วิทย์ม.ต้น: หัดคำนวณปฏิทินจักรวาล (Cosmic Calendar) เอง

วันนี้เด็กๆม.ต้นรู้จักปฏิทินจักรวาล (Cosmic Calendar) ที่ย่อเวลาตั้งแต่จักรวาลเริ่มจนถึงปัจจุบันให้อยู่ในปีเดียว

อายุของจักรวาลที่คำนวณจากอัตราการขยายตัวของจักรวาลจะเท่ากับประมาณ 13,800 ล้านปี

ถ้าย่อเวลา 13,800 ล้านปีให้เหลือปฎิทิน 1 ปี แต่ละเดือนในปฎิทินจะเท่ากับพันกว่าล้านปีนิดๆ แต่ละวันในปฏิทินเท่ากับเกือบๆ 40 ล้านปี แต่ละวินาทีในปฏิทินจะเท่ากับสี่ร้อยกว่าปี

อายุขัยของคนเท่ากับ 100 ปี เท่ากับเวลา 0.23 วินาทีในปฏิทิน หรือหนึ่งกระพริบตา ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอยู่ภายในนาทีสุดท้ายของปฏิทิน

เราเรียนรู้เรื่องนี้เพื่อจะได้เข้าใจเวลานานๆในประวัติของจักรวาล และจะได้เห็นว่าเผ่าพันธุ์เราพึ่งมาได้แป๊บเดียวเมื่อเทียบกับเวลาทั้งหมด

จากนั้นเด็กๆหัดคำนวณแปลงเวลาจริงๆกับเวลาในปฏิทินด้วยสเปรดชีต Google Sheets หรือ Excel

ตัวอย่าง Google Sheets มีให้ดูที่นี่ครับ

การบ้านคือให้เด็กๆใส่เหตุการณ์ที่เด็กๆสนใจไว้ในสเปรดชีตของตนเองสัก 10-20 เหตุการณ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.