วิทย์ม.ต้น: ล็อตเตอรี่, พิธีกรรม(และความงมงาย)ในคนและนกพิราบ, คำนวณและทดลองแม่แรงไฮดรอลิกส์หลอดฉีดยา

วันนี้เราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ

1. เมื่อวานล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 ออกเลข 999997 ทำให้คนพูดคุยตื่นเต้นกันว่าเลขมันดูสวยผิดปกติ บางคนคิดไปถึงว่ามีการล็อคเลข วันนี้เราเลยคุยกันว่าเราตื่นเต้นเพราะเราเห็นว่าเลขมันดู “สวย” มากกว่า แต่จริงๆแล้วเลขหกหลักแต่ละตัวก็ออกมายากเท่าๆกัน เพียงแต่ว่าเลขอื่นเราคิดว่ามันไม่ “สวย” เท่านั้นเอง

2. มีลิงก์สองอันแนะนำให้เด็กๆไปอ่านดูครับ:

อะไรคือตัวเลข “สุ่ม”? ลองนึกตัวเลขโดยสุ่มขึ้นมาหกหลัก มีใครบ้างที่คิดว่าตัวเลขนั้นจะออก 999997? คงจะไม่มี…

Posted by มติพล ตั้งมติธรรม on Tuesday, September 1, 2020

และที่นี่:

“มีโอกาสเท่าไรที่รางวัลที่ 1 จะออกเลข 999997” . น่าจะเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลาย ๆ คนในวันนี้ . ประการแรก…

Posted by คณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น on Tuesday, September 1, 2020

3. ให้เด็กๆเข้าใจว่าโอกาสหนึ่งในล้านที่จะถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 มันยากแค่ไหนโดยให้เด็กๆเข้าใจว่าถ้าเอาแบ็งค์ร้อยหนึ่งล้านใบไปปูสนามฟุตบอลได้พอดีๆ จะมีใบเดียวเท่านั้นที่ถูกรางวัลที่หนึ่ง อีกอย่างคือให้เคาะโต๊ะวินาทีละครั้ง ถ้าจะเคาะให้ครบล้านครั้งแบบไม่หลับไม่นอนไม่หยุดพักจะต้องเคาะไป 11 วันกว่าๆ (ถ้าเคาะแค่ 8 ชั่วโมงต่อวันก็ต้องเคาะไปเดือนนิดๆ)

4. ล็อตเตอรี่ประเทศไทยจ่ายรางวัลคืนมาประมาณ 60% เท่านั้น แสดงว่าเราไม่ควรหวังว่าเราจะได้ผลตอบแทนมากกว่าที่เราซื้อล็อตเตอรี่ ไม่ควรหวังรวยจากการนี้ แต่ถ้าซื้อเพราะมีความสุขได้ลุ้นก็ถือว่าเป็นการจ่ายเงินซื้อความสุขไป แต่อย่าลืมตัวคาดว่าจะรวยเพราะซื้อล็อตเตอรี่

5. เราคิดว่าการรวยจากล็อตเตอรี่ง่ายหรือเกิดบ่อยกว่าที่เป็นจริงๆเพราะว่าเราจะได้ยินข่าวคนที่ถูกรางวัลแล้วรวยเท่านั้น เราจะไม่ค่อยคิดถึงคนหลายแสนคนแต่ละงวดที่ไม่ถูกรางวัล

6. เราคุยกันเรื่องพิธีกรรมและความงมงายเกิดขึ้นได้อย่างไร สรุปคือสมองเราพยายามเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ หลายๆครั้งจะทำงานผิดพลาด เชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันหรือที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลเข้าด้วยกันได้ เช่นถ้าสิ่งดีๆ เกิดขึ้นเมื่อเรามีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ได้เป็นเหตุแห่งสิ่งนั้นๆ เช่นใส่เสื้อตัวหนึ่ง เราก็อาจคิดว่าเสื้อตัวนั้นเป็นเสื้อโชคดีของเรา หรือเราไหว้บูชาอะไรบางอย่างแล้วมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นเราก็อาจคิดว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธ์ดลบันดาลให้เรา

7. ความสามารถของสมองในการเชื่อมโยงเรื่องต่างๆนี้มีประโยชน์ในเชิงวิวัฒนาการ การพยายามหารูปแบบเชื่อมโยงมีประโยชน์ในการเรียนรู้ต่างๆ แต่ถ้าทำมากไปและไม่ตรวจสอบก็อาจเกิดโทษได้

8. มีการทดลองเรื่องพิธีกรรมในนกพิราบเมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์มีเครื่องให้อาหารนก โดยเครื่องจะให้อาหารที่เวลาสุ่มๆ ไม่แน่นอน ถ้าอาหารออกมาตอนนกทำพฤติกรรมอะไรบางอย่างอยู่ นกตัวนั้นก็มักจะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ ซึ่งมันอาจจะคิดว่านำอาหารมาให้มันก็ได้เหมือนเป็นพิธีกรรมหรือความงมงายของมัน (พฤติกรรมที่นกทำมีหลายแบบในแต่ละตัวเช่นหมุนตัวในทิศทางต่างๆ จิกสิ่งต่างๆ ยกหัวขึ้นลง) อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่หรือที่นี่นะครับ

9. วันนี้เด็กๆรู้จักและเล่นเครื่องทุ่นแรงไฮดรอลิกส์ทำจากหลอดฉีดยาครับ วิธีทำและบรรยากาศการทดลองอยู่ในคลิปและอัลบั้มด้านล่างครับ:

วันนี้เด็กๆม.ต้นได้รู้จักและเล่นเครื่องทุ่นแรงไฮดรอลิกส์ทำจากหลอดฉีดยาครับ

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, September 1, 2020

10. แนะนำให้เด็กๆดูคลิปเครื่องอัดไฮดรอลิกส์บีบอัดของต่างๆครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.