วิทย์ม.ต้น: Self-Serving Bias, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ฝีมือหรือโชค

วันนี้เด็กๆเรียนเรื่อง self-serving bias จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เรามักจะคิดว่าตัวเราดีหรือเก่งมากกว่าเป็นจริง เวลาประสบความสำเร็จต่างๆมักให้เครดิตความสามารถตัวเอง เวลาประสบความล้มเหลวมักโทษปัจจัยภายนอก และไม่เข้าใจผลกระทบจากโชคและสิ่งรอบตัวที่ไม่ได้ควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ครับ

เด็กๆได้ฟังเรื่องฝีมือหรือโชคนิดหน่อย คือเราต้องมีทั้งฝีมือและโชคดีด้วย ฝีมือเราฝึกได้ โชคดีเกิดจากเลือกไปอยู่ในสถานการณ์ที่ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเป็นบวกบ่อยๆและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเป็นลบครับ และพยายามอย่าตายหรืออย่าเจ๊งหมดตัวในการเสี่ยงแต่ละครั้งครับ เพิ่มเติมที่

จากนั้นเด็กๆก็วัดคาบการแกว่งลูกตุ้มความยาว 25, 100, 225 เซ็นติเมตรครับ โดยทำการจับเวลากันหลายๆคนพร้อมๆกัน ให้เด็กๆเห็นว่าการวัดต่างๆของเราจะมีความคลาดเคลื่อนบ้างเสมอๆ และหัดคำนวณค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของสิ่งที่เราวัดมาครับ

หน้าตากระดานเราวันนี้ครับ

ข้อมูลคาบที่เราวัดกันมา (รวมข้อมูล 400 ซ.ม. จากสัปดาห์ที่แล้วด้วย)

ความยาวลูกตุ้ม (ซ.ม.)คาบ (วินาที)
251.01 ± 0.03
1002.01 ± 0.02
2253.00 ± 0.02
4004.01 ± 0.02

จากคาบที่วัดได้ เรามาหาค่า g (ค่าความเร่งจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวโลก) ได้ 9.83 ± 0.01 ซึ่งคลาดเคลื่อนจากค่ามาตรฐานที่วัดในประเทศไทยประมาณครึ่งเปอร์เซ็นต์ครับ

ค่า g จากการทดลองของเราเท่ากับประมาณ 9.82 ± 0.01 เมตรต่อวินาทีกำลังสองครับ

เด็กๆได้เห็นความสัมพันธ์คาบกำลังสองแปรผันกับความยาวลูกตุ้มด้วยครับ คือถ้าคาบเพิ่มขึ้นสองเท่าความยาวจะเพิ่มขึ้นสี่เท่า ถ้าคาบเพิ่มขึ้นสามเท่าความยาวจะเพิ่มขึ้นเก้าเท่า ถ้าคาบเพิ่มขึ้นสี่เท่าความยาวจะเพิ่มขึ้นสิบหกเท่าครับ

อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมวิทย์อยู่ที่นี่นะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.