วิทย์ม.ต้น: Affect Heuristic, Xenobots, วัดตำแหน่งในวิดีโอด้วย Tracker

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง affect heuristic จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่ให้เราสังเกตว่าเรามักจะตัดสินใจเรื่องต่างๆจากความรู้สึกและอารมณ์ที่เรื่องเหล่านั้นทำให้เกิดในใจเรา โดยมักจะไม่คิดพิจารณาข้อดีข้อเสียต่างๆโดยละเอียด เช่นบางคนได้ยินคำว่า GMO ก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องร้ายๆไปก่อนที่จะพิจารณาเพิ่มเติม

ดู Rolf Dobelli อธิบายครับ:

ผมให้เด็กๆดูคลิปเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สร้างจากเซลล์กบ นับว่าเป็นหุ่นยนต์มีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นตัวแรกก็ได้ครับ เรียกว่า xenobot:

เจ้า xenobot เกิดจากการออกแบบโดยอาศัย genetic algorithm ซึ่งเป็นวิธีจำลองการคัดเลือกพันธุ์ในธรรมชาติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อคัดเลือกพันธุ์ในคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วว่าควรมีหน้าตาส่วนประกอบอย่างไร ก็เอาแบบจากคอมพิวเตอร์มาสร้างโดยเอาเซลล์มาประกอบกัน สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ A scalable pipeline for designing reconfigurable organisms นะครับ

เด็กๆควรดูสรุปเรื่องการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่นี่นะครับ:

จากนั้นดูเรื่อง genetic algorithm ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการวิวัฒนาการหาคำตอบน่าสนใจต่างๆ รวมถึงออกแบบเจ้า xenobot ด้วย:

ถ้าสนใจจะเขียนโปรแกรมเพื่อทำ genetic algorithm ด้วยไพธอนให้ลองดูลิงก์ AI with Python – Genetic Algorithms ครับ

เวลาที่เหลือเราหัดใช้โปรแกรม Tracker เพื่อวัดระยะทาง ความเร็ว ความเร่งในวิดีโอคลิปต่างๆของเรากันครับ เป็นโปรแกรมฟรี open source และมีบน Windows, macOS, Linux

ผมเคยบันทึกตัวอย่างการใช้ไว้ที่นี่ครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.