Tag Archives: การสั่น

ลูกตุ้มเลื้อย สนุกกับสารเคมี คอปเตอร์กระดาษ

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้ทำกิจกรรมการแกว่งของลูกตุ้มกันต่อ ได้วัดความยาวที่เหมาะสมแล้วมาประกอบกันเป็นแถวเพื่อให้ลูกตุ้มแกว่งตามๆกันไปเหมือนงูเลื้อย เด็กประถมปลายได้เห็นปฏิกริยาเคมีด่างทับทิม+ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และด่างทับทิม+กลีเซอรอล เด็กอนุบาลสามได้หัดทำและเล่นของเล่นคอปเตอร์กระดาษกันครับ

(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “หัดวัดคาบการแกว่งลูกตุ้ม “แม่เหล็กดูดกระดาษ” เคลื่อนที่เป็นวงกลม” ครับ)

จากสัปดาห์ที่แล้วที่เด็กๆประถมต้นได้ทดลองวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มที่มีความยาวแตกต่างกัน และพบว่าถ้าความยาวลูกตุ้มมากคาบการแกว่งก็มาก ถ้าลูกตุ้มสั้นคาบการแกว่งก็สั้นครับ สรุปมาเป็นกราฟแบบนี้:

เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัดคาบการแกว่งลูกตุ้มความยาวต่างๆกันครับ จุดกลมๆคือข้อมูลที่เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัด เทียบกับทฤษฎีที่เป็นเส้นทึบครับถ้าคิดค่าความเร่งจากแรงโน้มถ่วง (ค่า g) จะได้ g = 9.89 m/s^2 คลาดเคลื่อนจากค่ามาตรฐานไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ครับ
เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัดคาบการแกว่งลูกตุ้มความยาวต่างๆกันครับ จุดกลมๆคือข้อมูลที่เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัด เทียบกับทฤษฎีที่เป็นเส้นทึบครับถ้าคิดค่าความเร่งจากแรงโน้มถ่วง (ค่า g) จะได้ g = 9.89 m/s^2 คลาดเคลื่อนจากค่ามาตรฐานไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ครับ

จากความสัมพันธ์ระหว่างคาบการแกว่งกับความยาวลูกตุ้ม เราก็สามารถสร้างลูกตุ้มที่ความยาวต่างๆให้แกว่งด้วยคาบที่เราต้องการได้ครับ เช่นถ้าต้องการให้แกว่ง 60 ครั้งต่อนาที ก็แปลว่าคาบของมันเท่ากับ 1 วินาที แล้วเราก็ไปหาว่าความยาวแค่ไหนจะแกว่งที่คาบเท่ากับ 1 วินาที เราจะพบว่าความยาวต้องเป็น 25 เซ็นติเมตรเป็นต้น (ความสัมพันธ์ที่ได้จากการทดลองระหว่างคาบเป็นวินาที (T) และความยาวของลูกตุ้มเป็นเซ็นติเมตร (L) คือ T = 0.199825 x รูทที่สองของ L หรือ L = 25.0438 T2 ครับ) Continue reading ลูกตุ้มเลื้อย สนุกกับสารเคมี คอปเตอร์กระดาษ

การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้สังเกตการแกว่งของลูกตุ้ม ได้สังเกตว่าปล่อยลูกตุ้มที่มุมต่างๆกันมีคาบการแกว่งเหมือนกันหรือไม่ สังเกตการหยุดของลูกตุ้มอันเกิดจากแรงต้านอากาศ และทำอย่างไรให้ผลของแรงต้านอากาศน้อยลง สังเกตคาบของการแกว่งเมื่อเทียบกับความยาวลูกตุ้ม สังเกตว่าคาบเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อความยาวเพิ่มขึ้นสี่เท่า เด็กประถมปลายได้เอาขวดพลาสติกมาติดวาล์วที่ทำจากเทปกาวเพื่อเป็นปั๊มน้ำง่ายๆครับ เด็กอนุบาลสามทับหนึ่งได้เล่นของเล่นจากหลักการแรงสู่ศูนย์กลางสำหรับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมสามชนิดครับ

