วิทย์ประถม: เล่นมัลติมิเตอร์, เผาเหล็กเป็นเชื้อเพลิง, วิทย์อนุบาลสาม: เล่นมอเตอร์ง่ายๆ

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้หัดใช้มัลติมิเตอร์วัดความต่างศักย์ของถ่านไฟฉายต่างๆ ทดลองต่อถ่านแบบอนุกรมเพื่อให้ไฟ LED สว่างและให้เห็นว่าความต่างศักย์บวกกัน เด็กประถมปลายได้ดูการเผาเหล็กเป็นเชื้อเพลิงด้วย เด็กๆอนุบาลสามทำมอเตอร์ง่ายๆจากถ่านไฟฉาย ตะปูเกลียว แม่เหล็ก

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลเหล่านี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลัง แล้วดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อน วันนี้คือกลเดินบนน้ำ:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ

ผมสอนเด็กๆประถมให้รู้จักใช้มัลติมิเตอร์วัดความต่างศักย์ของถ่านไฟฉายต่างๆ เด็กๆรู้จักว่าหน่วยของความต่างศักย์คือโวลท์ รู้จักการต่อถ่านไฟฉายแบบอนุกรม (series) เพื่อเพิ่มความต่างศักย์ เด็กๆเห็นว่าไฟ LED ต้องใช้ถ่าน 1.2 หรือ 1.5 โวลท์สองก้อนมาต่อกันแบบอนุกรมถึงจะเพียงพอปล่อยแสงได้

เด็กๆแยกย้ายกันทดลองครับ:

สำหรับประถมปลาย ผมทดลองเผาเหล็กให้ดูด้วย เพราะมีข่าวว่าโรงเบียร์ในเนเธอร์แลนด์ใช้ผงเหล็กเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม สาเหตุที่เขาทำอย่างนี้ก็เพราะว่าเมื่อเหล็กอยู่ในรูปทรงที่มีพื้นที่ผิวมากๆเช่นผงหรือเส้น จะสามารถรวมตัวกับออกซิเจนเกิดการเผาไหม้ให้อุณหภูมิสูงเป็นเชื้อเพลิงได้ เมื่อเผาไหม้เสร็จจะได้สนิม ซึ่งสามารถนำพลังงานหมุนเวียนเช่นจากลมหรือแสงแดดมาแยกสนิมให้เป็นเหล็กและออกซิเจน แล้วนำเหล็กมาเป็นเชื้อเพลิงอีกได้ เหล็กทำหน้าที่เก็บพลังงานหมุนเวียนให้อยู่ในรูปที่นำมาใช้ได้ เป็นแหล่งเก็บพลังงาน ทำนองเดียวกับเป็นแบ็ตเตอรี่แบบหนึ่ง:

สำหรับเด็กๆอนุบาลสาม ผมให้เล่นโฮโมโพลาร์มอเตอร์ที่ทำจากแม่เหล็ก ตะปูเกลียว และฟอยล์อลูมิเนียมครับ วิธีทำดังในคลิป:

แล้วเด็กๆก็ลองเล่นครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.