วิทย์ม.ต้น: Framing Effect, ทดลองวัดความยาวต่างๆกัน

วันนี้เด็กๆเรียนเรื่อง framing effect จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ให้ระวังว่าเรามักจะถูกชักจูงให้ตัดสินใจด้วยวิธีที่ข้อมูลถูกนำเสนอให้เรา คือแม้ว่าข้อมูลจะเหมือนกัน แต่ถ้าถูกนำเสนอด้วยวิธีต่างกัน เราก็อาจจะรู้สึกต่างกัน และตัดสินใจตามความรู้สึกได้

ผมยกตัวอย่างจอวิเศษที่แอปเปิ้ลพึ่งประกาศ (Pro Display XDR) ที่ประกาศว่าราคา $5,000 แต่ถ้าต้องการขาตั้งด้วยต้องจ่ายเพิ่ม $1,000 เทียบกับว่าถ้าประกาศว่าราคา $6,000 แต่ถ้าไม่เอาขาตั้งจะลดราคาไป $1,000 คนส่วนใหญ่จะพบว่าแบบที่สองฟังดูดีกว่ามากทั้งๆที่มูลค่าทางการเงินต่างๆเหมือนกันเปี๊ยบเลย

จากนั้นเด็กๆก็หัดวัดความยาวต่างๆเช่นขนาดกว้างxยาวของกระดาษ A4, ความยาวของท่อพลาสติกโค้งๆงอๆ, ความยาวระหว่างปลายนิ้วโป้งถึงปลายนิ้วชี้และถึงปลายนิ้วกลางเมื่อยึดเต็มที่, ส่วนสูง, ระยะระหว่างปลายนิ้วกลางทั้งสองข้างเมื่อเหยียดให้กว้างที่สุด, และความยาวระยะก้าวเดิน

การวัดขนาดกระดาษ A4 และท่อพลาสติกโค้งๆงอๆเป็นแบบฝึกหัดให้เด็กๆเห็นว่าตัวเลขที่เราวัดมีความไม่แน่นอนเสมอ ขึ้นกับวิธีวัดและความระมัดระวัง และเราสามารถเอาข้อมูลการวัดหลายๆอันมาหาค่าเฉลี่ยให้ได้คำตอบที่ใกล้ความจริงมากขึ้น ในอนาคตเราจะคุยกันเรื่องค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนกันครับ

การวัดขนาดต่างๆในร่างกายและก้าวเดินมีไว้เผื่อใช้เทียบวัดระยะต่างๆเมื่อเราไม่มีเครื่องมือวัดดีๆครับ เช่นเราสามารถเดินนับก้าวแล้วประมาณระยะทางทั้งหมดที่เราเดินได้ หรือใช้แขนหรือมือของเราวัดระยะสั้นๆได้ ในอนาคตเราจะพูดคุยกันเรื่องตรีโกณมิติอีกที

อัลบั้มบรรยากาศชั้นเรียนอยู่ที่นี่ครับ

ลิงก์ข้อมูลเรื่อง AI และเกษตรกรรม

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่อง AI (ปัญญาประดิษฐ์, Artificial Intelligence) กับเกษตรกรรม สรุปคือ มีการประยุกต์ใช้ AI ในเกษตรกรรมสามด้านใหญ่ๆคือ 1. เครื่องจักรฉลาดแทนแรงงานคน, 2. วัดและเก็บข้อมูลดิน/น้ำ/ปัจจัยการผลิตและผลผลิต, 3. เก็บข้อมูลและทำนายลมฟ้าอากาศเพื่อการเพาะปลูก เลยเอาลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

ตัวอย่างเครื่องจักรฉลาดที่ทำงานด้านเกษตรกรรมครับ:

ต้นแบบเครื่องจักรกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารพิษ:

เครื่องจักรที่พ่นยาฆ่าวัชพืชจำนวนน้อยๆโดยเล็งไปที่วัชพืชโดยตรง:

เทรนด์ที่เป็นไปได้ของเกษตรกรรมในอนาคตแบบหนึ่ง:

Smart Farming ในเอเชียครับ

บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรที่น่าสนใจครับ

โครงการใช้ AI เพิ่มผลผลิตที่อินเดียครับ

วิทย์ม.ต้น: เขียนโปรแกรมไพธอนนับจำนวนครั้งที่ตัวอักษรอยู่ในข้อความ, โปรแกรมทายตัวเลข

ผมให้เด็กม.2-3 ไปเขียนโปรแกรมนับจำนวนครั้งว่าตัวอักษรแต่ละตัวในข้อความเกิดขึ้นกี่ครั้งเช่น ถ้าข้อความคือ “hello” โปรแกรมก็ควรนับมาว่า h เกิด 1 ครั้ง, e เกิด 1 ครั้ง, l เกิด 2 ครั้ง, และ o เกิด 1 ครั้ง โดยให้เด็กหัดใช้ดิกชันนารี

ผมเขียนโปรแกรมเฉลยให้เด็กๆดู ให้เด็กๆรู้จักใช้ “, ‘, “””, ”’ เพื่อกำหนดข้อความสตริงในไพธอน ให้เด็กรู้จักการอ้างอิงแต่ละตัวอักษรในสตริงด้วยวิธี for i in string, รู้จักวิธีดูว่ามีคีย์ k ในดิกชันนารีหรือยังด้วย if k in dictionary, รู้จักแสดงผลในดิกชันนารีตามลำดับคีย์หรือตามลำดับค่าของมันด้วย sorted(d), sorted(d, key = d.get), sorted(d, key = get, reverse = True) ได้รู้จักฟังก์ชั่น ord( ) และ chr( ) สำหรับการบ้านครั้งต่อไป

โหลด Jupyter Notebook ที่บันทึกการเฉลยที่นี่ครับ

ตัวอย่างหน้าตาการสอนเป็นประมาณนี้ครับ:

สำหรับเด็กๆม.1 เราเขียนโปรแกรมทายตัวเลขกันโดยที่คราวนี้ให้คอมพิวเตอร์เล่นกับตัวเองโดยที่คนไม่ต้องเข้าไปทาย เราให้คอมพิวเตอร์ทายตัวเลขโดยทายตรงกลางระหว่างค่าน้อยสุดที่เป็นไปได้และค่ามากสุดที่เป็นไปได้วนไปเรื่อยๆโดยทุกครั้งที่ทายช่วงที่เป็นไปได้จะหดลงเหลือขนาดแค่ครึ่งหนึ่งของช่วงที่เป็นไปได้ก่อนทายครับ

โหลด Jupyter Notebook ดูได้ที่นี่ครับ

หน้าตาจะเป็นประมาณนี้ครับ:

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)