วิทย์ม.ต้น: เด็กๆหาทางวัดปริมาณอากาศที่ร่างกายใช้ตอนออกกำลังกาย

วันนี้ผมแนะนำเด็กใหม่มัธยมต้นให้รู้จักหนังสือ  The Art of Thinking Clearly ซึ่งเขียนโดยคุณ Rolf Dobelli โดยเราจะอ่านเรื่องเกี่ยวกับ Cognitive Biases (การทำงานของสมองพวกเราที่อาจทำให้เราเข้าใจความจริงรอบๆคลาดเคลื่อนไป) โดยเด็กๆจะอ่านกันสัปดาห์ละบทเป็นการบ้านเพื่อเข้าใจเนื้อหาและฝึกหัดการใช้ภาษาอังกฤษไปด้วย (เด็กรุ่นที่แล้วเคยรู้จักกันไปที่ https://witpoko.com/?p=5805 ครับ)

จากนั้นเด็กๆก็พยายามออกแบบการทดลองเพื่อหาว่าเมื่อเราออกกำลังกาย เราต้องหายใจมากกว่าปกติมากแค่ไหน เด็กๆคุยและตกลงกันว่าขั้นตอนการทดลองจะเป็นอย่างไร ในที่สุดก็ตกลงกันว่าจะวัดปริมาณอากาศที่ใช้หายใจและชีพจรตอนร่างกายปกติและหลังจากพึ่งออกกำลังกายครับ เด็กๆใช้วิธีเป่าลมหายใจออกแทนที่น้ำในขวดแบบสัปดาห์ที่แล้ว การออกกำลังกายของเด็กๆก็มีหลายประเภทคือกระโดดตบ 30 วินาที วิ่งซอยเท้า 5 นาที และวิ่ง 100 เมตรครับ

ผลที่ได้หลากหลายเป็นช่วงกว้างมาก แต่ค่าเฉลี่ยคือเวลาออกกำลังกายเหนื่อยๆจะใช้อากาศมากกว่าตอนอยู่เฉยๆ 3 เท่า และหัวใจเต็นเร็วขึ้นเกือบ 2 เท่า ข้อมูลที่วัดมาอยู่ในลิงก์นี้ครับ

ผมให้เด็กๆพิจารณาความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจทำให้คำตอบเราผิดพลาด และให้คิดว่าตรงไหนที่เราจะพยายามปรับปรุงได้บ้าง การบ้านสำหรับครั้งหน้าคือหาทางตอบคำถามนี้ด้วยการทดลองที่ต่างออกไปเพื่อดูว่าได้คำตอบประมาณเดียวกันไหมครับ

ภาพบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่อัลบั้มนี้ครับ

ลิงก์ข้อมูลเรื่องเตาไมโครเวฟ

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องเตาไมโครเวฟปลอดภัยหรือไม่ (สรุปคือปลอดภัยถ้าเตามีสภาพดีและผู้ใช้ไม่ทำสิ่งที่คู่มือห้าม–อย่าไปเชื่อข่าวลือที่ปล่อยตาม Line และ Facebook) เลยเอาลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้มารวมไว้ที่นี่ครับ:

เตาไมโครเวฟทำงานอย่างไร:

แนะนำวิธีใช้อย่างปลอดภัยโดย FDA และโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา

เตาไมโครเวฟและสาธารณสุขโดย WHO

เว็บเพจแนะนำเรื่องเตาไมโครเวฟเป็นภาษาไทย

วิทย์ม.ต้น: แนะนำและทบทวน Python เทอมใหม่

วันนี้เราเรียน Python กันต่อครับ เด็กใหม่ที่ไม่เคยเรียนมาก่อนได้รู้วิธีไปโหลด Python มาจากเว็บ Anaconda และได้หัดเปิด Jupyter Notebook ที่ติดตั้งมาใน Anaconda แล้วใช้ Python เป็นเครื่องคิดเลข เด็กๆตื่นเต้นมากเมื่อใช้ math.gcd(a, b) เพื่อหาห.ร.ม.ของเลข a และ b

แนะนำลิงก์หัดใช้ Jupyter Notebook ครับ

เด็กๆหัดใช้ใช้ Python เป็นเครื่องคิดเลข

สำหรับเด็กที่เคยเรียนในปีที่แล้วผมสอนว่าของทุกอย่างมันจะยากครั้งแรกๆ ให้ฝึกหัดต่อเนื่องแล้วจะง่ายขึ้นเรื่อยๆและเราจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ความยากและอุปสรรคเป็นเรื่องปกติ ให้ฝึกวิชาไปเรื่อยๆ และได้แนะนำลิงก์ทบทวนดังนี้ครับ:

ลิงก์แนะนำภาษา Python เบื้องต้น เป็นภาษาไทย

เว็บ Real Python สำหรับหัวข้อน่าสนใจหลายๆอันที่ควรเข้าไปเรียนรู้ครับ

ผมลองเขียนโปรแกรมสดๆให้เด็กๆดูว่าขบวนการเขียนทีละนิดและตรวจสอบแต่ละขั้นเป็นอย่างไร เวลาจำอะไรไม่ได้ให้ค้นหาบนเว็บอย่างไร และให้ทบทวนการใช้ list และลองสร้างฟังก์ชั่นแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง (ซึ่งจริงๆใน Python ก็คำนวณให้ได้อยู่แล้วแต่ทำเป็นแบบฝึกหัดเพื่อเรียนรู้ครับ)

การอ้างอิงบางส่วนของ list (เรียกว่า list slicing)

ใช้ join เพื่อต่อสมาชิกใน list มาเป็นก้อน string เดียวกัน
แปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสองเป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรม จริงๆ Python มี bin(x) อยู่แล้ว

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)