วิทย์ม.ต้น: เด็กๆหาทางวัดปริมาณอากาศที่ร่างกายใช้ตอนออกกำลังกาย

วันนี้ผมแนะนำเด็กใหม่มัธยมต้นให้รู้จักหนังสือ  The Art of Thinking Clearly ซึ่งเขียนโดยคุณ Rolf Dobelli โดยเราจะอ่านเรื่องเกี่ยวกับ Cognitive Biases (การทำงานของสมองพวกเราที่อาจทำให้เราเข้าใจความจริงรอบๆคลาดเคลื่อนไป) โดยเด็กๆจะอ่านกันสัปดาห์ละบทเป็นการบ้านเพื่อเข้าใจเนื้อหาและฝึกหัดการใช้ภาษาอังกฤษไปด้วย (เด็กรุ่นที่แล้วเคยรู้จักกันไปที่ https://witpoko.com/?p=5805 ครับ)

จากนั้นเด็กๆก็พยายามออกแบบการทดลองเพื่อหาว่าเมื่อเราออกกำลังกาย เราต้องหายใจมากกว่าปกติมากแค่ไหน เด็กๆคุยและตกลงกันว่าขั้นตอนการทดลองจะเป็นอย่างไร ในที่สุดก็ตกลงกันว่าจะวัดปริมาณอากาศที่ใช้หายใจและชีพจรตอนร่างกายปกติและหลังจากพึ่งออกกำลังกายครับ เด็กๆใช้วิธีเป่าลมหายใจออกแทนที่น้ำในขวดแบบสัปดาห์ที่แล้ว การออกกำลังกายของเด็กๆก็มีหลายประเภทคือกระโดดตบ 30 วินาที วิ่งซอยเท้า 5 นาที และวิ่ง 100 เมตรครับ

ผลที่ได้หลากหลายเป็นช่วงกว้างมาก แต่ค่าเฉลี่ยคือเวลาออกกำลังกายเหนื่อยๆจะใช้อากาศมากกว่าตอนอยู่เฉยๆ 3 เท่า และหัวใจเต็นเร็วขึ้นเกือบ 2 เท่า ข้อมูลที่วัดมาอยู่ในลิงก์นี้ครับ

ผมให้เด็กๆพิจารณาความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจทำให้คำตอบเราผิดพลาด และให้คิดว่าตรงไหนที่เราจะพยายามปรับปรุงได้บ้าง การบ้านสำหรับครั้งหน้าคือหาทางตอบคำถามนี้ด้วยการทดลองที่ต่างออกไปเพื่อดูว่าได้คำตอบประมาณเดียวกันไหมครับ

ภาพบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่อัลบั้มนี้ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.