ลูกโป่ง vs. ตะปู ถุงพลาสติกยกคน

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “อุกกาบาต! เริ่มเข้าใจเรื่องพลังงาน ระยะปืนใหญ่กับมุม เล่นปี่หลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูคลิปการทำงานของจักรกลในอุตสาหกรรมแปลกๆเช่นเครื่องพัน Pretzel หรือเครื่องปอกแอปเปิ้ล ฯลฯ ได้ทดลองดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกโป่งเจอกับตะปูหนึ่งตัว และเมื่อเจอกับตะปูยี่สิบตัวพร้อมๆกัน ได้ทดลองเอามือวางบนตะปูหนึ่งและยี่สิบตัว ดูว่ารู้สึกต่างกันอย่างไร ได้ทดลองยกเพื่อนๆด้วยการสูบลมใส่ถุงพลาสติก ผมหวังว่าเด็กๆจะจำประสบการณ์นี้ได้เมื่อเขาพบการการเรียนเรื่องความดันในอนาคต สำหรับเด็กอนุบาลได้ทดลองสูบอากาศใส่ถุงยกเพื่อนๆกันครับ

สำหรับเด็กประถม ก่อนอื่นผมให้ดูเว็บหน้านี้ครับ มีภาพเคลื่อนไหวการทำงานของจักรกลต่างๆ 16 ชนิด มีเครื่องกลับแพนเค้ก เครื่องตัดกระดาษทั้งรีม เครื่องกลึงลูกข่าง เครื่องทำสปริง เครื่องทำโซ่ เครื่องม้วน Pretzel เครื่องทำขนม Pop-Tart เครื่องตัดแป้งขนมปังเป็นก้อนๆ เครื่องทำลายโซฟา หุ่นยนต์เขียนหนังสือ หุ่นยนต์แก้ลูกบิดรูบิค เครื่องทำมักกะโรนี หุ่นยนต์เรียงชิ้นส่วน เครื่องพับเครื่องบินกระดาษ เครื่องทดสอบปากกาไฮไลท์ และเครื่องปอกแอปเปิ้ลครับ ให้เด็กๆดูอุปกรณ์เหล่านี้เขาจะได้เห็นตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นไปได้ต่างๆ เผื่อในอนาคตเขาจะได้ประดิษฐ์อะไรใหม่ๆเองบ้าง

ต่อจากนั้นผมก็เอาลูกโป่งมาเป่า แล้วก็เอาแผงตะปูที่มีตะปูยี่สิบกว่าตัวมาใกล้ๆกันให้เด็กตื่นเต้น แล้วเอาลูกโป่งกดกับแผงตะปู ผลเป็นแบบนี้ครับ:

ผมเอาแผงตะปูกดกับแขนและมือของผม และให้เด็กๆลองทำดูครับ ปรากฎว่าเราไม่รู้สึกเจ็บ ไม่เหมือนเวลาเอาตะปูหนึ่งอันเท่านั้นมาจิ้มๆที่แขนครับ

ต่อจากนั้นผมก็เอาถุงพลาสติกออกมา แล้วให้เด็กมานั่งทับ ผมถามว่าเชื่อไหมว่าผมสามารถเป่าถุงพลาสติกให้ยกตัวเด็กขึ้นได้ เด็กๆหลายๆคนก็สงสัย ไม่เชื่อ แต่บางคนเคยเห็นวิดีโอที่ผมเคยทำคล้ายๆอย่างนี้ในอดีตไปแล้ว ผมเฉลยโดยเป่าเลยครับ:

ทั้งสองการทดลองนี้ มีหลักการเกี่ยวข้องกันก็คือ “ความดัน” นั่นเอง เวลามีตะปูเยอะๆมันลองรับการกดลูกโป่ง ตะปูจะช่วยกันพยุงลูกโป่ง ทำให้ตะปูแต่ละตัวไม่ได้กดกับลูกโป่งมากพอที่จะทำให้ลูกโป่งแตก สำหรับกรณีถุงลมยกน้ำหนักก็เพราะว่าขนาดพื้นที่ของถุงมีขนาดใหญ่พอ เมื่อเป่าลมเข้าไปทำให้ถุงมีความดันอากาศบ้าง ผิวของถุงก็ช่วยกันพยุงน้ำหนักที่กดทับอยู่ ยิ่งถุงใหญ่เท่าไร (และถ้าวัสดุของถุงมีความทนทานพอ) ถุงก็จะสามารถยกน้ำหนักได้มากขึ้นเท่านั้น (แต่ก็ต้องแลกด้วยปริมาณอากาศที่ต้องเป่าเข้าไปมากขึ้นเมื่อเทียบกับถุงเล็ก)

จากนั้นเด็กๆก็แยกย้ายกันสูบลมยกเพื่อนๆกันครับ:

สำหรับเด็กอนุบาล 3/1 ผมก็ให้เด็กๆเล่นสูบลมยกเพื่อนๆกันครับ:

ต่อไปนี้คือบรรยากาศและบันทึกการเรียนรู้ของเด็กๆครับ อัลบั้มเต็มอยู่ที่นี่นะครับ

 

One thought on “ลูกโป่ง vs. ตะปู ถุงพลาสติกยกคน”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.