Tag Archives: แรงเสียดทาน

เชือกพันหลัก (แรงเสียดทานจะเพิ่มตามรอบที่พันแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล) และถุงพลาสติกมหัศจรรย์

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “แรงต้านอากาศ กระดาษเต้นระบำ วิทย์ที่ดอยอ่างขาง หลอดและไฟฟ้าสถิต” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอเครื่องบินโดรนที่บินได้และคลานไปตามพื้นได้ ได้ทายว่าอะไรระหว่างวิปครีม ไอศครีม ซอสช็อคโกแลต และพุดดิ้ง สามารถกันกระสุนปืนลูกซองได้ และได้ทดลองพันเชือกกับท่อให้รู้สึกว่าความฝืดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กประถมปลายได้ดูวิดีโอเกราะลูกบอลเซรามิคแบบใหม่จากสวีเดน และได้ทดลองวัดความฝืดเทียบกับจำนวนรอบที่เพิ่มขึ้น สำหรับเชือกลูกเสือและท่อ PVC พบว่าความฝืดเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าเมื่อรอบที่พันเพิ่มขึ้นหนึ่งรอบ เด็กอนุบาลสามได้เล่นกลมหัศจรรย์ของถุงพลาสติกใส่น้ำ ที่สามารถเอาดินสอไปจิ้มให้ทะลุแต่น้ำไม่ไหลออกมา

ก่อนอื่นผมให้เด็กอนุบาลสามดูวิดีโอโตรนประหลาดที่บินและคลานได้ครับ: Continue reading เชือกพันหลัก (แรงเสียดทานจะเพิ่มตามรอบที่พันแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล) และถุงพลาสติกมหัศจรรย์

เสือไต่ถัง รถไฟเหาะ แรงเหวี่ยงติดขอบกาละมัง

DSC03726

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยเรื่องดวงจันทร์ วัดปริมาตรด้วยการแทนที่น้ำ กลตั้งไข่และกระป๋อง” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กๆได้เล่น “เสือไต่ถัง” โดยเอาลูกแก้วหรือลูกเหล็กกลมๆไปวิ่งเร็วๆตามขอบกาละมัง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก แก้วไวน์ครับ สำหรับเด็กประถมผมให้สังเกตว่าเมื่อลูกแก้วหลุดออกมา มันเคลื่อนที่อย่างไร (วิ่งเป็นเส้นตรงหรือวิ่งโค้งๆ? วิ่งไปทิศทางไหน?) และเล่าให้ฟังเรื่องความเฉื่อย เด็กๆประถมได้ดูวิดีโอคนวิ่งกลับหัว รถไฟเหาะตีลังกา การดริฟท์รถ และเรื่องเล่าเกี่ยวกับชุดนักบินที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือด และได้ฟังคำอธิบายว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เป็นหลักการเดียวกัน

สืบเนื่องจากวิดีโอ “เสือไต่ถัง” ที่เด็กๆได้ดูกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับ:

Continue reading เสือไต่ถัง รถไฟเหาะ แรงเหวี่ยงติดขอบกาละมัง

กลขวดตก ความฝืดของเชือก การสะท้อนพาราโบลา วงรี และ Retroreflector

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “แป้งข้าวโพดเต้นระบำ การวิวัฒนาการของตา การหักเหและสะท้อนของแสง” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กอนุบาลสามและประถมต้นได้ทดลองเล่นกลขวดตกโดยใช้เชือกยาวประมาณหนึ่งเมตรผูกกับขวดใส่น้ำพลาสติกที่ปลายข้างหนึ่ง ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งผูกติดกับยางลบก้อนเล็กๆ เริ่มด้วยวางเชือกพาดนิ้วให้ขวดห้อยอยู่โดยดึงเชือกด้านที่มียางลบไว้ แล้วปล่อยปลายเชือกด้านยางลบให้ขวดตกลงมา จะพบว่าขวดจะตกลงมาไม่มากแล้วเชือกจะตวัดไปพันนิ้วหลายรอบหยุดยั้งการตกของขวดได้ เด็กๆได้ทดลองและเห็นว่าความฝืดเพิ่มขึ้นอย่างมากมายเมื่อจำนวนรอบที่เชือกพันกับหลักเพิ่มขึ้น สำหรับเด็กประถมปลายได้ศึกษาการสะท้อนกับผิวสะท้อนรูปทรงพาราโบลา การสะท้อนภายในวงรี และการสะท้อนกับสิ่งประดิษ์ที่เรียกว่า Retroreflector ที่สะท้อนแสงกลับไปในทิศทางขนานกับแสงที่วิ่งเข้ามา นอกจากนี้เด็กๆประถมปลายได้ดูวิดีโอคลิปการรวมแสงอาทิตย์ด้วยจานพาราโบลาจนจุดโฟกัสร้อนมากจนสามารถเผาผลาญและหลอมละลายสิ่งของต่างๆได้ครับ

กลขวดตกทำอย่างนี้ครับ เอาขวดพลาสติกขนาดประมาณครึ่งลิตรใส่น้ำสักครึ่งขวดปิดให้สนิท ผูกด้วยเชือกยาวประมาณหนึ่งเมตรที่ปลายข้างหนึ่ง ผูกปลายเชือกอีกข้างกับก้อนยางลบ แล้วก็เอาเชือกไปพาดกับนิ้วให้ขวดห้อยอยู่โดยเราจับปลายเชือกด้านยางลบไว้ครับ จากนั้นเราก็ปล่อยยางลบให้ขวดตกลงสู่พื้น ปลายเชือกที่ผูกยางลบก็จะตกลงและถูกดึงเข้าหานิ้วเรา เมื่อไปถึงนิ้วก็จะมีความเร็วและแกว่งเร็วพอจะพันนิ้วหลายรอบ แรงเสียดทานที่เชือกพันนิ้วก็จะมากพอที่จะหยุดขวดน้ำให้หยุดตกได้ วิดีโอคลิปการทดลองเป็นอย่างนี้ครับ:

ผมมีคลิปที่น่าจะเห็นได้ชัดขึ้นถ่ายเก็บไว้ตั้งแต่สองปีที่แล้วด้วยครับ ผมใช้ก้อนดินน้ำมันใหญ่แทนขวดน้ำ และก้อนดินน้ำมันเล็กแทนยางลบครับ: Continue reading กลขวดตก ความฝืดของเชือก การสะท้อนพาราโบลา วงรี และ Retroreflector