ลิงก์เรื่องรถไฟฟ้า (Battery Electric Vehicles)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องรถพลังไฟฟ้าเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. รถไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และแบตเตอรี่ (BEV = Battery Electric Vehicle) มีมานานพอๆกับรถเครื่องยนต์แบบที่เราคุ้นเคย แต่ข้อจำกัดด้านแบตเตอรี่ที่หนักและจุพลังงานได้น้อยทำให้รถใช้เครื่องยนต์แพร่หลายกว่ามากๆในเกือบๆร้อยปีที่ผ่านมา
  2. เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่รวมถึงความรู้หลายๆอย่างที่ดีขึ้นทำให้สามารถผลิตรถไฟฟ้าได้ดีในราคาใกล้เคียงรถเครื่องยนต์แล้ว
  3. ข้อดีของรถไฟฟ้าคือ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ชิ้นส่วนน้อยทำให้พังยากขึ้น สมรรถนะดีแรงบิดสูงตั้งแต่เริ่มเร่งความเร็ว เสียงเงียบ ความร้อนน้อยกว่า ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตรต่ำกว่า
  4. ข้อเสียคือ ระยะทางต่อการชาร์จยังน้อยกว่าเติมน้ำมันเต็มถัง สถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีน้อย เวลาที่ใช้ชาร์จนานกว่าเติมน้ำมันมาก
  5. ประเทศไทยเก็บภาษีแบตเตอรี่สูง ทำให้ผู้ผลิตในประเทศสร้าง BEV แข่งขันได้ยาก
  6. รถ Hybrid ที่มีเครื่องยนต์เผาไหม้น้ำมัน + มอเตอร์ + แบตเตอรี่แต่ไม่มีปลั๊กชาร์จ จะได้พลังงานการขับเคลื่อนทั้งหมดจากน้ำมันที่เติมเข้าไป ส่วนแบตเตอรี่เป็นตัวเสริมเก็บพลังงานตอนเบรคเท่านั้น จริงๆไม่น่าจะจัดรวมอยู่ในประเภทรถไฟฟ้าเท่าไรนัก
  7. มีรถที่ไม่ใช้แบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้า แต่ใช้เทคโนโลยีอื่นเก็บเช่นใช้ flywheel, super capacitor, และ hydrogen fuel cell เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่พัฒนาเท่ากับแบตเตอรี่ ทำให้ต้นทุนยังสูงกว่า
  8. รถพวกที่ใช้ไฮโดรเจนยังต้องพึ่งการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติเพื่อแปลงมีเธนเป็นไฮโดรเจน ถ้าจะแยกน้ำเป็นไฮโดรเจนก็ต้องใช้พลังงานมาก พลังงานเหล่านั้นเอาไปป้อนแบตเตอรี่โดยตรงดีกว่า นอกจากนี้การเก็บและขนส่งไฮโดรเจนยังมีราคาสูง
  9. การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้ไฟฟ้าจะมีผลลดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการใช้รถส่วนตัว ควรพัฒนาระบบให้สะดวกและปลอดภัย

ลิงก์น่าสนใจ:

ตัวอย่างการทำงานของรถไฟฟ้า:

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่รถไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้:

เปรียบเทียบผลกระทบก๊าซเรือนกระจกระหว่างรถไฟฟ้าและรถเครื่องยนต์:

ข้อจำกัดของไฮโดรเจนในปัจจุบัน:

ตัวอย่างรถไฟฟ้าขนาดเล็กๆราคาถูก:

ตัวอย่างผู้ผลิตรถไฟฟ้าต่างๆในโลก: 6 of 10 Big Electric Car Companies Are in China

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.