วิทย์ม.ต้น: Twaddle Tendency, Collective Learning, สร้างตารางตรีโกณมิติเพื่อวัดระยะทาง

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง twaddle tendency จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่คนพูดมากๆใช้คำยากๆอาจเกิดจากความคิดที่สับสน และเราควรพยายามสื่อสารให้เรียบง่ายและตรงประเด็น

ผมยกตัวอย่าง Sokal Affair ที่นักวิจัยเขียนบทความมั่วๆใช่คำยากๆส่งไปให้วารสารด้าน postmodern cultural studies ตีพิมพ์ ชื่อบทความว่า “Transgressing the Boundaries: Towards a Transformative Hermeneutics of Quantum Gravity” เป็นตัวอย่างของบางวงการที่ไม่สามารถแยกแยะความจริงความเท็จได้ จึงใช้ twaddle tendency เป็นหลัก

จากนั้นเราก็คุยกันเรื่อง collective learning ของมนุษย์ ซึ่งก็คือการสามารถบันทึกและส่งต่อการเรียนรู้ต่างๆให้แก่กันและกันได้ ทำให้สามารถพัฒนาอย่างรวดเร็ว  เป็นส่วนหนึ่งของ threshold 6 ของ Big History Project ครับ 

คลิปการวิวัฒนาการของมนุษย์:

จากนั้นเด็กๆก็ทำการแก้ปัญหาวัดระยะต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยคราวนี้เราพยายามวัดอัตราส่วนระยะสูงต่อระยะฐานของสามเหลี่ยมมุมฉากที่เราขยับมุมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อจะได้เอาข้อมูลนี้เก็บไว้เทียบกับเวลาเราวัดระยะทางโดยการเล็งไปที่เป้าหมายจากสองที่โดยที่แต่ละที่จะมีมุมเล็งต่างกันครับ เราทำโดยวาดเส้นตรงที่มุมต่างๆจากมุมกระดาษ A4 แล้ววัดระยะเอา:

เด็กๆนั่งวาดมุมและวัดระยะทางกัน:

หน้าตาภาพที่ได้จะเป็นประมาณนี้ครับ:

ข้อมูลที่วัดมาได้หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ ในที่สุดก็คือค่า tangent ของมุมต่างๆนั่นเอง:

One thought on “วิทย์ม.ต้น: Twaddle Tendency, Collective Learning, สร้างตารางตรีโกณมิติเพื่อวัดระยะทาง”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.