Tag Archives: ไฟ

ความจุความร้อนของน้ำ การทรงตัว

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้เห็นความมหัศจรรย์ของน้ำที่สามารถจุความร้อนได้มากมาย สามารถช่วยให้ถ้วยพลาสติก กระดาษ หรือลูกโป่งทนความร้อนมากๆได้ เด็กๆอนุบาลสามได้เรียนรู้เรื่องสมดุลและการทรงตัว ได้หัดเล่นกลตั้งกระป๋องอลุมิเนียมให้เอียงๆครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมคราวที่แล้วเรื่อง “ทำเหล็กให้เป็นแม่เหล็ก ปืนแม่เหล็ก (Gaussian Gun) แรงตึงผิวน้ำ” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น ผมให้ดูคลิปน่าสนใจก่อนครับ ถามเขาก่อนว่าถ้าเอาถ้วยแก้วไปทำให้ร้อนๆ แล้วใส่น้ำเย็นลงไป จะเกิดอะไรขึ้น เด็กๆหลายๆคนบอกว่าน่าจะแตก ผมถามว่าทำไมถึงแตกล่ะ เด็กๆอึ้งกันไป แต่ก็มีสองสามคนพยายามอธิบายว่าความร้อนความเย็นทำให้เกิดการขยายตัวและหดตัว ผมบอกว่าใช่แล้วเวลาของโดนความร้อนมักจะขยายตัว เมื่อโดนความเย็นมักจะหดตัว ในกรณีของแก้วเมื่อร้อนก็ขยายตัว เมื่อโดนน้ำเย็น ส่วนที่โดนน้ำเย็นก่อนก็หดตัวก่อน ทำให้เนื้อแก้วแตก หลังคุยกันเสร็จก็ดูการแตกของแก้วแบบสโลโมชั่นกันครับ:

จากนั้นทั้งประถมต้นและประถมปลายก็ให้ดูการทดลองลูกโป่งลนไฟกันครับ:

เราพบว่าลูกโป่งที่ไม่มีน้ำใส่ไว้พอถูกไฟก็แตกอย่างรวดเร็ว เพราะยางถูกไฟก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนเปลี่ยนสภาพและฉีกขาดออกจากกัน แต่สำหรับลูกโป่งที่ใส่น้ำไว้ เราสามารถลนไฟไว้ได้นานๆโดยที่มันไม่แตกเลย  แต่ถ้าเราเอาไฟไปถูกยางตรงที่ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ยางตรงนั้นก็จะขาดออกทำให้ลูกโป่งแตกเหมือนกัน Continue reading ความจุความร้อนของน้ำ การทรงตัว

ห้ามดับไฟน้ำมันด้วยน้ำ โค้ก vs. ลาวา “ลูกโป่งจับปีศาจ” พัดลมน้ำระเหย

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “การระเหยทำให้เย็นและกลไฟฟ้าสถิต” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูวิดีโอว่าทำไมเราไม่ควรใช้น้ำดับไฟที่ลุกบนน้ำมัน เด็กประถมต้นได้เดาว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลาวาไหลทับกระป๋องน้ำอัดลม และได้เล่น(และเดาหลักการทำงาน)ของเล่น “ลูกโป่งจับปีศาจ” ที่ส่งเสียงโหยหวนเมื่อเขย่า เด็กประถมปลายได้ทดลองพัดลมน้ำระเหยแบบต่างๆที่ใช้วัสดุเปียกหลายๆแบบไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังใบพัดแล้ววัดอุณหภูมิและเปรียบเทียบแรงลม เด็กอนุบาลสามได้เล่นของเล่นลูกข่างไจโรและลูกโป่งจับปีศาจครับ

ก่อนอื่นผมถามเด็กประถมว่าเวลาทำอาหารในกระทะ มีน้ำมันและไฟลุกขึ้นมา จะดับไฟอย่างไร เด็กๆหลายๆคนบอกว่าใช้น้ำราด ผมจึงบอกว่าห้ามทำอย่างนั้นเด็ดขาด แล้วให้เด็กๆดูวิดีโอนี้ครับ:

Continue reading ห้ามดับไฟน้ำมันด้วยน้ำ โค้ก vs. ลาวา “ลูกโป่งจับปีศาจ” พัดลมน้ำระเหย

ผงแป้ง (หรือผงน้ำตาลหรือผงถ่านหิน ฯลฯ) ติดไฟ

แป้งที่เป็นคาร์โบไฮเดรตทั้งหลาย มีพลังงานสะสมในตัวเยอะ ร่างกายเราถึงใช้เป็นอาหาร ปกติจะติดไฟยากหน่อยเพราะโมเลกุลแป้งไม่ค่อยโดนล้อมด้วยออกซิเจน ถ้าเป่าผงแป้งให้ฟุ้งๆให้ผสมกับอากาศที่มีออกซิเจนอยู่จะติดไฟง่ายดังในวิดีโอคลิปต่อไปนี้ครับ ถ้าจะเล่นให้ระมัดระวังไฟจะไหม้นะครับ ต้องมีผู้ใหญ่ที่ดับไฟเป็นอยู่ใกล้ๆด้วย:

 ของแข็งที่เป็นผงๆและมีพลังงานเยอะ (คือพวกที่เราใช้เป็นอาหารหรือเชื้อเพลิงเช่นน้ำตาลหรืดถ่านหิน) สามารถติดไฟได้ง่ายๆอย่างนี้เมื่อฟุ้งผสมกับอากาศครับ คลิปนี้คืออุบัติเหตุโรงงานน้ำตาลระเบิดจากเหตุนี้ครับ: