วิทย์ม.ต้น: Cognitive Biases สามอย่าง, เข้าใจการทำงานของภาพยนตร์บนกระดาษ

วันนี้เราก็คุยกันเรื่อง cognitive biases สามอย่างที่เด็กๆไปอ่านในหนังสือ The Art of Thinking Clearly ในสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ คราวนี้เรื่อง Liking bias, Endowment effect, และ Coincidence ครับ

Liking bias คือเรามักจะตัดสินใจตามคนที่เราชอบ เช่นถ้าเราชอบเซลส์แมนมาขายของเราก็จะซื้อของจากเขาง่ายขึ้น หรือในทางกลับกันถ้าเราไม่ชอบใครเราก็มักคิดว่าข้อเสนอต่างๆของเขาไม่น่าสนใจ เราควรระวังเวลาตัดสินข้อมูลต่างๆว่าจริงไม่จริง มีประโยชน์ไม่มีประโยชน์ ควรทำหรือไม่ควรทำ โดยอย่ามองว่าใครเป็นคนเสนอข้อมูลเหล่านี้ให้เราครับ หรือถ้าเราจะไปโน้มน้าวให้ใครทำอะไรเราควรทำตัวให้เป็นที่รักที่ชอบครับ

Endowment effect คือเรามักจะยึดติดหรือให้ราคาของที่เราเป็นเจ้าของมากกว่าความเป็นจริง เราควรระวังว่าเรามีความยึดติดอย่างนี้และพยายามตัดสินใจให้มีเหตุผลเมื่อต้องซื้อขายแลกเปลี่ยน

Coincidence คือเรามักจะไม่เข้าใจความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ต่างๆจะเกิดขึ้น ทำให้เราคิดว่าบางเหตุการณ์มีความศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นปาฏิหารย์ ยกตัวอย่างเช่นเราอาจพบคนถูกเลขท้ายสองตัวถึง 5 ครั้งในปีเดียว เราก็อาจคิดว่าคนนั้นเขามีวิธีเลือกเลขท้ายสองตัวให้มีโอกาสถูกมากกว่าชาวบ้านทั่วไปมาก (เช่นทำนายฝัน ดูทะเบียนรถคนดัง วันเดือนปีเกิดคนดัง ฯลฯ) แต่ถ้ามีคนหนึ่งล้านคนซื้อฉลากกินแบ่งหนึ่งใบทุกงวดเป็นเวลาหนึ่งปี เราสามารถคาดหมายได้ว่าจะมีคนประมาณ 5 คนที่ถูกเลขท้ายสองตัวถึง 5 ครั้งในปีนั้น (คำนวณด้วย Poisson probability distribution) ถ้าเด็กๆมีโอกาสควรอ่านหนังสือ The Improbability Principle: Why Coincidences, Miracles, and Rare Events Happen Every Day โดย David J. Hand ดูนะครับ

จากนั้นเด็กๆก็เล่นภาพเคลื่อนไหวบนกระดาษโดยเอาแผ่นใสพลาสติกที่มีลายดำพาดเหมือนทางม้าลายลากไปบนแผ่นกระดาษที่พิมพ์ลวดลายไว้ ทำให้ดูเหมือนมีการเคลื่อนไหวครับ:

ผมให้เด็กๆเล่น สังเกต และทดลองเพื่อให้อธิบายว่ามันทำงานอย่างไร เด็กๆก็อธิบายได้ครับ หลักการก็คือใช้แถบดำบนแผ่นใสบังภาพที่เราไม่ต้องการเห็น ให้เห็นเฉพาะภาพที่มองผ่านแถบใสบนแผ่นใสได้ ถ้าเอาภาพหลายๆอันมาแล้วซอยเป็นคอลัมน์เล็กๆแล้วเลือกคอลัมน์ที่เหมาะสมจากภาพแต่ละอันมาเรียงกันเวลาเอาแผ่นดำทาบลงไปเราก็จะเห็นทีละภาพเท่านั้น เมื่อเลื่อนแผ่นใสเราก็จะเห็นทีละภาพติดต่อกันด้วยความเร็ว แล้วสมองเราก็จะเชื่อมโยงภาพทั้งหมดให้เป็นการเคลื่อนไหว

ผมเอาแบบสำหรับพิมพ์บนกระดาษและบนแผ่นใสมาจากวิดีโอนี้ครับ โดยคุณ brusspup:

มีวิธีทำด้วยโปรแกรมวาดภาพแบบนี้ครับ:

One thought on “วิทย์ม.ต้น: Cognitive Biases สามอย่าง, เข้าใจการทำงานของภาพยนตร์บนกระดาษ”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.