วิทย์ม.ต้น: Beginner’s Luck, กำเนิดดวงดาว, ประดิษฐ์แฟรงคลินเบลล์

วันนี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง beginner’s luck จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เราต้องระวังว่าบางครั้งเมื่อเราเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆแล้วเราได้ผลดีเกินคาด ให้ดูว่าผลดีนั้นเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากโชคดีแล้วเราทำซ้ำๆอีกเราอาจจะไม่ประสบความสำเร็จแบบเดิมก็ได้

เราได้คุยกันว่าการที่นักกีฬาแข่งขันกัน 2 ใน 3 เกม, 3 ใน 5 เกม, 4 ใน 7 เกม, ฯลฯ นั้นก็เพื่อจะลดโอกาสแพ้ของนักกีฬาที่เก่งกว่า เพราะยิ่งเกมที่แข่งน้อยโอกาสที่นักกีฬาที่เป็นรองฟลุ้คกลับมาชนะก็มีมากขึ้น และเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกับว่าถ้าเราไปเล่นพนันในบ่อน (บ่อนได้เปรียบ เราเสียเปรียบ) ยิ่งถ้าเราแบ่งเงินเป็นก้อนเล็กๆแล้วเล่นหลายๆครั้งโอกาสที่จะชนะได้กำไรก็ยิ่งน้อย (แต่จริงๆเราไม่ควรไปเล่นพนันในบ่อนตั้งแต่ต้นเพราะโดยปกติเราจะเสียเปรียบเอาเงินไปให้บ่อนอยู่แล้ว)

เราได้พูดคุยกันเรื่องการเกิดดาวฤกษ์ (Stars) อันเป็น threshold อันที่สองใน Big History Project

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของดวงดาวครับ:

เราได้คุยกันเรื่องว่าธาตุต่างๆในตัวเรามาจากการตายของดวงดาว ดูแหล่งที่มาของธาตุต่างๆดังรูปและลิงก์เหล่านี้:

จาก http://blog.sdss.org/2017/01/09/origin-of-the-elements-in-the-solar-system/
จาก https://www.forbes.com/sites/startswithabang/2017/12/18/astrophysics-reveals-the-origin-of-the-human-body/

สำหรับเวลาที่เหลือ เด็กๆประดิษฐ์แฟรงคลินเบลล์ (Franklin’s Bell หรือ ป๋องแป๋งไฟฟ้า) แบบต่างๆตามใจครับ:

บรรยากาศการประดิษฐ์ครับ (อัลบั้มเต็มอยู่ที่นี่นะครับ):

ผมเคยเขียนอธิบายการทำงานต่างๆของของเล่นแบบนี้ไว้ที่ “ดูวิดีโอแขนขาไฟฟ้าเทียม ไม้แปะยุง=ฟ้าผ่าจิ๋ว กลจากไฟฟ้าสถิต” แล้วครับ ถ้าสนใจเข้าไปดูได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.