกลเลียมจะวิ่งผ่านชั้นผิวอลูมิเนียมออกไซด์เข้าไปผสมกับเนื้ออลูมิเนียมได้ครับ พอเราหยดปรอทตามลงไป ปรอทก็วิ่งเข้าไปผสมกับอลูมิเนียมได้ ทำให้เกิด “อัลลอย” หรือโลหะผสมระหว่างอลูมิเนียมและปรอท เมื่อทิ้งไว้หลายๆชั่วโมงอลูมิเนียมและปรอทก็ผสมกันเป็นสารละลายที่เป็นของแข็ง มีความเปราะเอามือบีบให้แตกเป็นชิ้นๆได้เหมือนเส้นสปาเก็ตตี้แห้ง Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: สารละลาย เรียนวิทย์จากคลิปการสร้าง iPhone 7

คลิปหุ่นยนต์ปลาหมึก เดาวิธีเล่นมายากล พลังงานศักย์ยืดหยุ่น รถไฟเหาะจำลอง

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้ดูคลิปหุ่นยนต์ปลาหมึกที่นิ่มๆไม่มีส่วนแข็ง ส่วนวงจรตัดสินใจก็ทำด้วยท่อของเหลว ได้ดูมายากลและพยายามเดาว่าทำอย่างไรก่อนดูเฉลย ได้ดูการเปลี่ยนรูปทรงเป็นการเก็บพลังงานไว้ แล้วเปลี่ยนมาเป็นความเร็วได้ เด็กอนุบาลสามได้เล่นของเล่นรถไฟเหาะกันครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “หุ่นยนต์ปลากระเบน ยิงเป้าด้วยพลังงานศักย์” ครับ)

เด็กๆประถมได้ดูคลิปนี้ก่อนเลยครับ:

เป็นงานวิจัยสร้างหุ่นยนต์ที่ไม่มีชิ้นส่วนแข็งๆเลยครับ แม้แต่ส่วนวงจรสั่งการทำงานก็ใช้การไหลของของเหลว หน้าตาของมันคล้ายๆปลาหมึก ตอนนี้ยังว่ายน้ำไม่ได้ครับ วิธีการสร้างก็น่าสนใจ มีการพิมพ์สามมิติระบบต่างๆลงไป พลังงานไม่ได้มาจากแบตเตอรี่แต่ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อน โดยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ปล่อยก๊าซออกซิเจนเมื่อโดนแพลทินัม ก๊าซจะวิ่งไปตามท่อในตัวหุ่นยนต์ทำให้ส่วนต่างๆขยับครับ  รุ่นต่อๆไปคงเคลื่อนไหวได้ดีกว่านี้และมีเซนเซอร์ตรวจสภาพแวดล้อมรอบๆตัว (ถ้าสนใจให้ลองไปดูที่นี่นะครับ)

ในลิงก์เรื่องนี้มีวิดีโอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์โดนแพลทินัมด้วยครับ ผมให้เด็กๆเดาว่าจะข้างไหนจะมีปฏิกิริยามากกว่ากันก่อนจะดูครับ: Continue reading คลิปหุ่นยนต์ปลาหมึก เดาวิธีเล่นมายากล พลังงานศักย์ยืดหยุ่น รถไฟเหาะจำลอง