วิทย์ม.ต้น: ความรุนแรงในมนุษยชาติ, เล่นลูกแก้วชนกัน, ลูกแก้วแทนรถไฟเหาะ (พลังงานศักย์/พลังงานจลน์)

วันนี้เราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ:

1. เราดูคลิปน่าสนใจก่อนเวลาเรียนเช่นทำไมไฟบ้านเป็นกระแสสลับ:

บินเหมือน Iron Man:

ตัวอย่างหุ่นยนต์ในงานหุ่นยนต์ที่ประเทศจีน:

2. คุยกันถึงบท “เลือดสีแดงบนหญ้าเขียว” จากหนังสือปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล เรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในตัวเราและธรรมชาติ

3. ทำไมการทะเลาะกันบางเรื่องเช่นเรื่องการเมืองและศาสนาจึงมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากๆหรือความรุนแรง (เพราะเราที่เป็นสัตว์สังคม ชอบคิดแบบเผ่า และการเมืองและศาสนาเป็นสิ่งที่รวมคนเป็นเผ่า) ผมเคยคุยเรื่องนี้ใน ThaiPBS Podcast ครับ

4. อยากแนะนำให้เด็กๆดูคลิป “โลกของเรากำลังจะดีขึ้นหรือแย่ลง ลองมาดูตัวเลขกัน” (Is the world getting better or worse?) โดย Steven Pinkerครับ วันนี้เราไม่ได้ดูเพราะต้องแบ่งเวลาเล่นลูกแก้ว

5. เราเล่นกับลูกแก้วสองแบบ แบบแรกคือเล่นปล่อยลูกแก้วชนกันหลายๆขั้นตอนแต่ให้โดนเป้าที่เป็นลูกแก้วลูกสุดท้ายเสมอ

เราอาศัยปรากฏการณ์ที่เมื่อมีวัตถุทรงกลมแข็งผิวเรียบ (เช่นลูกแก้ว) ขนาดเท่าๆกันสองลูกวางติดกันอยู่ ถ้ามีอะไรมาชนลูกใดลูกหนึ่ง อีกลูกจะกระเด็นออกไปในแนวเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของทรงกลมทั้งสองลูก ดังนั้นถ้าเราเรียงแนวเส้นตรงที่ผ่านจุดศูนย์กลางของลูกบอลแต่ละคู่ เราสามารถบังคับทิศทางการกระเด้งไปที่เป้าที่เราต้องการได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเล็งอะไรมากมาย ตราบใดที่มีการชนที่แรงมากพอ:

6. การเล่นกับลูกแก้วแบบที่สองคือเล่นรถไฟเหาะตีลังกา เอาสายพลาสติกใสมาสมมุติว่าเป็นราง เอาลูกแก้วมาสมมุติว่าเป็นรถไฟ แล้วปล่อยลูกแก้วในสายพลาสติกจากที่สูงๆ เด็กๆสังเกตว่าลูกแก้วจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อตกลงสู่ที่ต่ำ เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นพลังงานจลน์ (ผมเคยบันทึกคำอธิบายที่ละเอียดขึ้นอยู่ที่ “จำลอง “รถไฟเหาะ” การเปลี่ยนรูปพลังงานระหว่างศักย์และจลน์” ครับ)

คลิปจากวันนี้ครับ:

คลิปสโลโมชั่นจากในอดีตครับ:

บรรยากาศกิจกรรมวันนี้ครับ:

กิจกรรมม.ต้นเล่นลูกแก้ววันนี้ครับ

Posted by Pongskorn Saipetch on Wednesday, October 21, 2020

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.