วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 8, จำลองของตกลงสู่หลุมดำ

วันนี้เด็กๆม.ต้นที่กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมได้ดูรายการ Cosmos: A Spacetime Odyssey ตอนที่ 8 กันครับ วันนี้เรื่องดาวฤกษ์ประเภทต่างๆ พอดูเสร็จเราก็ปล่อยลูกเปตองในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวยเพื่อจินตนาการถึงของที่ตกลงสู่หลุมดำจะวิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆชนกันไปมาจนร้อนมากๆเปล่งแสงเอ็กซ์เรย์กันครับ

เด็กๆควรอ่านเรื่องดาวฤกษ์เป็นความรู้รอบตัวจากเว็บของ NASA ที่นี่ครับ 

รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษที่นี่ เป็นภาษาไทยที่นี่ หรือถ้าไม่อยากอ่านแต่อยากดูคลิปลองดูที่นี่ครับ:

การเกิดและตายของดาวฤกษ์ครับ:

ประวัตินิดหน่อยว่าทำไมถึงแจกแจงดาวฤกษ์เป็น OBAFGKM  (จำง่ายๆว่า Oh, Be A Fine Guy(Girl), Kiss Me.):

O จะเป็นพวกร้อนสุด พวก M จะเป็นพวกเย็นสุด ถ้าอยากรู้ประวัติ H-R Diagram (Hertzsprung-Russell Diagram) ที่อยู่ในวิดีโอกดดูที่นี่นะครับ

 มีดาวขนาดใหญ่มากๆด้วยครับ:

อันนี้ความรู้รอบตัวว่าทำไมเราถึงเห็นดาวเป็นแฉกๆทั้งๆที่ดวงดาวจริงๆเป็นทรงกลมครับ:

เนื่องจากใน Cosmos มีการพูดถึงของตกลงไปในหลุมดำด้วย เราเลยหาเรื่องเล่น เอาลูกเปตองมากลิ้งในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวย ให้เห็นว่าเวลาของที่โคจรหลุมดำวิ่งเข้าไปใกล้ๆ มันจะมีความเร็วสูงขึ้น และเมื่อของเหล่านั้นชนกันจะเกิดความร้อนเปล่งแสงเป็นเอ็กซ์เรย์ได้ เราเอากล้องถ่ายการเคลื่อนที่ของลูกเปตองใส่ไปในโปรแกรม Tracker เพื่อวัดตำแหน่งของมันด้วยครับ เด็กๆเล่นกันโดยหาทางทำให้ลูกเปตองโคจรอยู่นานที่สุดด้วยวิธีต่างๆกันครับ

ถ้าไม่เคยใช้โปรแกรม Tracker ลองไปดูคลิปและลิงก์ที่วิดีโอนี้นะครับ:

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.