(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “การเคลื่อนที่เป็นวงกลมสำหรับประถม สมดุลสำหรับอนุบาล” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น ผมให้สังเกตการแกว่งของลูกตุ้มครับ ผมเอาเชือกเส้นเล็กๆมาใส่ลูกตุ้มดินน้ำมันเล็กๆให้ความยาวเชือกถึงกลางลูกตุ้มยาว  50 เซ็นติเมตร จับลูกตุ้มยกขึ้นแล้วปล่อยให้มันแกว่ง มันแกว่งน้อยลงเรื่อยๆได้สัก 20-23 รอบก็หยุดแกว่ง ผมถามเด็กๆสองคำถามว่า ทำไมมันถึงแกว่ง และทำไมมันถึงหยุดแกว่ง Continue reading การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม

เสียง & การสั่นสะเทือน เข้าใจกฎนิวตันด้วย skateboard ทำของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกันเรื่องเสียงต่อ การชนและ Crash Test ทำปี่จากหลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กอนุบาลได้ประดิษฐ์และเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอปลาหมึกยักษ์ประหลาด และได้เรียนเรื่องเสียงและการสั่นสะเทือนต่อ ได้ดูการสั่นของ Chladni’s Plate ดูคลื่นนิ่งบนลำโพง ดูการสั่นของเส้นเสียงในกล่องเสียงในลำคอ สังเกตเสียงสูงเสียงต่ำจากสายกีต้าร์และขิม และทำปี่หลอดกาแฟและนกหวีดจากถุงพลาสติกและกระดาษ เด็กประถมปลายได้ดูวิดีโอโดมิโนขนาดจิ๋วสามารถทำให้อันใหญ่ยักษ์หนัก 40 กิโลกรัมล้มได้ด้วยพลังงานศักย์โน้มถ่วงที่เก็บไว้ และได้พยายามเข้าใจกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันด้วยอุปกรณ์จำพวก skateboard และล้อเลื่อน

สำหรับเด็กอนุบาลผมสอนให้ประดิษฐ์ของเล่นจากหลอดกาแฟเรียกว่าลูกดอกหลอดกาแฟครับ ผมเอาหลอดกาแฟมาขว้างให้เด็กๆดู หลอดก็ลอยไปไม่ได้ไกล และไม่มีทิศทางแน่นอนเพราะวิ่งไปแล้วก็ตะแคงข้างต้านลม ผมเลยถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่าเราทำอย่างไรให้ขว้างหลอดกาแฟไปได้ไกลๆ พอเด็กงงได้ที่ผมก็เฉลยวิธีทำ คือตัดปลายหลอดข้างหนึ่งให้เป็นแฉกๆสักสี่แฉก แล้วตัดกระดาษขนาดประมาณ 1″ x 2-3″ มาพันปลายอีกข้างแล้วเอาเทปกาวติด แค่นี้เราก็ขว้างหลอดได้ตรงและไกลแล้ว

ส่วนหัวเอากระดาษพันแล้วเอาเทปกาวติด
หางตัดเป็นแฉก
เสร็จแล้วครับ

จากนั้นเด็กๆก็แยกย้ายกันไปประดิษฐ์ ซึ่งผมและคุณครูต้องช่วยติดกระดาษและเทปกาวส่วนหัวเพราะเด็กๆยังบังคับกล้ามเนื้อมือเล็กๆไม่ค่อยสะดวก

 
 
 

จากนั้นเด็กๆก็ทดลองขว้างไกลๆและขว้างใส่เก้าอี้ที่เป็นเป้ากันครับ ผมย้ำบอกเด็กๆว่าไม่ขว้างใส่กันเพราะมันอาจโดนตาเจ็บได้แม้ว่ามันจะมีน้ำหนักเบาก็ตาม Continue reading เสียง & การสั่นสะเทือน เข้าใจกฎนิวตันด้วย skateboard ทำของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